วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
ประวัติวันฮาโลวีน
วันฮาโลวีน เทศกาลฮาโลวีน 31 ตุลาคม
วันฮาโลวีน (Halloween) ประเพณีปลุกผีชาติตะวันตก!!
ในวันที่ 31 ตุลาคม ที่จะถึงนี้ เป็น วันฮาโลวีน (Halloween) ซึ่งเป็นวันที่ชาวชาติตะวันตก นิยมแต่งกายเป็นภูตผีปีศาจและพาเพื่อนฝูงไปงานเลี้ยงฉลองกัน โดยในวันฮาโลวีนนั้น จะมีการประดับแสงไฟ ต่างๆ ให้คล้ายกับเมืองภูตผีปีศาจ โดยสัญลักษณะของวันฮาโลวีน คือ โคมไฟฟักทองแกะสลัก เรียกกันว่า แจ๊ก โอแลนเทิร์น (Jack-o lantern) ซึ่งประเทศที่นิยมจัดงานในวันฮาโลวีนได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหรราชอาณาจักร (อังกฤษ) แคนาดา และชาติต่างๆ อีกมากมาย แต่ในโซนเอเซียบ้านเราไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก
Doodle Google ในวัน ฮัลโลวีน (Halloween)
ประวัติวันฮาโลวีน
สาเหตุที่วันฮาโลวีน ตรงกับวันที่ 31 ตุลาคม ของทุกปีนั้น เชื่อกันว่า เป็นวันที่ชาวเคลต์ (Celt) ซึ่งเป็นชนเผ่าพื้นเมืองเผ่าหนึ่งในไอซ์แลนด์ ถือกันว่าเป็นวันสิ้นสุดปี โดยถือกันว่าเป็นวันที่มิติคนตายและ มนุษย์จะถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันและ วิญญาณผู้เสียชีวิตในปีที่ผ่านมาจะเที่ยวหาร่างของคนเพื่อสิงสู่ เพื่อที่จะได้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง จึงทำให้คนเป็นอย่างเรา ในวันฮาโลวีนจะต้องหหาทางแก้ไขด้วยการปิดไฟในบ้านทุกดวง ให้บ้านมืดมิด ร่วมกับอากาศที่หนาวซึ่งไม่เป็นที่ปรารถนาของบรรดาผีร้าย อีกทั้งยังมีบางส่วนจะแต่งตัวเป็นผีต่างๆ เพื่อกลบเกลือนวิญญาณว่าไม่ใช่คนเป็นนั้นเอง
Trick or Treater in Halloween Day
กิจกรรมในวันฮาโลวีน
ในวันฮาโลวีน ที่นิยมจัดกันในประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรป ที่มีการจัดกิจกรรมต่างๆ อย่างสนุกสนาน โดยเฉพาะกลุ่ม เด็กๆ ที่จะแต่งกายเป็นภูตผี ปีศาจ ในรูปแบบต่างๆ และพากันออกไปร่วมงานฉลองวันฮาโลวีน โดยจะเรียกการเล่นนี้ว่า Trick of Treat (หลอกหรือเลี้ยง) ซึ่งเด็กๆ ที่แต่งตัวเป็นภูติผีปีศาจนั้นๆ จะเดินไปเคาะประตูตามบ้านต่างๆ เพื่อขอขนมที่นิยมจะเป็นลูกกวาด นั้นเองและอีกหนึ่งกิจกรรมในวันฮาโลวีน นอกจากเคาะประตูขอขนมตามบ้านต่าง ๆ แล้ว ยังมีการนำ แอปเปิล กับเหรียญชนิดหกเพ็นซ์ใส่ลงในอ่างน้ำ หากใครสามารถแยกแยะของสองอย่างนี้ ออกจากกันได้ด้วยการใช้ปากคาบเหรียญขึ้นมา และใช้ส้อมจิ้มแอปเปิลให้ติดเพียงครั้งเดียวถือว่าผู้นั้นจะโชคดีตลอดปีใหม่ ที่กำลังมาถึง
ประวัติ แจ็ก-โอ’-แลนเทิร์น (Jack-o’-lantern)
ตะเกียงฟักทอง, โคมไฟฟักทอง หรือ แจ็ก-โอ’-แลนเทิร์น (Jack-o’-lantern) เป็นอุปกรณ์ประดับตกแต่งสถานที่ซึ่งนิยมใช้ใน เทศกาลฮาโลวีน มีลักษณะเป็นผลฟักทองสีส้ม แกะสลักเป็นรูปหน้าคนในกริยาต่างๆ โดยมากมักเป็นกริยาแสดงอาการข่มขวัญ หรือโอดครวญ ทั้งนี้ การใช้ตะเกียงฟักทอง เป็นการระลึกถึง แจ็ก (jack) ชายชาวนาในตำนานที่หาญกล้าต่อกรกับซาตาน
ตำนานของแจ็ก (jack)
เรื่องของแจ็กมีการเล่าในตำนานหลายรูปแบบ เป็นเรื่องเล่าโบราณเรื่องหนึ่ง ซึ่งกล่าวถึงที่มาของชายชาวนาจอมเจ้าเล่ห์ ชื่อว่า “แจ็ก” ผู้ที่ต่อสู้กับซาตาน อย่างไม่เกรงกลัว โดยใช้อุบายหลอกล่อ ซาตานติดกับดัก หนีไปไหนไม่ได้ ซึ่งแจ็กไม่ยอมปล่อยซาตานจนกว่ามันจะรับปากว่า เมื่อเขาตายแล้วจะไม่นำวิญญาณเขาลงนรกเด็ดขาด ซาตานไม่มีทางเลือกจึงต้องรับปาก เมื่อแจ็กเสียชีวิตลงด้วยความเป็นคนชั่วเขาจึงไม่ได้ไปสวรรค์ วิญญาณของเขาล่องลอยไปยังปากทางนรก และพบกับซาตานคู่อริเก่าอีกครั้ง ตามสัญญาที่ให้ไว้ ซาตานปล่อยวิญญาณของแจ็กไป พร้อมแสงไฟส่องนำทางให้กับวิญญาณแจ็กที่ต้องเร่ร่อน ไม่มีที่ไปอย่างนั้นตลอดกาล ทุกคืน ฮาโลวีน วิญญาณของแจ็กจะระหกระเหินไปในความมืด พร้อมแสงไฟส่องที่ครอบด้วยหัวผักกาด ต่อมาเมื่อตำนานนี้เข้ามาในอเมริกา ก็มีการเปลี่ยนมาใช้ผลฟักทองแทนจนทุกวันนี้
The Shock เรื่องที่น่ากลัวที่สุดในปี 2557
โหดสัส!! เจอผีเล่นของแบบนี้ เป็นใครก็วิ่งฟระ!!
แต่งหน้าผีฮาโลวีน! พาหลอนได้ง่ายๆ ด้วยมายาเครื่องสำอาง
รวมสถานที่เที่ยวเทศกาลฮาโลวีนปีนี้ห้ามพลาด!!!อาหารหน้าตาแปลกๆในวันฮาโลวีนคุณกล้ากินหรือเปล่า
แต่งหน้า Halloween
รีวิว แต่งหน้า Halloween แต่งหน้าผีรับวันฮาโลวีน : ซอมบี้ที่รักรีวิวแต่งหน้า Halloween : ผีเพชรจ้า
อ่านรีวิวแต่งหน้าผี คลิกเลย
กลิตเตอร์วันฮาโลวีน เรื่องเล่าผีวันฮาโลวีน กลอนวันฮาโลวีน
ผี 13 ตัวที่สิงอยู่ในตัวคุณ รวมเกมส์ผีน่ากลัว 2013 รวมคลิปผีฮาโลวีน
Tweet
แสดงความคิดเห็น
แจ้งสมาชิกสมาชิกเว็บไซต์
เนื่องด้วยตอนนี้เกิดปัญหาจากสมาชิกบางท่านที่แสดงความคิดเห็นอันไม่พึงประสงค์ ทั้งมีการแสดงความเห็นที่หยาบคาย และบางความเห็นมีการหมิ่นสถาบันเบื้องสูง ซึ่งทางเว็บไซต์ MThai ไม่สามารถยอมให้เกิดขึ้นได้ ดังนั้น MThai จึงมีความจำเป็นที่ต้องปรับเปลี่ยนระบบการเปิดแสดงความคิดเห็น โดยทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์อนุญาตให้แสดงความคิดเห็นได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เพื่อเป็นการยืนยันตนของผู้โพส หากเป็นสมาชิกแล้ว login ที่นี่ หากยังไม่เป็นสมาชิกสมัครได้ ที่
ประวัติวันคริสต์มาส
Kapook แอพแรกที่คุณเลือก ข่าว หวย ฟุตบอล ดูดวง ฟรี ดาวน์โหลดฟรี
Menu
Today
รูปภาพ
คลิป
ดูหนัง
ฟังเพลง
ละคร
ข่าว
ข่าวสั้น
ดูดวง
ผู้หญิง
ผู้ชาย
บ้าน
ท่องเที่ยว
รถยนต์
ฟุตบอล
การเงิน
สุขภาพ
ทำอาหาร
แม่และเด็ก
ตรวจหวย
ดูเนื้อหาแบบ Full Version
Shareก+ก-
ประวัติวันคริสต์มาส 25 ธันวาคม วันคริสต์มาส
25 ธันวาคม 2550 เวลา 00:00:00
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
คริสต์มาส ประวัติเป็นมาอย่างไร ซานตาครอส เกี่ยวข้องอะไรในวันคริสต์มาส เรามีข้อมูลมาฝากค่ะ
ถึงช่วงปลายปีทีไร ชาวไทยเราก็มีเรื่องฉลองอีกแล้ว ไม่ว่าจะเป็นวันปีใหม่หรือวันคริสต์มาส ที่กำลังจะเข้ามาถึง แม้ว่าวันคริสต์มาสนี่ดูเหมือนจะไม่ค่อยเกี่ยวข้องกับคนไทยที่นับถือศาสนาพุทธสักเท่าไร แต่ก็มีคนไทยบางคนที่นับถือศาสนาคริสต์อยู่จำนวนไม่น้อย ว่าแต่ประวัติคริสต์มาสเป็นมาอย่างไร วันนี้เรามีข้อมูลมาฝาก
ตำนานวันคริสต์มาส
คำว่า "คริสต์มาส" เป็นคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Christmas มาจากคำภาษาอังกฤษโบราณว่า Christes Maesse ที่แปลว่า "บูชามิสซาของพระคริสตเจ้า" ซึ่งพบครั้งแรกในเอกสารโบราณที่เป็นภาษาอังกฤษในปี ค.ศ. 1038 และในปัจจุบันคำนี้ก็ได้เปลี่ยนมาเป็นคำว่า Christmas
เทศกาล Christmas หรือ XMas ตรงกับวันที่ 25 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งวันที่ 25 ธันวาคมนั้นเป็นวันประสูติของพระเยซู ศาสดาแห่งศาสนาคริสต์ โดยพระองค์ประสูติที่เมืองเบ็ธเลเฮ็มและเติบโตที่เมืองนาซาเรท ซึ่งปัจจุบันคือประเทศอิสราเอล ตามหลักฐานในพระคัมภีร์ได้บันทึกไว้ว่า พระเยซูเจ้าประสูติในสมัยที่จักรพรรดิซีซาร์ ออกุสตุส แห่งจักรวรรดิโรมัน ซึ่งทรงสั่งให้จดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งแผ่นดิน โดยฝ่ายคีรีนิอัส เจ้าเมืองซีเรียก็รับนโยบายไปปฏิบัติให้มีการจดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งอาณาเขต แต่ในพระคัมภีร์ ไม่ได้ระบุว่า พระเยซูประสูติวันหรือเดือนอะไร
