1. สายไฟ เป็นตัวนำกระแสไฟฟ้าให้ไหลผ่านไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้าจนครบวงจร แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ สายเปลือย และชนิดสายหุ้มฉนวน
1. สายเปลือย เป็นสายไฟฟ้าที่ไม่มีฉนวนหุ้มมักเป็นสายขนาดใหญ่ ใช้กับงานไฟฟ้าแรงสูง

รูปสายไฟฟ้าที่ไม่มีฉนวนหุ้ม
2 สายหุ้มฉนวน มักมีฉนวนหุ้มในลักษณะต่างๆ ฉนวนที่ใช้หุ้มสายไฟอาจใช้ยาง ด้าย พีวีซี เป็นสายไฟที่นิยมใช้กัน
ตามอาคารบ้านเรือน ซึ่งเราใช้อยู่เป็นประจำมีด้วยกัน 2 ชนิด คือ

รูปสายหุ้มฉนวน
2.1 สายไฟชนิด VAF หรือชาวบ้านมักเรียกว่าสายแข็ง เพราะข้างในมีสายทองแดงเป็นเส้นมีขนาดต่างๆ
ที่ต้องการใช้ เรียกตามความโตของขนาดสายไฟดังนี้
เช่น 2 x 1 SQMM , 2 x 1.5 SQMM , 2 x 2.5 SQMM , 2x 4 SQMM เป็นต้น ในสายไฟจะมีข้อความ
เขียนไว้ ซึ่งสายไฟประเภทนี้ จะใช้ในการเดินสายไฟฟ้าตามอาคารบ้านเรือน ติดอยู่ตามผนังหรือฝาบ้าน ซึ่งโดยทั่วไปสายไฟฟ้าที่ใช้กับแสงสว่างเราจะใช้สายไฟ ขนาด 2 x 1 SQMM และสายไฟที่ใช้กับปลั๊กไฟเราจะต้องใช้สายไฟขนาด 2 x 2.5 SQMM

รูปสายไฟ VAF
2.2 สายไฟชนิด VFF หรือชาวบ้านเรียกว่าสายอ่อน เพราะข้างในสายไฟมีเส้นทองแดงเส้นเล็กหลายเส้นอยู่ภายใน
ซึ่งสายไฟประเภทนี้ เหมาะสำหรับการต่ออุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการเคลื่อนย้ายอยู่บ่อยๆ โดยมีขนาดต่างๆดังนี้
เช่น 2 x 0.5 SQMM , 2 x 1 SQMM , 2 x 2.5 SQMM เป็นต้น ในสายไฟจะมีข้อความบอกกล่าวดังนี้

VFF 300 V PVC 700C 2 ´ 1 SQMM THAI YASAKI
สายไฟเป็นชนิด VFF ทนแรงดันไฟฟ้าได้ถึง 300 V ฉนวนที่ใช้หุ้มสายไฟเป็นชนิด PVC ทนความร้อนได้ถึง 700C มีความโตของสายไฟ 1 มม2 มีด้วยกัน 2 เส้น ผลิตโดยบริษัทไทยยาซากิ

รูปสายไฟ VFF
การปอกสายไฟฟ้า เพื่อใช้ในการต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าและการต่อสายไฟ
1. ชนิดสายไฟ VAF

1. ใช้มีดกรีดตรงกลางสายไฟ
อย่าให้โดยสายทองแดง

2. แยกฉนวนสีขาวออกมา
แล้วตัดออก

3. ปอกตัวนำไฟฟ้าความยาว
ตามต้องการ

4. ใช้มีดทำความสะอาดสายไฟ
2. ชนิดสายไฟ VFF

1. ใช้มีดกรีดตรงกลางของสายไฟฟ้าอย่าให้โดนสายทองแดง

2. แยกสายไฟออกจากันพอสมควร

3.ปอกตัวนำไฟฟ้าความยาว
ตามต้องการ
การต่อสายไฟฟ้าชนิด VAF
1. การต่อสายไฟแบบหางเปีย ใช้ในการต่อสายไฟที่ไม่มีการเคลื่อนย้าย

1. ปอกสายไฟยาวประมาณ
1 นิ้ว 2 เส้น

2. ทำความสะอาดสายไฟ
โดยใช้มีดขูด

3. นำสายไฟมาประกบไขว้กัน
โดยใช้คีมจับ

4. ใช้มือบิดสายไฟทั้งสองเส้น
ครั้งละ 1800

5. สายไฟที่ต่อเสร็จแล้ว

6. ลำดับขั้นการต่อสายไฟแบบ
หางเปีย
2. การต่อสายไฟแบบมัดข้าวต้ม ใช้ในการต่อสายไฟที่มีการเคลื่อนย้าย

1. ปอกสายไฟยาวประมาณ
1 นิ้ว ทั้งสองเส้น

2. ทำความสะอาดสายไฟ
โดยใช้มีดขูด

3. จากโคนของสายไฟที่ปอกแล้ว
ขึ้นมา 1 ซ.ม. หักงอ 900
ทั้ง 2 เส้น

4. นำสายไฟทั้ง 2 เส้นมาไขว้กัน

5. ใช้คีมจับให้แน่นตรงรอยไขว้

6. ใช้มือบิดสายไฟทีละเส้นเป็น
รอบให้เล็กที่สุดและชิดกัน

7.ใช้คีมจับอีกด้านหนึ่งแล้วบิด
สายไฟให้เป็นรอบเล็กและ
ชิดที่สุด

8. สายไฟที่ต่อเสร็จแล้ว

9. ลำดับขั้นการต่อสายไฟ
แบบต่อตรง

โรงเรียนศึกษานารี 176 ถนนประชาธิปก เขตธนบุรี กรุงเทพฯ 10600 โทร. 0-2465-0070
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น