ด้านนักประวัติศาสตร์ก็มีความเห็นที่ต่างออกไปโดยได้วิเคราะห์ว่า เดิมทีวันที่ 25 ธันวาคม เป็นวันที่จักรพรรดิเอาเรเลียนแห่งโรมัน กำหนดให้เป็นวันฉลองวันเกิดของสุริยะเทพ ตั้งแต่ปี ค.ศ.274 ชาวโรมันซึ่งส่วนใหญ่นับถือเทพเจ้าฉลองวันนี้เสมือนว่า เป็นวันฉลองของพระจักรพรรดิไปในตัวด้วย เพราะจักรพรรดิก็เปรียบเสมือนดวงอาทิตย์ ที่ให้ความสว่างแก่ชีวิตมนุษย์ แต่ชาวคริสต์ที่อยู่ในจักรวรรดิโรมัน รวมถึงชาวโรมันที่เปลี่ยนไปนับถือคริสต์อึดอัดใจที่จะฉลองวันเกิดของสุริยเทพ จึงหันมาฉลองการบังเกิดของพระเยซูซึ่งเปรียบเสมือนความสว่างของโลก และเหมือนดวงจันทร์เป็นความสว่างในตอนกลางคืนแทน หลังจากที่ชาวคริสต์ถูกควบคุมเสรีภาพทางศาสนาตั้งแต่ปี ค.ศ. 64-313 จนถึงวันที่ 25 ธันวาคม ปี ค.ศ.330 ชาวคริสต์จึงเริ่มฉลองคริสต์มาสอย่างเป็นทางการและเปิดเผย
เทศกาลคริสต์มาสจึงเป็นวันแห่งการเฉลิมฉลองวันประสูติของพระเยซู และเป็นการฉลองความรักที่พระเจ้ามีต่อมนุษย์โลก โดยส่งบุตรชาย คือ "พระเยซู" ลงมาเกิดเป็นมนุษย์เพื่อช่วยไถ่บาป และช่วยให้มนุษย์รอดพ้นจากการทำชั่วนั่นเอง ดังนั้นในวันนี้ถือเป็นวันที่มีความหมายสำคัญชาวคริสต์ทั่วโลก และมีการส่งบัตรอวยพร ให้ของขวัญ แก่กันและกัน รวมทั้งประดับประดาตกแต่งบ้านเรือนด้วยแสงไฟ และต้นคริสต์มาสอย่างสวยงาม
องค์ประกอบในงานคริสต์มาส
ซานตาครอส
เป็นสิ่งแรกๆ ที่คนจะนึกถึงในฐานะสัญลักษณ์ของวันคริสต์มาส ซึ่งว่ากันว่าซานตาคลอสคนแรก คือ นักบุญ (เซนต์) นิโคลัส ผู้เป็นสังฆราชแห่งเมืองไมรา มีชีวิตอยู่ในศตวรรษที่ 4 และเหตุที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นซานตาครอสคนแรก มาจากวันหนึ่งที่ท่านปีนขึ้นไปบนหลังคาบ้านของเด็กหญิงยากจนคนหนึ่ง แล้วทิ้งถุงเงินลงไปทางปล่องไฟ บังเอิญถุงเงินหล่นไปทางถุงเท้าที่เด็กหญิงแขวนตากไว้ข้างเตาผิงพอดี
นักบุญนิโคลัส นั้นเป็นนักบุญที่ชาวฮอลแลนด์นับถือว่าเป็นนักบุญผู้อุปถัมภ์ของเด็กๆ เมื่อชาวฮอลแลนด์กลุ่มหนึ่งอพยพไปอยู่ในสหรัฐฯ ก็ยังรักษาประเพณีการฉลองนักบุญ นิโคลาส ในวันที่ 5 ธันวาคม เอาไว้ ซึ่งหมายถึงนักบุญนี้จะมาเยี่ยมเด็กๆ และเอาของขวัญมาให้เด็กอื่นๆ ที่ไม่ใช่ลูกหลานของชาวฮอลแลนด์ที่อพยพมา ประเพณีนี้จึงเริ่มเป็นที่รู้จักและแพร่หลายในอเมริกา โดยมีการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง คือ ชื่อนักบุญนิโคลัสก็เปลี่ยนเป็น ซานตาคลอส และแทนที่จะเป็นสังฆราชก็กลายเป็นชายแก่ที่อ้วนและใส่ชุดสีแดง อาศัยอยู่ที่ขั้วโลกเหนือ มีเลื่อนเป็นยานพาหนะที่มีกวางเรนเดียร์ลาก และจะมาเยี่ยมเด็กทุกคนในโลกนี้ในโอกาสคริสต์มาส โดยลงมาทางปล่องไฟของบ้านเพื่อเอาของขวัญมาให้เด็กเหล่านั้นตามความประพฤติของเขา
ถึงแม้ซานตาคลอสจะเป็นเพียงตำนานที่เกิดขึ้นมาเพื่อเฉลิมฉลองวันคริสต์มาสก็ตาม แต่ก็เป็นสัญลักษณ์ที่รวมเอาวิญญาณและความหมายของคริสต์มาสไว้อย่างมากมาย อาทิ ความปิติยินดีชื่นชม ความโอบอ้อมอารี ความรัก และความเป็นกันเอง
ถุงเท้า
จากที่นักบุญนิโคลัสได้ปีนขึ้นไปบนปล่องไฟของบ้านเด็กหญิงยากจน เพื่อที่จะมอบเหรียญเงินให้เป็นของขวัญ แต่เหรียญนั้นกลับตกไปอยู่ในถุงเท้าที่เด็กหญิงแขวนตากไว้หน้าเตาผิง พอรุ่งเช้าเด็กหญิงตื่นมาเจอเหรียญเงินในถุงเท้าจึงดีใจมาก และกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการที่ผู้คนมากมายต่างพากันแขวนถุงเท้าคริสต์มาสไว้ เพื่อหวังจะได้รับของขวัญเช่นเดียวกันบ้าง
ต้นคริสต์มาส
นอกจากนี้อีกอย่างที่ขาดไม่ได้ก็คือ ต้นคริสต์มาส ซึ่งต้นคริสต์มาสก็คือต้นสนที่นำมาประดับประดาด้วยลูกแอปเปิ้ลและขนมปังเพื่อระลึกถึงศีลมหาสนิท และก็ได้มีวิวัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยจนมาถึงการประดับด้วยดวงไฟหลากสีสัน ขนม และของขวัญ อย่างในทุกวันนี้ การตกแต่งแบบนี้ต้องย้อนไปในศตวรรษที่ 8 เมื่อเซนต์บอนิเฟส มิชชันนารีชาวอังกฤษที่เดินทางไปประกาศเรื่องพระเจ้าในเยอรมนี ได้ช่วยเด็กที่กำลังจะถูกฆ่าเป็นเครื่องสังเวยบูชาที่ใต้ต้นโอ๊ก
โดยเมื่อโค่นต้นโอ๊กทิ้งก็ได้พบต้นสนเล็กๆ ต้นหนึ่งขึ้นอยู่ที่โคนต้นโอ๊ก ท่านจึงขุดให้คนที่ร่วมพิธีกรรมเหล่านั้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของชีวิต และตั้งชื่อว่า ต้นกุมารพระคริสต์ ต่อมา มาร์ติน ลูเธอร์ ผู้นำคริสตจักรชาวเยอรมัน ตัดต้นสนไปตั้งในบ้านในเดือนธันวาคม ปี ค.ศ.1540 หลังจากนั้นในศตวรรษที่ 19 ต้นคริสต์มาสจึงเริ่มแพร่ไปสู่ประเทศอังกฤษและทั่วโลก และอีกเหตุผลที่ใช้ต้นสนก็เพราะว่ามันหาง่าย
ในสมัยโบราณนั้นต้นคริสต์มาส หมายถึง ต้นไม้ในสวนสวรรค์ ซึ่งอาดัมและเอวาไปหยิบผลไม้มากิน และทำบาป ไม่เชื่อฟังพระเจ้า โดยตามพระคัมภีร์นั้นได้เปรียบพระเยซูเจ้าเสมือนเป็นต้นไม้แห่งชีวิต ซึ่งเป็นต้นไม้ที่เขียวเสมอในทุกฤดูกาล สื่อถึงนิรันดรภาพของพระเยซูเจ้า อีกทั้งความสว่างของพระองค์ยังเหมือนแสงเทียนที่ส่องสว่างในความมืด และรวมถึงความชื่นชมยินดี และความสามัคคี ที่พระเยซูประทานให้ เพราะต้นไม้นั้นเป็นจุดศูนย์รวมของครอบครัวในเทศกาลคริสต์มาส
ต้นฮอลลี่
ต้นฮอลลี่ เป็นต้นไม้พุ่มเตี้ย และเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ของวันคริสต์มาส เชื่อกันว่า สีเขียวของต้นฮอลลี่มีความหมายถึง การมีชีวิตอยู่ชั่วนิรันดร์ และมีความสัมพันธ์กับพระเยซู โดยผลสีแดงของต้นฮอลลี่นั้นหมายถึงหยดเลือดของพระเยซูที่ไหลลงบนไม้กางเขน ซึ่งเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของความรักที่มีต่อพระเจ้า ใบไม้ที่มีหนามของต้นฮอลลี่เป็นสิ่งที่เตือนพวกเราถึงมงกุฏหนามที่พวกชาวทหารโรมันได้นำมาวางไว้บนศีรษะของพระเยซูคริสต์
ดอกไม้คริสต์มาส หรือ Poinsettia
ตำนานของดอก Poinsettia ที่กลายมาเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของวันคริสต์มาส มาจากเรื่องราวของเด็กหญิงจนๆ คนหนึ่ง ที่ต้องการหาของขวัญไปมอบให้พระแม่มารีในวันคริสต์มาสอีฟ แต่เนื่องจากเธอไม่มีสิ่งของใดๆ ติดตัว จึงเดินทางไปตัวเปล่า และระหว่างทางเธอได้พบกับนางฟ้าที่บอกให้เธอเก็บเมล็ดพืชไว้ ต่อมาเมล็ดพืชนั้นกลับเจริญเติบโตเปลี่ยนเป็นดอกไม้สีเลือดหมูสดใส ซึ่งก็คือดอก Poinsettia ตั้งแต่นั้นดอก Poinsettia ก็ได้รับความนิยมใช้ประดับประดาบ้านในงานคริสต์มาส
ดอกคริสต์มาส Christmas Rose
มีต้นกำเนิดที่ประเทศอังกฤษ ลักษณะเป็นดอกสีขาว และมักออกดอกในช่วงฤดูหนาว ตำนานของดอกคริสต์มาสนี้มีอยู่ว่า ในช่วงที่พระเยซูประสูติ มีผู้รอบรู้ 3 คน กับคนเลี้ยงแกะเดินทางมาพบพระเยซู ระหว่างทางพวกเขาพบกับ มาเดลอน เด็กหญิงที่เลี้ยงแกะคนหนึ่ง เมื่อเธอทราบว่าทั้งหมดเดินทางมาเพื่อมอบของขวัญให้พระเยซู มาเดลอนก็เสียใจที่ไม่มีของขวัญใดไปมอบให้พระเยซูบ้าง ก่อนที่นางฟ้าที่เฝ้ามองเธออยู่จะเกิดความเห็นใจจึงร่ายมนตร์เสกดอกไม้สีขาวน่ารักและมีสีชมพูอยู่ตรงปลายกลีบให้เธอ และดอกไม้นั้นคือ ดอกคริสต์มาสนั่นเอง
เพลงวันคริสต์มาส
เพลงคริสต์มาสเริ่มมีขึ้นในศตวรรษที่ 5 แต่งโดยพระสงฆ์และฆราวาส มีเนื้อร้องเป็นภาษาลาติน ลักษณะของเพลงเป็นแบบสง่า เน้นถึงความหมายของการเสด็จมาของพระเยซูเจ้า แต่ในศตวรรษที่ 12 ได้มีการแต่งในท่วงทำนองที่ร่าเริงสนุกสนานมากขึ้น เริ่มจากประเทศอิตาลี โดยนักบุญฟรังซิส อัสซีซี และนักบวชคณะฟรังซิสกัน เป็นผู้สนับสนุน ให้มีเพลงคริสต์มาสแบบใหม่
เพลงคริสตมาสแบบใหม่นี้ เป็นที่ชื่นชอบของชาวบ้าน เพราะมีท่วงทำนองที่ร่าเริงกว่า และเน้นถึงความชื่นชมยินดีในโอกาสคริสต์มาส เพลงเหล่านี้มีทั้งที่เป็นภาษาลาติน และภาษาพื้นเมือง เพลงหนึ่งที่แต่งในสมัยนั้น (แต่งคำร้องในปี ค.ศ.1274) และยังใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน คือ เพลง Oh Come, All Ye Faithful หรือ Adeste Fideles ในภาษาลาติน เพลงคริสต์มาสที่นิยมร้องมากที่สุดในปัจจุบันได้แต่งขึ้นในศตวรรษที่ 19 จากประเทศเยอรมัน และประเทศอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ เพลงที่มีชื่อเสียงมากได้แก่ เพลง Silent Night, Holy Night
ความเป็นมาของเพลงนี้มาจากวันก่อนวันฉลองคริสต์มาส ของปี ค.ศ.1818 คุณพ่อโจเซฟ โมห์ (Joseph Mohr) เจ้าอาวาสวัดที่โอเบิร์นดอฟ (Oberndorf) ประเทศออสเตรีย ได้ข่าวว่าออร์แกนในวัดเสีย ทำให้วงขับร้องไม่สามารถร้องเพลงตามที่ซ้อมไว้ได้ จึงมีการแต่งเพลงคริสต์มาสใหม่ นำไปให้เพื่อนชื่อ ฟรานซ์ กรูเบอร์ (Franz Gruber) ใส่ทำนองในคืนวันที่ 24 นั่นเอง และเล่นเพลง Silent Night เป็นครั้งแรก โดยมีการเล่นกีตาร์ประกอบการขับร้อง ซึ่งกลายเป็นเพลงที่นิยมมากที่สุดทั่วโลก
คำอวยพรวันคริสต์มาส
ในวันคริสต์มาสเรามักจะใช้คำอวยพรให้แก่กันและกันว่า Merry X'mas คำว่า Merry ในภาษาอังกฤษโบราณ แปลว่า "สันติสุขและความสงบทางใจ" คำนี้จึงเป็นคำที่ใช้อวยพรขอให้เขาได้รับสันติสุขและความสงบทางใจ และได้จัดให้มีการฉลองเพื่อระลึกถึงการบังเกิดของพระเยซู ที่เขายกย่องเหมือนกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งสากลโลก ผู้ทรงเกียรติเลอเลิศ ประเพณีนี้ได้เริ่มมาจากรุงโรมในศตวรรษที่ 4 และค่อยๆ เผยแพร่ไปทุกทวีป
สีประจำวันคริสต์มาส
สีที่เกี่ยวข้องในวันคริสต์มาสประกอบด้วย
สีแดง : เป็นสีของผลฮอลลี่ หรือซานตาครอส เป็นสีของเดือนธันวาคม ที่แสดงถึงความตื่นเต้น และหากเป็นสัญลักษณ์ตามศาสนา สีแดงจะหมายถึง ไฟ, เลือด และความโอบอ้อมอารี
สีเขียว : เป็นสีของต้นไม้ สัญลักษณ์ของธรรมชาตื หมายถึงความอ่อนเยาว์และความหวังที่จะมีชีวิตเป็นนิรันดร์ เปรียบได้กับว่าเทศกาลคริสต์มาสคือเทศกาลแห่งความหวัง
สีขาว : เป็นสีของหิมะ และเป็นสัญลักษณ์ทางศาสนา คือแสงสว่าง ความบริสุทธิ์ ความสุข และความรุ่งเรือง สีขาวนี้จะปรากฎบนเสื้อคลุมนางฟ้า, เคราและชายเสื้อของซานตาครอส
สีทอง : เป็นสีของเทียนและดวงดาว เป็นสัญลักษณ์ของแสงอาทิตย์และความสว่างไสว
การทำมิสซาเที่ยงคืน
การถวายมิสซานี้เกิดขึ้นหลังจากพระสันตะปาปาจูลีอัสที่ 1 ได้ประกาศให้วันที่ 25 ธันวาคมเป็นวันฉลองพระคริสตสมภพ (วันคริสต์มาส) ในปีนั้นเองพระองค์และสัตบุรุษ ได้พากันเดินสวดภาวนา และขับร้องไปยังตำบลเบธเลเฮม และไปยังถ้ำที่พระเยซูเจ้าประสูติ เมื่อไปถึงตรงกับเวลาเที่ยงคืนพอดี พระสันตะปาปาทรงถวายบูชามิซซา ณ ที่นั้น เมื่อเดินทางกลับมาที่พักได้เวลาตี 3 พระองค์ก็ถวายมิสซาอีกครั้ง และ สัตบุรุษเหล่านั้นก็พากันกลับ แต่ยังมีสัตบุรุษหลายคนไม่ได้ร่วมขบวนไปด้วยในตอนแรก พระสันตะปาปาก็ทรงถวายบูชามิสซาอีกครั้งหนึ่งเป็นครั้งที่ 3 เพื่อสัตบุรุษเหล่านั้น ด้วยเหตุนี้เองพระสันตะปาปาจึงทรงอนุญาตในพระสงฆ์ถวายบูชามิสซาได้ 3 ครั้ง ในวันคริสต์มาส เหมือนกับการปฏิบัติของพระองค์ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจึงมีธรรมเนียมถวายมิสซาเที่ยงคืน ในวันคริสต์มาส และพระสงฆ์ก็สามารถถวายมิสซาได้ 3 มิสซา ในโอกาสวันคริสต์มาส
เทียนและพวงมาลัย
พวงมาลัยนั้นเป็นสัญลักษณ์ที่คนสมัยก่อนใช้หมายถึงชัยชนะ แต่สำหรับการแขวนพวงมาลัยในวันคริสต์มาสนั้น หมายถึงการที่พระองค์มาบังเกิดในโลก และทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างครบบริบูรณ์ตามแผนการณ์ของพระเป็นเจ้า ซึ่งธรรมเนียมนี้ เกิดจากกลุ่มคริสตชนกลุ่มหนึ่งในประเทศเยอรมันได้เอากิ่งไม้มาประกอบเป็นวงกลมคล้ายพวงมาลัย แล้วเอาเทียน 4 เล่ม วางไว้บนพวงมาลัยนั้น ในตอนกลางคืนของวันอาทิตย์แรกของเทศกาลเพื่อเตรียมรับเสด็จ ทุกคนในครอบครัวจะจุดเทียนหนึ่งเล่ม สวดภาวนา และร้องเพลงคริสต์มาสร่วมกันเป็นเวลา 4 อาทิตย์ก่อนถึงวันคริสต์มาส ประเพณีเป็นที่นิยมอยางมากในประเทศอเมริกา ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงโดยนำเทียน 1 เล่มนั้นมาจุดไว้ตรงกลางพวงมาลัยสีเขียว และนำไปแขวนไว้ที่หน้าต่าง เพื่อเป็นการเตือนให้คนที่เดินผ่านไปมาได้รู้ว่าใกล้ถึงวันคริสต์มาสแล้ว ส่วนเหตุผลที่พวงมาลัยมีสีเขียวนั้น เป็นเพราะมีการเชื่อกันว่าสีเขียวจะช่วยป้องกันบ้านเรือนจากพวกพลังอันชั่ว ร้ายได้
ระฆังวันคริสต์มาส
เสียงระฆังในวันคริสต์มาสคือการเฉลิมฉลองให้กับการประสูติของพระพุทธเจ้า โดยมีตำนานเล่าว่า มีการตีระฆังช่วงก่อนเวลาเที่ยงคืนของวันคริสต์มาสเพื่อลดพลังความมืด และบ่งบอกถึงความตายของปีศาจ ก่อนที่พระเยซูผู้ที่จะมาช่วยไถ่บาปให้กับมวลมนุษย์จะถือกำเนิดขึ้น และระฆังนี้มีเสียงดังกังวาลนานนับชั่วโมง ก่อนที่ในเวลาเที่ยงคืนเสียงระฆังนี้จะกลับกลายมาเป็นเสียงแห่งความสุข
ดาว
ดาว ในความหมายของชาวคริสต์เตียน หมายถึงการแสดงออกที่ดีของพระเยซูคริสต์ ที่บัญญัติไว้ในพระคัมภีร์ไบเบิ้ลว่า "The bright and morning star" มีความหมายพิเศษเหมือนกับว่า ดวงดาวเหล่านั้นได้แบ่งที่อยู่กับสรวงสวรรค์ ไม่ว่าจะมีกำแพงอะไรขวางกั้นระหว่างพื้นผิวโลกด้วยก็ตาม
เครื่องประดับและแอปเปิ้ล
ในบางแห่งเชื่อว่า ลำต้นของแอปเปิ้ล มองดูคล้ายกับต้นไม้ในสรวงสวรรค์ จึงมีการนำเอาแอปเปิ้ลมาประดับตามต้นไม้ในวันคริสต์มาส ส่วนเครื่องประดับชิ้นเล็กๆ ที่ตกแต่งต้นคริสต์มาสนั้นเป็นงานศิลปะที่จำลองจากผลไม้ และที่มีสีสันสดใสนั้นเพื่อให้เกิดความรื่นเริงในบ้าน อีกทั้งแสงระยิบระยับที่สะท้อนไปมา ยังดูสวยงามคล้ายแสงเทียนและแสงไฟ
ของขวัญวันคริสต์มาส
การแลกเปลี่ยนของขวัญในวันคริสต์มาสนั้น เริ่มต้นจากเมือง Saturnalia ในช่วงยุคโรมัน ต่อมาชาวคริสต์รับประเพณีนี้เข้ามา ด้วยความเชื่อว่า การให้ของขวัญนี้มีความเกี่ยวเนื่องกับของขวัญประเภททอง, ยางสนที่มีกลิ่นหอม และ ยางไม้หอม ซึ่งพวกนักเวทย์จากตะวันออกที่เดินทางมาคารวะพระเยซูคริสต์ นำมาให้ตอนที่ท่านประสูติ
ทั้งหมดนั้นก็คือการเฉลิมฉลองให้กับพระเยซู ที่เกิดมาเพื่อชำระบาปให้แก่ชาวคริสต์ทั้งหลาย และเป็นเทศกาลที่นำความสุข สนุกสนาน มาสู่หมู่มวลมนุษย์
ประวัติวันคริสต์มาส คําอวยพรคริสต์มาส ภาษาอังกฤษ บทความอื่น ๆ เกี่ยวกับวันคริสมาส คลิกเลยค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
- wikipedia.org
- ru.ac.th
- educatepark.com
share
เรื่องที่น่าสนใจ
K-Otic แจ้งเกิด รักไม่ได้หรือไม่ได้รัก ปูทางสู่ความสำเร็จ
บุญสร้าง ยืนยัน คมช. ไม่คิดปฏิวัติ พลังประชาชน
ในหลวง ทรงแนะทุกคนในชาติสามัคคี - อย่าแบ่งพวก
ลือสะพัด! แจกใบเหลือง - แดง ว่อน 85 ใบ
ทักษิณ ยันไม่เล่นการเมือง แต่พร้อมเป็นที่ปรึกษา พปช.
ทักษิณ ต่อสายถึงจิ๋ว เคลียร์เปรม ขอพลังประชาชนตั้งรัฐบาล
เกือบชน
มาอวยพรปีใหม่ ให้ใครคนนั้นกันเถอะ
แก๊งปาหิน ป่วนไม่หยุด ขว้างเก๋ง ดีเจ สาว
ตะลึง!! สุสานรถ โจรซ่อนใต้น้ำ
ติดตามอ่าน
แชร์ให้เพื่อน facebook
ประวัติวอลเลย์บอล
Menu
Today
รูปภาพ
คลิป
ดูหนัง
ฟังเพลง
ละคร
ข่าว
ข่าวสั้น
ดูดวง
ผู้หญิง
ผู้ชาย
บ้าน
ท่องเที่ยว
รถยนต์
ฟุตบอล
การเงิน
สุขภาพ
ทำอาหาร
แม่และเด็ก
ตรวจหวย
ดูเนื้อหาแบบ Full Version
Shareก+ก-
ประวัติวอลเลย์บอล ข้อมูล กีฬาวอลเลย์บอล
23 พฤษภาคม 2555 เวลา 17:48:19
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
กีฬาวอลเลย์บอลเป็นอีกหนึ่งชนิดกีฬายอดนิยม ที่มีการแข่งขันระดับชาติ และนิยมเล่นกันอย่างแพร่หลาย จนถูกรวมเข้ากับหลักสูตรการเรียนการสอนชั้นมัธยมศึกษาในหลายโรงเรียน ซึ่งหลายคนก็คงอยากรู้จักกับกีฬาวอลเลย์บอลให้มากขึ้นเพื่อความสนุกในการชมและเชียร์กีฬาชนิดนี้ใช่ไหมเอ่ย ? วันนี้กระปุกดอทคอมมีข้อมูลของกีฬาวอลเลย์บอลมาฝากกันจ้า ..
ประวัติวอลเลย์บอล
กีฬาวอลเลย์บอล (Volleyball) นั้น ถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ.1895 (พ.ศ.2438) โดย นายวิลเลียม จี. มอร์แกน (William G. Morgan) ผู้อำนวยการฝ่ายพลศึกษาของสมาคม Y.M.C.A. (Young Men's Christian Association) ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ต้องการมีกีฬาสำหรับเล่นในช่วงฤดูหนาวแทนกีฬากลางแจ้ง เพื่อออกกำลังกายและพักผ่อนหย่อนใจยามหิมะตก
โดย นายวิลเลียม จี. มอร์แกน เกิดไอเดียในการพัฒนากีฬาวอลเลย์บอลขึ้น ขณะที่เขากำลังนั่งดูเทนนิส และเลือกนำเอาตาข่ายกลางสนามของกีฬาเทนนิส มาเป็นส่วนประกอบในกีฬาที่เขาคิดค้น และเลือกใช้ยางในของลูกบาสเก็ตบอล มาเป็นลูกบอลที่ใช้ตีโต้ตอบกันไปมา แต่ยางในของลูกบาสเก็ตบอลกลับให้น้ำหนักเบาจนเกินไป จึงเปลี่ยนไปใช้ลูกบาสเก็ตบอลแทน ซึ่งลูกบาสเก็ตบอลก็มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากจนเกินไปอีก เขาจึงสั่งทำลูกบอลขึ้นมาใหม่โดยเฉพาะ ในขนาดเส้นรอบวง 25-27 นิ้ว และกำหนดน้ำหนักไว้ที่ 8-12 ออนซ์ จากนั้นจึงตั้งชื่อกีฬาชนิดนี้ว่า มินโทเนตต์ (Mintonette)
ต่อมา ชื่อของ มินโทเนตต์ (Mintonette) ถูกเปลี่ยนเป็น วอลเลย์บอล (Volleyball) หลังได้รับคำแนะนำจาก ศาสตราจารย์ อัลเฟรด ที เฮลสเตด (Professor Alfred T. Helstead) ในงานประชุมสัมมนาผู้นำทางพลศึกษาที่วิทยาลัยสปริงฟิลด์ (Spring-field College) เมื่อปี ค.ศ.1896 (พ.ศ.2439) และกลายเป็นกีฬายอดนิยมในหมู่ประชาชนชาวอเมริกัน จนแพร่หลายออกไปทั่วโลก รวมทั้งมีการปรับปรุงและพัฒนาอยู่เป็นระยะ
กติกาวอลเลย์บอล
สนามแข่งขัน
- จะต้องเป็นพื้นไม้หรือพื้นปูนที่มีลักษณะเรียบ ไม่มีสิ่งกีดขวาง
- เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 9 เมตร ยาว 12 เมตร ความสูงจากพื้นประมาณ 7 เมตร มีบริเวณโดยรอบห่างจากสนามประมาณ 3 เมตร
- แต่หากเป็นสนามมาตรฐานในระดับนานาชาติ กำหนดให้รอบสนามห่างจากสนามประมาณ 5 เมตร ด้านหลังห่าง 8 เมตร และมีความสูง 12.5 เมตร
- เส้นรอบสนาม (Boundary lines) ทุกเส้นจะต้องกว้าง 5 เซนติเมตร เป็นสีอ่อนตัดกับพื้นสนาม มองเห็นได้ชัดเจน
- เส้นแบ่งเขตแดน (Center line) ที่อยู่ตรงกลางสนาม จะต้องอยู่ใต้ตาข่าย หรือตรงกับเสาตาข่ายพอดี
ตาข่าย
- จะต้องมีความสูงจากพื้น 2.43 เมตร กว้าง 1 เมตร ยาว 9.5 - 10 เมตร
- ตารางในตาข่ายกว้าง 10 เซนติเมตร ผู้ติดไว้กับเสากลางสนาม
- ตาข่ายสำหรับทีมหญิงสูง 2.24 เมตร
ลูกวอลเลย์บอล
- เป็นทรงกลมมีเส้นรอบวงประมาณ 65-67 เซนติเมตร น้ำหนัก 260-280 กรัม
- ทำจากหนังสังเคราะห์ที่ยืดหยุ่นได้
- ซึ่งในการแข่งขันระดับโลกจะใช้ลูกบอล 3 ลูกต่อการแข่งขัน เพื่อความต่อเนื่องหากบอลออกนอกสนาม
ผู้เล่น
- ในทีมจะต้องมีผู้เล่นไม่เกิน 12 คน ผู้ฝึกสอน 1 คน ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน 1 คน เทรนเนอร์ 1 คน และแพทย์ 1 คน
- ผู้เล่นจะลงเล่นในสนามได้ครั้งละ 6 คน โดยแบ่งออกเป็นหน้าตาข่าย 3 คน และด้านหลังอีก 3 คน
- สามารถเปลี่ยนตัวผู้เล่นครั้งละกี่คนก็ได้ โดยผู้เล่นเดิมที่ถูกเปลี่ยนออก สามารถเปลี่ยนกลับมาเล่นในสนามได้อีก
- การแต่งกายในชุดแข่งขัน ต้องแต่งกายเหมือนกันทั้งทีม ประกอบไปด้วย เสื้อสวมคอ กางเกงขาสั้น ถุงเท้า และรองเท้าผ้าใบพื้นยางที่ไม่มีส้น โดยผู้เล่นแต่ละคนจะต้องติดหมายเลขกำกับไว้ที่เสื้อ กำหนดให้ใช้เลข 1-18 เท่านั้น สำหรับหัวหน้าทีมจะต้องมีแถบผ้าขนาด 8x2 เซนติเมตร ติดอยู่ใต้หมายเลขบริเวณอกเสื้อด้วย
วิธีการเล่น
- ทีมที่ได้เสิร์ฟ จะต้องให้ผู้เล่นที่อยู่ในตำแหน่งขวาหลัง เป็นผู้เสิร์ฟเพื่อเปิดเกม จากนั้นผู้เล่นทุกตำแหน่งจะขยับตำแหน่งวนไปตามเข็มนาฬิกา
- การเสิร์ฟจะต้องรอฟังสัญญาณนกหวีดก่อน และให้เริ่มเสิร์ฟลูกบอลภายใน 5 วินาที
- ทีมที่ได้คะแนนจะเป็นผู้ได้เสิร์ฟ จนกว่าจะเสียคะแนนให้ฝ่ายตรงข้ามจึงจะเปลี่ยนเสิร์ฟ
- เมื่อลูกเข้ามาในเขตแดนของทีม จะสามารถเล่นบอลได้มากที่สุด 3 ครั้งเท่านั้น
- สามารถบล็อคลูกบอลจากฝ่ายตรงข้ามที่หน้าตาข่ายได้ แต่หากผู้เล่นล้ำเข้าไปในแดนของฝ่ายตรงข้ามจะถือว่าฟาวล์
- สามารถขอเวลานอกได้ 2 ครั้งต่อ 1 เซต ให้เวลาครั้งละ 30 วินาที
- ทุกครั้งที่แข่งขันจบ 1 เซต จะต้องมีการเปลี่ยนฝั่ง
การคิดคะแนน
- ทีมจะได้คะแนนเมื่อลูกบอลตกลงในเขตสนามของฝ่ายตรงข้าม โดยนับเป็นลูกละ 1 คะแนน และหากมีการเสียคะแนน จะต้องเปลี่ยนให้ทีมที่ได้คะแนนเป็นผู้เสิร์ฟ
- หากทีมไหนได้คะแนนครบ 25 คะแนนก่อน ก็จะเป็นผู้ชนะในเซตนั้นไป แต่หากคะแนนเสมอกันที่ 24-24 จะต้องมีการดิวซ์ (Deuce) หมายถึงต้องทำคะแนนให้มากกว่าอีกฝ่าย 2 คะแนน ถึงจะเป็นผู้ชนะ เช่น 26-24 หรือ 27-25 เป็นต้น
- ต้องแข่งขันกันให้ชนะ 3 ใน 5 เซต จึงจะเป็นผู้ชนะในเกมนั้น
และนี่คือข้อมูลคร่าว ๆ ของกีฬาวอลเลย์บอล เมื่อรู้จักกีฬาชนิดนี้กันแล้ว ก็อย่าลืมทำความเข้าใจกติกามารยาทในการแข่งขัน และเล่นกีฬากันอย่างมีน้ำใจนักกีฬากันด้วยนะจ๊ะ
share
เรื่องที่น่าสนใจ
ปชป.โต้ปิดเว็บปิดข้อมูล ปมบริจาคอีสต์ วอเตอร์!
สเปซเอ็กซ์ ส่งยานอวกาศดราก้อน ขึ้นสู่วงโคจรแล้ว
ตกงาน! ชายอังกฤษจบ ป.โท แขวนป้ายของานกลางถนน
ชาวเน็ตโวย! ศธ. ขึ้นป้ายยิ่งลักษณ์ บังพระบรมฉายาลักษณ์
ทึ่ง! ผลงานสลักกล้วย ด้วยเทคนิคผสมจุดสี
บอร์ดการบินไทยตั้ง เพรียวพันธ์ นั่งเก้าอี้รองประธานฯ
พุทธชยันตี กับความสำคัญทางพระพุทธศาสนา
เหลิม เชียงของ ชายผู้เปี่ยมสุขในโลกไร้กาลเวลา
มะกันประมูลขายหมู่บ้านถ่ายทำหนัง ฮังเกอร์ เกมส์
เฮ! วอลเล่ย์สาวไทย อัด ไต้หวัน 3-0 เซ็ต
ติดตามอ่าน
แชร์ให้เพื่อน facebook
ประวัติลอยกระทง
Last edited 1 month ago by JBot
วันลอยกระทง
เฝ้าดูหน้านี้
This page has some issues
กระทงทำจากวัสดุธรรมชาติ
วันลอยกระทง เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ตามปฏิทินจันทรคติล้านนา มักจะตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายน ตามปฏิทินสุริยคติ ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป
ในวันลอยกระทง ผู้คนจะพากันทำ "กระทง" จากวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ตกแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทง แล้วนำไปลอยในสายน้ำ (ในพื้นที่ติดทะเล ก็นิยมลอยกระทงริมฝั่งทะเล) เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการลอยกระทง เป็นการบูชาและขอขมาพระแม่คงคาด้วย
วันลอยกระทงในปฏิทินสุริยคติ
ประวัติ
ประเพณีในแต่ละท้องถิ่น
ความเชื่อเกี่ยวกับวันลอยกระทง
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
อ่านในภาษาอื่น
วิกิพีเดีย ™ อุปกรณ์เคลื่อนที่คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ
ข้อความทั้งหมดอยู่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์/Share-Alike และเงื่อนไขอื่นเพิ่มเติมตามนโยบายด้านลิขสิทธิ์ วิกิพีเดีย® เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของ มูลนิธิวิกิมีเดีย
Terms of Useความเป็นส่วนตั
ประวัติช้างไทย
ช้างไทยในประวัติศาสตร์
ภาพ เจ้าพระยาไชยานุภาพ
http://www.thungyai.org/thai/activities/48/kingnaresuan/king07.htm
ช้างไทยในสงครามประวัติศาสตร์
ในสมัยโบราณมีการใช้ช้างในการทำสงคราม ซึ่งถือว่าช้างนั้นเป็นกำลังสำคัญในการสู้ศึกเพื่อเอกราชของไทยเลยก็ว่าได้ การใช้ช้างในการทำสงครามนั้นได้มีการกล่าววิธีการต่อสู้เอาไว้ว่าพระเจ้าแผ่นดินหรือแม่ทัพก็จะใช้อาวุธของ้าวต่อสู้กันบนหลังช้าง ส่วนช้างที่ใช้ต่อสู้นั้นก็จะต่อสู้กับช้างของศัตรูช้างผู้ใดที่มีกำลังมากและสามารถสู้งัดช้างของศัตรู ก็จะเป็นฝ่ายได้เปรียบเพราะจะทำให้แม่ทัพนั้นสามารถใช้ของ้าวฟันคู่ต่อสู้ได้อย่างสะดวกและได้ชัยชนะ ซึ่งการรับชัยชนะนั้นจะต้องขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งของช้างและแม่ทัพด้วย ช้างศึกในสมัยโบราณนั้นมีมากมายหลายรัชสมัยโดยเริ่มจากสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมื่อครั้งสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถในสมัยนี้พระองค์ได้รับช้างเผือกมาตัวหนึ่งซึ่งถือเป็นช้างเผือกแรกของกรุงศรีอยุธยา เลยก็ว่าได้จนพระองค์ได้รับพระราชสมัญญาอีกพระนามหนึ่งว่า พระเจ้าช้างเผือกและในสมัยพระมหาจักรพรรดิทรงใช้ช้างต่อสู้กับกองทัพของพม่าและได้เกิดตำนานพระศรีสุริโยทัยขึ้น นอกจากนี้ยังมีการรบบนหลังช้างที่สำคัญกับคนไทยมากที่สุดซึ่งถือเป็นการกู้เอกราชให้กับประเทศไทยเลยก็ว่าได้นั่นคือในสมัยสมเด็จ พระนเรศวรมหาราชซึ่งเป็นการรบระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับพระมหาอุปราชาแห่งกรุงหงสาวดีโดยช้างที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงใช้ในการทำศึกครั้งนี้คือเจ้าพระยาไชยานุภาพและเมื่อได้รับชัยชนะก็ได้สมญานามว่า เจ้าพระยาปราบหงสา ส่วนช้างที่พระสมเด็จพระเอกาทศรถผู้น้องทรงช้างนามว่า เจ้าพระยาปราบไตรจักร และต่อมาในสมัยกรุงธนบุรีเมื่อครั้งที่ประชาชนเกิดความแตกแยกข้าศึกเข้าโจมตี พระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเป็นกำลังรวบรวมชาติไทยให้เป็นปึกแผ่นโดยทรงใช้ช้างในการรบด้วยเช่นกัน
ช้างไทยในพระราชพิธี
ภาพ ช้างเผือก http://www.thailandelephant.org/elephant1.php3
ประเทศไทยเป็นชาติหนึ่งที่มีประเพณีที่ถือปฏิบัติมาตั้งแต่สมัยโบราณกาลซึ่งในประเพณีเหล่านี้ก็เกิดจากความเชื่อความศรัทธาในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยในประเพณี หรือ พระราชพิธีต่างๆนี้ก็ได้มีการนำช้างเข้ามาประกอบพิธีเพื่อเป็นมิ่งมงคล ในประเพณีของไทยแต่เดิมช้างเผือกเป็นช้างที่สำคัญในงานพระราชพิธี ซึ่งพระราชพิธีเหล่านี้ได้แก่ งานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา และงานพระราชพิธีฉัตรมงคล การนำช้างเผือกขึ้นยืนที่แท่นเกยช้างด้านตะวันตกพระที่นั่งดุสิตาภิรมย์ในพระบรมมหาราชวังเพื่อประกอบ เกียรติยศจะต้องแต่งเครื่องคชาภรณ์ในรัชกาลที่ 3 ได้มีการปรากฏถึงการนำช้างพระที่นั่งยืนแท่นในการรับแขกเมืองไว้ในพระราชพงศาวดารดาวกรุงรัตนโกสินทร์ ทั้งนี้ในรัชกาลที่ 4 ที่กล่าวถึงในพระราชพิธีบวรราชาภิเษก พระบาทสมเด็จฯพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงช้างพระที่นั่งชื่อเจ้าพระยาไชยานุภาพพร้อมกันนี้ยังมีปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 5 กล่าวถึงการนำพระวิมลรัตนกิริณีช้างเผือกในรัชกาลที่ 4 แต่งด้วยเครื่องคชาภรณ์ออกยืนแท่นพร้อมกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จไปในพระราชพิธีพิรุณศาสตร์ ซึ่งเป็นพระราชพิธีที่เกี่ยวกับการขอความสมบูรณ์ให้กับต้นข้าวพืชพันธุ์ของประชาชนเมื่อเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ ช้างที่นำมาใช้งานในพระราชพิธีเช่นนี้จะต้องมีการสมโภชขึ้นระวางช้างสำคัญก่อนซึ่งพระราชพิธีนี้แบ่งออกเป็น 2 ภร คือพิธีสมโภชขึ้นระวางพระราชทานนามช้าง งานสมโภชช้างนั้นจะจัดเป็นเวลาเท่าไหร่ ก็แล้วแต่ความเหมาะสมในแต่ละสมัยซึ่งในรัชกาลที่ 9 มีงาน 2 วัน
ภาพ ช้างเผือก
จาก http://www.kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK17/chapter1/t17-1-s.htm
ช้างไทยในจิตรกรรมทางพระพุทธศาสนา
จิตรกรรมภาพวาดของไทยที่ปรากฏในทุกสถานที่ที่สำคัญของเมืองไทยส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับศาสนาความเชื่อที่ผู้คนในแต่ละพื้นที่มี งานจิตรกรรมส่วนใหญ่มีความเกี่ยวข้องกับศาสนาโดยเฉพาะในประเทศไทยที่มีการนับถือพุทธศาสนาเป็นส่วนใหญ่ เริ่มจากเรื่องราวของพระนางสิริมหามายาสุบินนิมิตเห็นพระเศวตกุญชร ซึ่งเป็นช้างเผือกขาวในเรื่องนี้ก็ได้มีการทำจิตรกรรมฝาผนังเกิดขึ้นและในประเทศไทยได้ปรากฏอยู่ตามโบราณสถานที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาอาทิเช่นในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ในอาคารพิพิธภัณฑ์บ้านจันเสน จังหวัดนครสวรรค์ ที่หอสมุดแห่งชาติ นอกจากนี้ยังมีเรื่องราวเหตุการณ์ของช้างชื่อนาฬาคิรี ช้างคิรีเมขล์ ช้างปาลิไลยะ
ช้างนาฬาคิรีเป็นช้างที่มีรูปสูงใหญ่ วิ่งเร็ว ดุร้าย เป็นช้างที่พระเทวทัตใช้เป็นเครื่องมือในการทำร้ายพระพุทธเจ้าแต่เมื่อนาฬาคิรีมาเข้าใกล้พระพุทธเจ้าเพื่อทำร้ายแต่กลับกลายเป็นว่าพระพุทธเจ้าทรงแผ่เมตตาจนนาฬาคิรีสงบจิตรกรรมในเรื่องนี้ได้มีที่จิตรกรรมฝาผนังวัดเกาะ จังหวัดเพชรบุรี จิตรกรรมฝาผนังที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร ในอาคารพิพิธภัณฑ์บ้านจันเสน นครสวรรค์
จิตรกรรมฝาผนังในอาคารพิพิธภัณฑ์บ้านจันเสน นครสวรรค์ แสดงภาพพระพุทธเจ้าทรมานช้างนาฬาคีรี
ภาพ ช้างนาฬาคิรี จากหนังสือ ช้างในพุทธวรรณกรรมและพุทธศิลปกรรมหน้า 75
ช้างคิรีเมขล์เป็นช้างสูงใหญ่มีกำลังมากเป็นช้างพาหนะของพญามารที่แปลงกายเพื่อทำร้ายพระพุทธเจ้า จิตรกรรมในเรื่องนี้มีอยู่ที่ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร ในอาคารพิพิธภัณฑ์บ้านจันเสน จังหวัดนครสวรรค์ ในวิหารวัดสุทัศนเทพวราราม ในอุโบสถวัดดุสิดารามวรวิหาร กรุงเทพมหานคร ในอุโบสถวัดหนองสูง จังหวัดสระบุรี ในอุโบสถวัดเทพอุปการาม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถวัดหนองยาวสูง สระบุรี แสดงภาพมารผจญ
ภาพ ช้างคิรีเมขล์ จากหนังสือ ช้างในพุทธวรรณกรรมและพุทธศิลปกรรม
ช้างปาลิไลยกะเป็นช้างที่รับใช้พระพุทธเจ้าเมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ที่หมู่บ้านปาลิไลยกะ จิตรกรรมในเรื่องนี้มีอยู่ในอุโบสถวัดจรรย์และในอุโบสถวัดประตูสาร จังหวัดสุพรรณบุรี
จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถวัดจรรย์ จังหวัดสพรรณบุรี แสดงภาพพระพุทธเจ้าประทับ ณ ป่ารักขิตวัน มีช้างปาเลไลย์และลิงเฝ้าปรนนิบัติ
ภาพ ช้างปาลิไลยกะ จากหนังสือ เรื่องช้างในพุทธวรรณกรรมและพุทธศิลปกรรม หน้า 81
ภาพ ช้างเอราวัณ
จาก http://www.businesscenterbkk.com/arawan.jpg
ช้างในวรรณคดีและวรรณกรรมไทย
• ช้างเอราวัณ
เป็นช้างที่มีชื่ออยู่ในวรรณคดีบาลีกล่าวกันว่าเป็นช้างพาหนะของพระอินทร์ เรื่องราวของช้างเอราวัณที่ได้ พูดถึงกันนั้นจะเกี่ยวข้องกับประวัติของท้าวสักกะหรือพระอินทร์ผู้เป็นราชาแห่งเทพชั้นดาวดึงส์
• ช้างไอราวัณ
เป็นช้างที่มีรูปร่างสูงใหญ่เหมือนภูเขา ผิวกายผ่องดูสดใส เป็นช้างที่มีพลังอำนาจมาก ช้างไอราวัณมีหน้าที่ เป็นช้างพาหนะของพระอินทร์ โดยมีหน้าที่หลายอย่างอาทิเช่น การนำพระอินทร์ออกรบ การทำฝน ช้างเอราวัณหรือไอราวัณนี้ปรากฏในวรรณคดีไทยหลายเรื่อง
• ช้างพลายมงคล
เป็นช้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นช้างที่พระเจ้าเชียงใหม่ถวายเป็นบรรณาการแด่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีโสกันต์ แต่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชในเวลานั้นยังทรงพระเยาว์ พร้อมกับประทับอยู่ในพระบรมมหาราชวังซึ่งจะทรงเลี้ยงช้างก็ไม่สะดวกนัก จึงประทานให้เจ้าพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์ซึ่งเป็นพระอภิบาลเลี้ยงช้างและคอยกราบทูลถวายรายงานที่เกี่ยวกับพลาย มงคล ช้างพลายมงคลมาอยู่ที่บ้านเจ้าพระยาเทเวศรฯ หรือที่เรียกกันว่าวังบ้านหม้อซึ่งมีบริเวณกว้างขวางมีทางเดินขนาดใหญ่ พร้อมกันนี้ก็เป็นบ้านที่มีคนอยู่มากมาย พลายมงคลเมื่อมาอยู่บ้านนี้ก็รู้สึกครึกครื้นเป็นช้างชอบเล่นและเป็นที่ชื่นชอบแก่เด็กๆ รวมทั้งลูกๆ หลานๆ ของเจ้าพระยาเทเวศรฯ ด้วย พลายมงคลเป็นช้างที่ฉลาดจึงทำให้เจ้าพระยาเทเวศรฯ รักประดุจลูกพลายมงคลมีคนดูแลชื่อว่า ตาภู่ ซึ่งบุคคลทั้งสองนี้จึงเปรียบเหมือนเป็นพ่อของพลายมงคลเลยก็ว่าได้
ภาพช้างพลาย
จาก http://www.dnp.go.th/multi_prov_forest/pic/66.jpg
ช้างไทยในแต่ละรัชกาล
ประเทศไทยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศ ปกครองมานานหลายรัชสมัย ซึ่งในการปกครองแต่ละรัชสมัยนั้นก็ได้มีช้างเข้ามาเกี่ยวข้อง ในการปกครองตั้งแต่สมัยโบราณจนกระทั่งปัจจุบันช้างถือว่าเป็นสัตว์ที่ช่วยเสริมบารมีของพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ตามความเชื่อในทางพระพุทธศาสนาที่ว่าพระพุทธเจ้าทรงเสวยราชย์เป็นพระยาช้างที่มีบุญบารมีมากว่า 500 ชาติ จึงถือได้ว่าช้างเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองของคนไทยเลยก็ว่าได้
กรุงสุโขทัย
ในศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวว่าพระเจ้ารามคำแหงมหาราชได้ชนช้างชนะขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด และยังมีอีกตอนที่กล่าวถึงช้างเผือกตัวโปรดของพระเจ้ารามคำแหงมหาราชที่ชื่อรุจาครี ซึ่งช้างเผือกตัวนี้ทรงให้แต่งด้วยเครื่องคชาภรณ์ แล้วทรงนำราษฎรออกบำเพ็ญกุศลตามพระอารามในอรัญญิกเมื่อครั้งที่ทรงครองกรุงสุโขทัย
กรุงศรีอยุธยา
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้มีช้างเผือกที่มีลักษณะพิเศษที่นำมาเป็นสัตว์คู่บารมีของพระมหากษัตริย์แต่ละรัชกาล
• ในสมัย สมเด็จพระอินทราชาที่ 2 ได้ช้างเผือกมา 1 เชือก
• ในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราชได้ปรากฏช้างเผือกที่ชื่อพระฉัททันต์ขึ้น
• ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ซึ่งถือได้ว่าเป็นรัชสมัยเริ่มต้นที่ให้ความสำคัญกับช้างเผือกมากที่สุด พร้อมทั้งยังมีช้างเผือกประจำรัชกาลนี้ถึง 7 เชือก คือ พระคเชนทโรดม พระรัตนากาศ พระแก้วทรงบาศ ช้างเผือกพังแม่และพังลูก พระบรมไกรสร พระสุริยกุญชร
• ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 (สมเด็จพระนารายณ์มหาราช) ได้ช้างเผือกมา 2 เชือก คือ พระอินทร์ไอยราวรรณ และ เจ้าพระยาบรมคเชนทรฉัททันต์
• ในสมัยสมเด็จพระมหาบุรุษ( พระเพทราชา) ได้ช้างเผือกมา 2 เชือก คือ พระอินทรไอราพต และ พระบรมรัตนากาศ
• ในสมัยสมเด็จพระสรรเพชญที่ 8 ( พระเจ้าเสือ ) ได้ช้างเผือกชื่อ พระบรมไตรจักร
• ในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 ( พระบรมโกศ )ได้ช้างเผือกมา 6 เชือก คือ พระวิเชียรหัสดิน พระบรมราชนาเคนทร พระบรมวิไชยคเชนทร พระบรมกุญชร พระบรมจักรพาลหัตถี พระบรมคชลักษณ์
กรุงธนบุรี
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ช้างพังเผือก ได้เมื่อครั้งนำกองทัพกรุงไปล้อมเมืองฝาง เจ้าฝางหนีพาช้างไปด้วย กองทัพติดตามได้ลูกช้างนำมาถวาย
กรุงรัตนโกสินทร์
• รัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ช้าง 10 เชือก คือ พระบรมไกรสร ( บวรสุประดิษฐ) พระบรมไกรสร ( บวรบุษปทันต์ ) พระอินทรไอยรา พระเทพกุญชร พระบรมฉัททันต์ พระบรมนัขมณี พระบรมคชลักษณ์ ( อรรคคเชนทร์ ) พระบรมนาเคนทร์ พระบรมคชลักษณ์ ( อรรคชาติดามพหัตถี ) พระบรมเมฆเอกทนต์
• รัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีช้าง 6 เชือก คือ พระยาเศวตกุญชร พระบรมนาเคนทร์ พระบรมหัศดิน พระบรมนาเคนทร์ ( คเชนทรธราธาร ) พระยาเศวตไอยรา พระยาเศวตคชลักษณ์
• รัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีช้างเผือกอยู่ 20 เชือก คือ พระบรมคชลักษณ์ พระบรมไอยรา พระบรมนาเคนทร์ พระบรมเอกทันต์ พระยามงคลหัสดิน พระยามงคลนาคินทร์ พระบรมไกรสร พระบรมกุญชร พังหงษาสวรรค์ พระนัขนาเคนทร์ พระบรมไอยเรศ พระบรมสังขทันต์ พระบรมคชลักษณ์ ( ศักดิสารจุมประสาท ) พระบรมนขาคเชนทร์ พระนาเคนทรนขา พระบรมทัศนขา ช้างพลายสีประหลาด พระบรมศุภราช พระยามงคลคชพงศ์ ช้างพลายกระจุดดำ
• รัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีช้าง 15 เชือก คือ พระบรมนัขสมบัติ พระวิมลรัตนกิริณี พระบรมคชรัตน พระวิสูตรรัตนกิริณี พระพิไชยนิลนัข พระพิไชยกฤษณาวรรณ พระศรีสกลกฤษณ์ พระมหาศรีเศวตวิมลวรรณ ช้างพังเผือกเอก พระเศวตสุวรรณาภาพรรณ ช้างพัง เผือกเอก พระเทวสยามมหาพิฆเนศวร ช้างสีประหลาด เจ้าพระยาปราบไตรจักร พระยาไชยานุภาพ
ภาพจำลองพระเศวตสุนทรสวัสดิ์
จาก http://www.csd.go.th/news/31012007/
ภาพ พระยาปราบไตรจักร
จาก http://www.csd.go.th/news/31012007/
• รัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีช้าง 19 เชือก คือ พระเศวตวรวรรณ พระมหารพีพรรณคชพงษ์ พระเศวตสุวภาพรรณ พระเทพคชรัตนกิริณี พระศรีสวัสดิเศวตวรรณ พระบรมทันตวรลักษณ์ พระเศวตวรลักษณ์ พระเศวตวรสรรพางค์ พระเศวตวิสุทธิเทพา พระเศวตสุนทรสวัสดิ์ พระเศวตสกลวโรภาศ พระเศวตรุจิราภาพรรณ พระเศวตวรนาเคนทร์ ช้างพลายเผือกเอก พระศรีเศวตวรรณิภา พระเศวตอุดมวารณ์ ช้างพลายสีประหลาด 2 เชือก เจ้าพระยาไชยานุภาพ
• รัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ช้าง พระเศวตวชิรพาหะ
• รัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ช้าง พระเศวตคชเดชน์ดิลก
ภาพพระเศวตคชเดช
จาก http://www.csd.go.th/news/31012007/
• รัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช มีช้างเผือก 10 เชือก คือ พระเศวตอดุลยเดชพาหน พระเศวตวรรัตนกรี พระเศวตสุรคชาธาร พระศรีเศวตศุภลักษณ์ พระเศวตศุทธวิลาศ พระวิมลรัตนกิริณี พระศรีนรารัฐราชกิริณี พระเศวตภาสุรคเชนทร์ พระเทพรัตนกิริณี พระบรมนขทัศ
ภาพพระเศวตอดุลยเดชพาหน
จาก http://www.csd.go.th/news/31012007/
ชีววิทยาของช้าง
ประเภทและสายพันธุ์
ช้างไทยในประวัติศาสตร์
13 มีนาคมวันช้างไทย
ภาพ เจ้าพระยาไชยานุภาพ
http://www.thungyai.org/thai/activities/48/kingnaresuan/king07.htm
ช้างไทยในสงครามประวัติศาสตร์
ในสมัยโบราณมีการใช้ช้างในการทำสงคราม ซึ่งถือว่าช้างนั้นเป็นกำลังสำคัญในการสู้ศึกเพื่อเอกราชของไทยเลยก็ว่าได้ การใช้ช้างในการทำสงครามนั้นได้มีการกล่าววิธีการต่อสู้เอาไว้ว่าพระเจ้าแผ่นดินหรือแม่ทัพก็จะใช้อาวุธของ้าวต่อสู้กันบนหลังช้าง ส่วนช้างที่ใช้ต่อสู้นั้นก็จะต่อสู้กับช้างของศัตรูช้างผู้ใดที่มีกำลังมากและสามารถสู้งัดช้างของศัตรู ก็จะเป็นฝ่ายได้เปรียบเพราะจะทำให้แม่ทัพนั้นสามารถใช้ของ้าวฟันคู่ต่อสู้ได้อย่างสะดวกและได้ชัยชนะ ซึ่งการรับชัยชนะนั้นจะต้องขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งของช้างและแม่ทัพด้วย ช้างศึกในสมัยโบราณนั้นมีมากมายหลายรัชสมัยโดยเริ่มจากสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมื่อครั้งสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถในสมัยนี้พระองค์ได้รับช้างเผือกมาตัวหนึ่งซึ่งถือเป็นช้างเผือกแรกของกรุงศรีอยุธยา เลยก็ว่าได้จนพระองค์ได้รับพระราชสมัญญาอีกพระนามหนึ่งว่า พระเจ้าช้างเผือกและในสมัยพระมหาจักรพรรดิทรงใช้ช้างต่อสู้กับกองทัพของพม่าและได้เกิดตำนานพระศรีสุริโยทัยขึ้น นอกจากนี้ยังมีการรบบนหลังช้างที่สำคัญกับคนไทยมากที่สุดซึ่งถือเป็นการกู้เอกราชให้กับประเทศไทยเลยก็ว่าได้นั่นคือในสมัยสมเด็จ พระนเรศวรมหาราชซึ่งเป็นการรบระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับพระมหาอุปราชาแห่งกรุงหงสาวดีโดยช้างที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงใช้ในการทำศึกครั้งนี้คือเจ้าพระยาไชยานุภาพและเมื่อได้รับชัยชนะก็ได้สมญานามว่า เจ้าพระยาปราบหงสา ส่วนช้างที่พระสมเด็จพระเอกาทศรถผู้น้องทรงช้างนามว่า เจ้าพระยาปราบไตรจักร และต่อมาในสมัยกรุงธนบุรีเมื่อครั้งที่ประชาชนเกิดความแตกแยกข้าศึกเข้าโจมตี พระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเป็นกำลังรวบรวมชาติไทยให้เป็นปึกแผ่นโดยทรงใช้ช้างในการรบด้วยเช่นกัน
ช้างไทยในพระราชพิธี
ภาพ ช้างเผือก http://www.thailandelephant.org/elephant1.php3
ประเทศไทยเป็นชาติหนึ่งที่มีประเพณีที่ถือปฏิบัติมาตั้งแต่สมัยโบราณกาลซึ่งในประเพณีเหล่านี้ก็เกิดจากความเชื่อความศรัทธาในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยในประเพณี หรือ พระราชพิธีต่างๆนี้ก็ได้มีการนำช้างเข้ามาประกอบพิธีเพื่อเป็นมิ่งมงคล ในประเพณีของไทยแต่เดิมช้างเผือกเป็นช้างที่สำคัญในงานพระราชพิธี ซึ่งพระราชพิธีเหล่านี้ได้แก่ งานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา และงานพระราชพิธีฉัตรมงคล การนำช้างเผือกขึ้นยืนที่แท่นเกยช้างด้านตะวันตกพระที่นั่งดุสิตาภิรมย์ในพระบรมมหาราชวังเพื่อประกอบ เกียรติยศจะต้องแต่งเครื่องคชาภรณ์ในรัชกาลที่ 3 ได้มีการปรากฏถึงการนำช้างพระที่นั่งยืนแท่นในการรับแขกเมืองไว้ในพระราชพงศาวดารดาวกรุงรัตนโกสินทร์ ทั้งนี้ในรัชกาลที่ 4 ที่กล่าวถึงในพระราชพิธีบวรราชาภิเษก พระบาทสมเด็จฯพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงช้างพระที่นั่งชื่อเจ้าพระยาไชยานุภาพพร้อมกันนี้ยังมีปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 5 กล่าวถึงการนำพระวิมลรัตนกิริณีช้างเผือกในรัชกาลที่ 4 แต่งด้วยเครื่องคชาภรณ์ออกยืนแท่นพร้อมกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จไปในพระราชพิธีพิรุณศาสตร์ ซึ่งเป็นพระราชพิธีที่เกี่ยวกับการขอความสมบูรณ์ให้กับต้นข้าวพืชพันธุ์ของประชาชนเมื่อเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ ช้างที่นำมาใช้งานในพระราชพิธีเช่นนี้จะต้องมีการสมโภชขึ้นระวางช้างสำคัญก่อนซึ่งพระราชพิธีนี้แบ่งออกเป็น 2 ภร คือพิธีสมโภชขึ้นระวางพระราชทานนามช้าง งานสมโภชช้างนั้นจะจัดเป็นเวลาเท่าไหร่ ก็แล้วแต่ความเหมาะสมในแต่ละสมัยซึ่งในรัชกาลที่ 9 มีงาน 2 วัน
ภาพ ช้างเผือก
จาก http://www.kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK17/chapter1/t17-1-s.htm
ช้างไทยในจิตรกรรมทางพระพุทธศาสนา
จิตรกรรมภาพวาดของไทยที่ปรากฏในทุกสถานที่ที่สำคัญของเมืองไทยส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับศาสนาความเชื่อที่ผู้คนในแต่ละพื้นที่มี งานจิตรกรรมส่วนใหญ่มีความเกี่ยวข้องกับศาสนาโดยเฉพาะในประเทศไทยที่มีการนับถือพุทธศาสนาเป็นส่วนใหญ่ เริ่มจากเรื่องราวของพระนางสิริมหามายาสุบินนิมิตเห็นพระเศวตกุญชร ซึ่งเป็นช้างเผือกขาวในเรื่องนี้ก็ได้มีการทำจิตรกรรมฝาผนังเกิดขึ้นและในประเทศไทยได้ปรากฏอยู่ตามโบราณสถานที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาอาทิเช่นในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ในอาคารพิพิธภัณฑ์บ้านจันเสน จังหวัดนครสวรรค์ ที่หอสมุดแห่งชาติ นอกจากนี้ยังมีเรื่องราวเหตุการณ์ของช้างชื่อนาฬาคิรี ช้างคิรีเมขล์ ช้างปาลิไลยะ
ช้างนาฬาคิรีเป็นช้างที่มีรูปสูงใหญ่ วิ่งเร็ว ดุร้าย เป็นช้างที่พระเทวทัตใช้เป็นเครื่องมือในการทำร้ายพระพุทธเจ้าแต่เมื่อนาฬาคิรีมาเข้าใกล้พระพุทธเจ้าเพื่อทำร้ายแต่กลับกลายเป็นว่าพระพุทธเจ้าทรงแผ่เมตตาจนนาฬาคิรีสงบจิตรกรรมในเรื่องนี้ได้มีที่จิตรกรรมฝาผนังวัดเกาะ จังหวัดเพชรบุรี จิตรกรรมฝาผนังที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร ในอาคารพิพิธภัณฑ์บ้านจันเสน นครสวรรค์
จิตรกรรมฝาผนังในอาคารพิพิธภัณฑ์บ้านจันเสน นครสวรรค์ แสดงภาพพระพุทธเจ้าทรมานช้างนาฬาคีรี
ภาพ ช้างนาฬาคิรี จากหนังสือ ช้างในพุทธวรรณกรรมและพุทธศิลปกรรมหน้า 75
ช้างคิรีเมขล์เป็นช้างสูงใหญ่มีกำลังมากเป็นช้างพาหนะของพญามารที่แปลงกายเพื่อทำร้ายพระพุทธเจ้า จิตรกรรมในเรื่องนี้มีอยู่ที่ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร ในอาคารพิพิธภัณฑ์บ้านจันเสน จังหวัดนครสวรรค์ ในวิหารวัดสุทัศนเทพวราราม ในอุโบสถวัดดุสิดารามวรวิหาร กรุงเทพมหานคร ในอุโบสถวัดหนองสูง จังหวัดสระบุรี ในอุโบสถวัดเทพอุปการาม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถวัดหนองยาวสูง สระบุรี แสดงภาพมารผจญ
ภาพ ช้างคิรีเมขล์ จากหนังสือ ช้างในพุทธวรรณกรรมและพุทธศิลปกรรม
ช้างปาลิไลยกะเป็นช้างที่รับใช้พระพุทธเจ้าเมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ที่หมู่บ้านปาลิไลยกะ จิตรกรรมในเรื่องนี้มีอยู่ในอุโบสถวัดจรรย์และในอุโบสถวัดประตูสาร จังหวัดสุพรรณบุรี
จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถวัดจรรย์ จังหวัดสพรรณบุรี แสดงภาพพระพุทธเจ้าประทับ ณ ป่ารักขิตวัน มีช้างปาเลไลย์และลิงเฝ้าปรนนิบัติ
ภาพ ช้างปาลิไลยกะ จากหนังสือ เรื่องช้างในพุทธวรรณกรรมและพุทธศิลปกรรม หน้า 81
ภาพ ช้างเอราวัณ
จาก http://www.businesscenterbkk.com/arawan.jpg
ช้างในวรรณคดีและวรรณกรรมไทย
• ช้างเอราวัณ
เป็นช้างที่มีชื่ออยู่ในวรรณคดีบาลีกล่าวกันว่าเป็นช้างพาหนะของพระอินทร์ เรื่องราวของช้างเอราวัณที่ได้ พูดถึงกันนั้นจะเกี่ยวข้องกับประวัติของท้าวสักกะหรือพระอินทร์ผู้เป็นราชาแห่งเทพชั้นดาวดึงส์
• ช้างไอราวัณ
เป็นช้างที่มีรูปร่างสูงใหญ่เหมือนภูเขา ผิวกายผ่องดูสดใส เป็นช้างที่มีพลังอำนาจมาก ช้างไอราวัณมีหน้าที่ เป็นช้างพาหนะของพระอินทร์ โดยมีหน้าที่หลายอย่างอาทิเช่น การนำพระอินทร์ออกรบ การทำฝน ช้างเอราวัณหรือไอราวัณนี้ปรากฏในวรรณคดีไทยหลายเรื่อง
• ช้างพลายมงคล
เป็นช้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นช้างที่พระเจ้าเชียงใหม่ถวายเป็นบรรณาการแด่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีโสกันต์ แต่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชในเวลานั้นยังทรงพระเยาว์ พร้อมกับประทับอยู่ในพระบรมมหาราชวังซึ่งจะทรงเลี้ยงช้างก็ไม่สะดวกนัก จึงประทานให้เจ้าพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์ซึ่งเป็นพระอภิบาลเลี้ยงช้างและคอยกราบทูลถวายรายงานที่เกี่ยวกับพลาย มงคล ช้างพลายมงคลมาอยู่ที่บ้านเจ้าพระยาเทเวศรฯ หรือที่เรียกกันว่าวังบ้านหม้อซึ่งมีบริเวณกว้างขวางมีทางเดินขนาดใหญ่ พร้อมกันนี้ก็เป็นบ้านที่มีคนอยู่มากมาย พลายมงคลเมื่อมาอยู่บ้านนี้ก็รู้สึกครึกครื้นเป็นช้างชอบเล่นและเป็นที่ชื่นชอบแก่เด็กๆ รวมทั้งลูกๆ หลานๆ ของเจ้าพระยาเทเวศรฯ ด้วย พลายมงคลเป็นช้างที่ฉลาดจึงทำให้เจ้าพระยาเทเวศรฯ รักประดุจลูกพลายมงคลมีคนดูแลชื่อว่า ตาภู่ ซึ่งบุคคลทั้งสองนี้จึงเปรียบเหมือนเป็นพ่อของพลายมงคลเลยก็ว่าได้
ภาพช้างพลาย
จาก http://www.dnp.go.th/multi_prov_forest/pic/66.jpg
ช้างไทยในแต่ละรัชกาล
ประเทศไทยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศ ปกครองมานานหลายรัชสมัย ซึ่งในการปกครองแต่ละรัชสมัยนั้นก็ได้มีช้างเข้ามาเกี่ยวข้อง ในการปกครองตั้งแต่สมัยโบราณจนกระทั่งปัจจุบันช้างถือว่าเป็นสัตว์ที่ช่วยเสริมบารมีของพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ตามความเชื่อในทางพระพุทธศาสนาที่ว่าพระพุทธเจ้าทรงเสวยราชย์เป็นพระยาช้างที่มีบุญบารมีมากว่า 500 ชาติ จึงถือได้ว่าช้างเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองของคนไทยเลยก็ว่าได้
กรุงสุโขทัย
ในศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวว่าพระเจ้ารามคำแหงมหาราชได้ชนช้างชนะขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด และยังมีอีกตอนที่กล่าวถึงช้างเผือกตัวโปรดของพระเจ้ารามคำแหงมหาราชที่ชื่อรุจาครี ซึ่งช้างเผือกตัวนี้ทรงให้แต่งด้วยเครื่องคชาภรณ์ แล้วทรงนำราษฎรออกบำเพ็ญกุศลตามพระอารามในอรัญญิกเมื่อครั้งที่ทรงครองกรุงสุโขทัย
กรุงศรีอยุธยา
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้มีช้างเผือกที่มีลักษณะพิเศษที่นำมาเป็นสัตว์คู่บารมีของพระมหากษัตริย์แต่ละรัชกาล
• ในสมัย สมเด็จพระอินทราชาที่ 2 ได้ช้างเผือกมา 1 เชือก
• ในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราชได้ปรากฏช้างเผือกที่ชื่อพระฉัททันต์ขึ้น
• ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ซึ่งถือได้ว่าเป็นรัชสมัยเริ่มต้นที่ให้ความสำคัญกับช้างเผือกมากที่สุด พร้อมทั้งยังมีช้างเผือกประจำรัชกาลนี้ถึง 7 เชือก คือ พระคเชนทโรดม พระรัตนากาศ พระแก้วทรงบาศ ช้างเผือกพังแม่และพังลูก พระบรมไกรสร พระสุริยกุญชร
• ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 (สมเด็จพระนารายณ์มหาราช) ได้ช้างเผือกมา 2 เชือก คือ พระอินทร์ไอยราวรรณ และ เจ้าพระยาบรมคเชนทรฉัททันต์
• ในสมัยสมเด็จพระมหาบุรุษ( พระเพทราชา) ได้ช้างเผือกมา 2 เชือก คือ พระอินทรไอราพต และ พระบรมรัตนากาศ
• ในสมัยสมเด็จพระสรรเพชญที่ 8 ( พระเจ้าเสือ ) ได้ช้างเผือกชื่อ พระบรมไตรจักร
• ในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 ( พระบรมโกศ )ได้ช้างเผือกมา 6 เชือก คือ พระวิเชียรหัสดิน พระบรมราชนาเคนทร พระบรมวิไชยคเชนทร พระบรมกุญชร พระบรมจักรพาลหัตถี พระบรมคชลักษณ์
กรุงธนบุรี
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ช้างพังเผือก ได้เมื่อครั้งนำกองทัพกรุงไปล้อมเมืองฝาง เจ้าฝางหนีพาช้างไปด้วย กองทัพติดตามได้ลูกช้างนำมาถวาย
กรุงรัตนโกสินทร์
• รัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ช้าง 10 เชือก คือ พระบรมไกรสร ( บวรสุประดิษฐ) พระบรมไกรสร ( บวรบุษปทันต์ ) พระอินทรไอยรา พระเทพกุญชร พระบรมฉัททันต์ พระบรมนัขมณี พระบรมคชลักษณ์ ( อรรคคเชนทร์ ) พระบรมนาเคนทร์ พระบรมคชลักษณ์ ( อรรคชาติดามพหัตถี ) พระบรมเมฆเอกทนต์
• รัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีช้าง 6 เชือก คือ พระยาเศวตกุญชร พระบรมนาเคนทร์ พระบรมหัศดิน พระบรมนาเคนทร์ ( คเชนทรธราธาร ) พระยาเศวตไอยรา พระยาเศวตคชลักษณ์
• รัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีช้างเผือกอยู่ 20 เชือก คือ พระบรมคชลักษณ์ พระบรมไอยรา พระบรมนาเคนทร์ พระบรมเอกทันต์ พระยามงคลหัสดิน พระยามงคลนาคินทร์ พระบรมไกรสร พระบรมกุญชร พังหงษาสวรรค์ พระนัขนาเคนทร์ พระบรมไอยเรศ พระบรมสังขทันต์ พระบรมคชลักษณ์ ( ศักดิสารจุมประสาท ) พระบรมนขาคเชนทร์ พระนาเคนทรนขา พระบรมทัศนขา ช้างพลายสีประหลาด พระบรมศุภราช พระยามงคลคชพงศ์ ช้างพลายกระจุดดำ
• รัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีช้าง 15 เชือก คือ พระบรมนัขสมบัติ พระวิมลรัตนกิริณี พระบรมคชรัตน พระวิสูตรรัตนกิริณี พระพิไชยนิลนัข พระพิไชยกฤษณาวรรณ พระศรีสกลกฤษณ์ พระมหาศรีเศวตวิมลวรรณ ช้างพังเผือกเอก พระเศวตสุวรรณาภาพรรณ ช้างพัง เผือกเอก พระเทวสยามมหาพิฆเนศวร ช้างสีประหลาด เจ้าพระยาปราบไตรจักร พระยาไชยานุภาพ
ภาพจำลองพระเศวตสุนทรสวัสดิ์
จาก http://www.csd.go.th/news/31012007/
ภาพ พระยาปราบไตรจักร
จาก http://www.csd.go.th/news/31012007/
• รัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีช้าง 19 เชือก คือ พระเศวตวรวรรณ พระมหารพีพรรณคชพงษ์ พระเศวตสุวภาพรรณ พระเทพคชรัตนกิริณี พระศรีสวัสดิเศวตวรรณ พระบรมทันตวรลักษณ์ พระเศวตวรลักษณ์ พระเศวตวรสรรพางค์ พระเศวตวิสุทธิเทพา พระเศวตสุนทรสวัสดิ์ พระเศวตสกลวโรภาศ พระเศวตรุจิราภาพรรณ พระเศวตวรนาเคนทร์ ช้างพลายเผือกเอก พระศรีเศวตวรรณิภา พระเศวตอุดมวารณ์ ช้างพลายสีประหลาด 2 เชือก เจ้าพระยาไชยานุภาพ
• รัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ช้าง พระเศวตวชิรพาหะ
• รัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ช้าง พระเศวตคชเดชน์ดิลก
ภาพพระเศวตคชเดช
จาก http://www.csd.go.th/news/31012007/
• รัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช มีช้างเผือก 10 เชือก คือ พระเศวตอดุลยเดชพาหน พระเศวตวรรัตนกรี พระเศวตสุรคชาธาร พระศรีเศวตศุภลักษณ์ พระเศวตศุทธวิลาศ พระวิมลรัตนกิริณี พระศรีนรารัฐราชกิริณี พระเศวตภาสุรคเชนทร์ พระเทพรัตนกิริณี พระบรมนขทัศ
ภาพพระเศวตอดุลยเดชพาหน
จาก http://www.csd.go.th/news/31012007/
ชีววิทยาของช้าง
ประเภทและสายพันธุ์
ช้างไทยในประวัติศาสตร์
13 มีนาคมวันช้างไทย
ประวัติเจียงไคเชค
เจียง ไคเชก (ภาษาจีนกลาง: เจี่ยง จงเจิ้ง หรือ เจี่ยง เจี้ยสือ: Chiang Kai-Shek, Jiǎng Zhōngzhèng, Jiǎng Jièshí) เกิดเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2430 (ค.ศ. 1887) จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยของญี่ปุ่นและกลับมาเป็นขุนศึกค้ำบัลลังก์ของ ดร. ซุน ยัตเซน ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) รวมอายุได้ 88 ปี มีวันเกิดตรงกับวันปล่อยผีของฝรั่ง (ฮาโลวีน) และมีวันตายตรงกับวันไหว้ผีของจีน (เช็งเม้ง)
เป็นผู้นำของจีนระหว่าง พ.ศ. 2471 ถึง พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1928) ถึง (ค.ศ. 1949) ต่อมาได้ไปตั้งรัฐบาลจีนคณะชาติที่ไต้หวัน เป็นผู้หนึ่งที่ร่วมอยู่ในการปฏิวัติ ปี พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) ต่อต้านรัฐบาลของหยวน ซื่อไข่ และตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) ได้เข้าร่วมรัฐบาลพรรคก๊กมินตั๋งของ ดร. ซุน ยัตเซน และเมื่อ ซุน ยัตเซน ถึงแก่อสัญกรรม ในปี พ.ศ. 2468 (ค.ศ. 1925) เจียง ไคเชกได้เป็นผู้นำพรรคแทน และพยายามรวบอำนาจในพรรคด้วยการกำจัดแกนนำพรรคคนอื่น ๆ ด้วยวิธีการต่าง ๆ ทั้งด้วยอำนาจทหารและอำนาจเงิน โดยมีการต่อท่อสายสัมพันธ์อันดีกับสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น กระทั่งสามารถยกตนเองก้าวขึ้นเป็นประธานาธิบดีของสาธารณรัฐจีน และได้รับยกย่องเป็นประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐจีนจากคำบรรยายใต้ภาพดังนี้ 「蔣公於民國三十七年當選中華民國第一任總統」 ในปี พ.ศ 2491 (ค.ศ. 1948)[ต้องการอ้างอิง]
เจียง ไคเชกย้ายที่ตั้งรัฐบาลไปอยู่เมืองหนานจิง (นานกิง) ซึ่งอยู่ใกล้กับภูมิลำเนาเดิมบ้านที่มณฑลเจ้อเจียง แต่จากปัญหาฉ้อราษฎร์บังหลวง และถูกซ้ำเติมด้วยการรุกรานของกองทัพญี่ปุ่นจนเกิดความเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า เป็นเหตุให้เกิดกลุ่มต่อต้านขึ้นมามากมายเพื่อโค่นล้มการปกครองของพรรคก๊กมินตั๋ง กลุ่มที่สำคัญที่สุดคือ พรรคคอมมิวนิสต์จีน (จงกว๋อก้งฉ่านต่าง) โดยมีเหมาเจ๋อตุง เป็นแกนนำสำคัญของพรรคนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2464 (ค.ศ. 1921) จนกระทั่งกลายเป้นสงครามกลางเมือง ระหว่างปี พ.ศ. 2470 ถึง พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1927) ถึง (ค.ศ. 1937) และระหว่างปี พ.ศ. 2489 ถึง พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1946) ถึง (ค.ศ. 1949) แต่บางครั้งทั้งสองฝ่ายก็หันมาร่วมมือกัน เช่น ในสงครามจีน-ญี่ปุ่น ระหว่างปี พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) ถึงปี พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) และในสงครามโลกครั้งที่สอง
โดยในช่วงหลังปี พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) การทำสงครามกับฝ่ายคอมมิวนิสต์ รัฐบาลเจียง ไคเชกเป็นฝ่ายแพ้ต้องอพยพไปตั้งรัฐบาลจีนคณะชาติที่ไต้หวันในปี พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาด้วยดีตลอดมาจนถึงปี พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) จีนคณะชาติที่ไต้หวันถึงถูกถอดออกจากการเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ เปิดทางให้สาธารณรัฐประชาชนจีนเข้าเป็นสมาชิกแทน
เป็นผู้นำของจีนระหว่าง พ.ศ. 2471 ถึง พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1928) ถึง (ค.ศ. 1949) ต่อมาได้ไปตั้งรัฐบาลจีนคณะชาติที่ไต้หวัน เป็นผู้หนึ่งที่ร่วมอยู่ในการปฏิวัติ ปี พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) ต่อต้านรัฐบาลของหยวน ซื่อไข่ และตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) ได้เข้าร่วมรัฐบาลพรรคก๊กมินตั๋งของ ดร. ซุน ยัตเซน และเมื่อ ซุน ยัตเซน ถึงแก่อสัญกรรม ในปี พ.ศ. 2468 (ค.ศ. 1925) เจียง ไคเชกได้เป็นผู้นำพรรคแทน และพยายามรวบอำนาจในพรรคด้วยการกำจัดแกนนำพรรคคนอื่น ๆ ด้วยวิธีการต่าง ๆ ทั้งด้วยอำนาจทหารและอำนาจเงิน โดยมีการต่อท่อสายสัมพันธ์อันดีกับสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น กระทั่งสามารถยกตนเองก้าวขึ้นเป็นประธานาธิบดีของสาธารณรัฐจีน และได้รับยกย่องเป็นประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐจีนจากคำบรรยายใต้ภาพดังนี้ 「蔣公於民國三十七年當選中華民國第一任總統」 ในปี พ.ศ 2491 (ค.ศ. 1948)[ต้องการอ้างอิง]
เจียง ไคเชกย้ายที่ตั้งรัฐบาลไปอยู่เมืองหนานจิง (นานกิง) ซึ่งอยู่ใกล้กับภูมิลำเนาเดิมบ้านที่มณฑลเจ้อเจียง แต่จากปัญหาฉ้อราษฎร์บังหลวง และถูกซ้ำเติมด้วยการรุกรานของกองทัพญี่ปุ่นจนเกิดความเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า เป็นเหตุให้เกิดกลุ่มต่อต้านขึ้นมามากมายเพื่อโค่นล้มการปกครองของพรรคก๊กมินตั๋ง กลุ่มที่สำคัญที่สุดคือ พรรคคอมมิวนิสต์จีน (จงกว๋อก้งฉ่านต่าง) โดยมีเหมาเจ๋อตุง เป็นแกนนำสำคัญของพรรคนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2464 (ค.ศ. 1921) จนกระทั่งกลายเป้นสงครามกลางเมือง ระหว่างปี พ.ศ. 2470 ถึง พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1927) ถึง (ค.ศ. 1937) และระหว่างปี พ.ศ. 2489 ถึง พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1946) ถึง (ค.ศ. 1949) แต่บางครั้งทั้งสองฝ่ายก็หันมาร่วมมือกัน เช่น ในสงครามจีน-ญี่ปุ่น ระหว่างปี พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) ถึงปี พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) และในสงครามโลกครั้งที่สอง
โดยในช่วงหลังปี พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) การทำสงครามกับฝ่ายคอมมิวนิสต์ รัฐบาลเจียง ไคเชกเป็นฝ่ายแพ้ต้องอพยพไปตั้งรัฐบาลจีนคณะชาติที่ไต้หวันในปี พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาด้วยดีตลอดมาจนถึงปี พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) จีนคณะชาติที่ไต้หวันถึงถูกถอดออกจากการเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ เปิดทางให้สาธารณรัฐประชาชนจีนเข้าเป็นสมาชิกแทน
ประวัติดาวดึงส์
ประวัติที่มา
ระบำดาวดึงส์ เป็นการแสดงมาตรฐานที่เป็นแบบฉบับของไทยอีกชุดหนึ่ง ซึ่งสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ได้ทรงนิพนธ์บทร้องขึ้นประกอบการแสดงในบทละครดึกดำบรรพ์ เรื่องสังข์ทอง ตอนที่ 2 ตอนตีคลี ฉากดาวดึงส์ ในฉากนี้มีพระอินทร์กับพระมเหสีประทับอยู่บนแท่น พระวิศณุกรรม และพระมาตุลี นั่งอยู่ชั้นลดสองข้าง พวกคนธรรพ์ประจำเครื่องดนตรีอยู่ด้านหน้า เหล่าเทวดานางฟ้านั่งเข้าเฝ้าสองข้าง เริ่มเปิดฉากเหล่าเทวดานางฟ้าก็จับระบำถวา
ระบำดาวดึงส์ เป็นการแสดงมาตรฐานที่เป็นแบบฉบับของไทยอีกชุดหนึ่ง ซึ่งสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ได้ทรงนิพนธ์บทร้องขึ้นประกอบการแสดงในบทละครดึกดำบรรพ์ เรื่องสังข์ทอง ตอนที่ 2 ตอนตีคลี ฉากดาวดึงส์ ในฉากนี้มีพระอินทร์กับพระมเหสีประทับอยู่บนแท่น พระวิศณุกรรม และพระมาตุลี นั่งอยู่ชั้นลดสองข้าง พวกคนธรรพ์ประจำเครื่องดนตรีอยู่ด้านหน้า เหล่าเทวดานางฟ้านั่งเข้าเฝ้าสองข้าง เริ่มเปิดฉากเหล่าเทวดานางฟ้าก็จับระบำถวา
ประวัติตะก้อ
เมนู
ประวัติกีฬาตะกร้อ
ประวัติตะกร้อ ที่มาที่ไป กีฬาตะกร้อ
ในการค้นคว้าหาหลักฐานเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดการกีฬาตะกร้อในอดีตนั้น ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้อย่างชัดเจนว่ากีฬาตะกร้อนั้นกำเนิดจากที่ใด
จากการสันนิษฐานคงจะได้หลายเหตุผลดังนี้
ประเทศพม่า เมื่อประมาณ พ.ศ. 2310 พม่ามาตั้งค่ายอยู่ที่โพธิ์สามต้น ก็เลยเล่นกีฬาตะกร้อกัน ซึ่งทางพม่าเรียกว่า “ชิงลง”
ทางมาเลเซียก็ประกาศว่า ตะกร้อเป็นกีฬาของประเทศมาลายูเดิมเรียกว่า ซีปักรากา (Sepak Raga) คำว่า Raga หมายถึง ตะกร้า
ทางฟิลิปปินส์ ก็นิยมเล่นกันมานานแล้วแต่เรียกว่า Sipak
ทางประเทศจีนก็มีกีฬาที่คล้ายกีฬาตะกร้อแต่เป็นการเตะตะกร้อชนิดที่เป็นลูกหนังปักขนไก่ ซึ่งจะศึกษาจากภาพเขียนและพงศาวดารจีน ชาวจีนกวางตุ้งที่เดินทางไปตั้งรกรากในอเมริกาได้นำการเล่นตะกร้อขนไก่นี้ไปเผยแพร่ แต่เรียกว่าเตกโก (Tek K’au) ซึ่งหมายถึงการเตะลูกขนไก่
ประเทศเกาหลี ก็มีลักษณะคล้ายกับของจีน แต่ลักษณะของลูกตะกร้อแตกต่างไป คือใช้ดินเหนียวห่อด้วยผ้าสำลีเอาหางไก่ฟ้าปัก
ประเทศไทยก็นิยมเล่นกีฬาตะกร้อมายาวนาน และประยุกต์จนเข้ากับประเพณีของชนชาติไทยอย่างกลมกลืนและสวยงามทั้งด้านทักษะและความคิด
ข้อมูลจาก
http://www.yimsiam.com
ประวัติ ในประเทศไทย
ในสมัยโบราณนั้นประเทศไทยเรามีกฎหมายและวิธีการลงโทษผู้กระทำความผิด โดยการนำเอานักโทษใส่ลงไปในสิ่งกลมๆที่สานด้วยหวายให้ช้างเตะ แต่สิ่งที่ช่วยสนับสนุนประวัติของตะกร้อได้ดี คือ ในพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนาของรัชกาลที่ 2 ในเรื่องมีบางตอนที่กล่าวถึงการเล่นตะกร้อ และที่ระเบียงพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเขียนเรื่องรามเกียรติ์ ก็มีภาพการเล่นตะกร้อแสดงไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้รับรู้
โดยภูมิศาสตร์ของไทยเองก็ส่งเสริมสนับสนุนให้เราได้ทราบประวัติของตะกร้อ คือประเทศของเราอุดมไปด้วยไม้ไผ่ หวายคนไทยนิยมนำเอาหวายมาสานเป็นสิ่งของเครื่องใช้ รวมถึงการละเล่นพื้นบ้านด้วย อีกทั้งประเภทของกีฬาตะกร้อในประเทศไทยก็มีหลายประเภท เช่น ตะกร้อวง ตะกร้อลอดห่วง ตะกร้อชิงธงและการแสดงตะกร้อพลิกแพลงต่างๆ ซึ่งการเล่นตะกร้อของประเทศอื่นๆนั้นมีการเล่นไม่หลายแบบหลายวิธีเช่นของไทยเรา การเล่นตะกร้อมีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องมาตามลำดับทั้งด้านรูปแบบและวัตถุดิบในการทำจากสมัยแรกเป็นผ้า , หนังสัตว์ , หวาย , จนถึงประเภทสังเคราะห์ ( พลาสติก )
ความหมาย คำว่าตะกร้อ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ . ศ . 2525 ได้ให้คำจำกัดความเอาไว้ว่า ” ลูกกลมสานด้วยหวายเป็นตา สำหรับเตะ “
วิวัฒนาการการเล่น
การเล่นตะกร้อได้มีวิวัฒนาการในการเล่นมาอย่างต่อเนื่อง ในสมัยแรกๆ ก็เป็นเพียงการช่วยกันเตะลูกไม่ให้ตกถึงพื้นต่อมาเมื่อเกิดความชำนาญและหลีกหนีความจำเจ ก็คงมีการเริ่มเล่นด้วยศีรษะ เข่า ศอก ไหล่ มีการจัดเพิ่มท่าให้ยากและสวยงามขึ้นตามลำดับ จากนั้นก็ตกลงวางกติกาการเล่นโดยเอื้ออำนวยต่อผู้เล่นเป็นส่วนรวม อาจแตกต่างไปตามสภาพภูมิประเทศของแต่ละพื้นที่ แต่คงมีความใกล้เคียงกันมากพอสมควร
ตะกร้อนั้นมีมากมายหลายประเภท เช่น
- ตะกร้อข้ามตาข่าย – ตะกร้อลอดบ่วง – ตะกร้อพลิกแพลงเป็นต้น
เมื่อมีการวางกติกาและท่าทางในการเล่นอย่างลงตัวแล้วก็เริ่มมีการแข่งขันกันเกิดขึ้นในประเทศไทยตาม
ประวัติของการกีฬาตะกร้อตั้งแต่อดีตที่ได้บันทึกไว้ดังนี้
พ . ศ . 2472 กีฬาตะกร้อเริ่มมีการแข่งขันครั้งแรกภายในสมาคมกีฬาสยาม
พ . ศ . 2476 สมาคมกีฬาสยามประชุมจัดร่างกติกาในการแข่งขันกีฬาตะกร้อข้ามตาข่ายและเปิดให้มีการแข่งขันในประเภทประชาชนขึ้นเป็นครั้งแรก
พ . ศ . 2479 ทางการศึกษาได้มีการเผยแพร่จัดฝึกทักษะในโรงเรียนมัธยมชายและเปิดให้มีแข่งขันด้วย
พ . ศ . 2480 ได้มีการประชุมจัดทำแก้ไขร่างกฎระเบียบให้สมบูรณ์ขึ้น โดยอยู่ในความควบคุมดูแลของ เจ้าพระยาจินดารักษ์ และกรมพลศึกษาก็ได้ออกประกาศรับรองอย่างเป็นทางการ
พ . ศ . 2502 มีการจัดการแข่งขันกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 1 ขึ้นที่กรุงเทพฯ มีการเชิญนักตะกร้อชาวพม่ามาแสดงความสามารถในการเล่นตะกร้อพลิกแพลง
พ . ศ . 2504 กีฬาแหลมทองครั้งที่ 2 ประเทศพม่าได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพในการแข่งขัน นักตะกร้อของไทยก็ได้ไปร่วมแสดงโชว์การเตะตะกร้อแบบพลิกแพลงด้วย
พ . ศ . 2508 กีฬาแหลมทองครั้งที่ 3 จัดขึ้นที่ประเทศมาเลเซีย ได้มีการบรรจุการเตะตะกร้อ 3 ประเภท เข้าไว้ในการแข่งขันด้วยก็คือ
- ตะกร้อวง – ตะกร้อข้ามตาข่าย – ตะกร้อลอดบ่วง
อีกทั้งมีการจัดประชุมวางแนวทางด้านกติกาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อสะดวกในการเล่นและการเข้าใจของผู้ชมในส่วนรวมอีกด้วย
พอเสร็จสิ้นกีฬาแหลมทองครั้งที่ 3 กีฬาตะกร้อได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นอันมาก บทบาทของประเทศมาเลเซียก็เริ่มมีมากขึ้น จากการได้เข้าร่วมในการประชุมตั้งกฎกติกากีฬาตะกร้อประเภทข้ามตาข่าย หรือที่เรียกว่า ” เซปักตะกร้อ ” และส่งผลให้กีฬาตะกร้อข้ามตาข่าย ได้รับการบรรจุเข้าในการแข่งขันกีฬาแหลมทองครั้งที่ 4 จนถึงปัจจุบัน
กติกากีฬาตะกร้อลอดห่วง
ของ สมาคมตะกร้อแห่งประเทศไทย
ฉบับปรับปรุง-แก้ไขใหม่ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2546
ให้เริ่มใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547
____________________________________________________
1. สนามแข่งขัน
สนามเป็นพื้นราบ จะอยู่ในร่มหรือกลางแจ้งก็ได้ วัดจากพื้นสนามขึ้นไปอย่างน้อยประมาณ 8 เมตร ต้องไม่มีสิ่งกีดขวางใดๆ และให้มีวงกลมรัศมี 2 เมตร จากจุดศูนย์กลางสนาม ความกว้างของเส้นวงกลม มีความกว้าง 4เซนติเมตร มีห่วงชัยแขวนอยู่ ณ จุดศูนย์กลางของวงกลม โดยเชือกที่แขวนห่วง มีความยาวจากรอกไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร
2. ห่วงชัย
ห่วงชัยประกอบด้วยวงกลม 3 ช่อง ขนาดเท่ากัน มีเส้นผ่าศูนย์กลางวัดจากภายใน กว้าง 45 เซนติเมตร ห่วงทั้ง 3 นี้ จะทำด้วย โลหะ หวาย หรือไม้ ก็ได้ แต่ต้องผูกหรือบัดกรีติดกันแน่นเป็นรูป 3 เส้า วงห่วงแต่ละห่วงตั้งตรง และหุ้มด้วยวัสดุที่มีความนุ่มแล้ว วัดโดยรอบไม่เกิน 10 เซนติเมตร และมีถุงตาข่ายทำด้วยด้ายสีขาว ผูกรอบห่วงทุกห่วง
ห่วงชัย ต้องแขวนกลางสนาม ขอบล่างของห่วงชัย ต้องได้ระดับสูงจากพื้นสนาม ดังนี้
– ประเภทเยาวชนอายุไม่เกิน 18 ปี และหญิง ความสูงของห่วงชัย 5.50 เมตร
– ประเภทประชาชน ความสูงของห่วงชัย 5.70 เมตร
3. ตะกร้อที่ใช้แข่งขัน
ตะกร้อให้สานด้วยหวาย 9-11 เส้น หรือผลิตด้วยใยสังเคราะห์ ซึ่งให้มีขนาดและน้ำหนัก ดังนี้
- ประเภทเยาวชนอายุไม่เกิน 18 ปี และหญิง ขนาดเส้นรอบวง ไม่น้อยกว่า 40 เซนติเมตร และน้ำหนักไม่เกิน 200 กรัม
- ประเภทประชาชน ขนาดเส้นรอบวงไม่น้อยกว่า 40 เซนติเมตร และน้ำหนักไม่เกิน 240 กรัม
4. ให้ฝ่ายจัดการแข่งขัน จัดลูกตะกร้อไว้ ให้ผู้เข้าแข่งขัน ในกรณีที่ผู้เข้าแข่งขันนำลูกตะกร้อมาเอง จะต้องผ่านการตรวจสอบจากคณะกรรมการฯ ก่อนการแข่งขันทุกครั้ง หากลูกตะกร้อที่นำมาเองไม่ถูกต้องตามกติกา ต้องใช้ลูกตะกร้อที่คณะกรรมการฯ จัดไว้ ทำการแข่งขัน
5. กรรมการผู้ตัดสิน
ต้องมีผู้ตัดสินอย่างน้อย 3 คน ให้ทำหน้าที่ บันทึกคะแนน, รักษาเวลา, ประกาศคะแนน และผู้ชี้ขาด
6. ทีมที่เข้าแข่งขัน
6.1 ให้ส่งรายชื่อเข้าทำการแข่งขันได้ไม่เกิน 8 คน มีผู้เล่นเข้าทำการแข่งขัน 7 คน หากทีมใดมีผู้เล่นไม่ถึง 6 คน ไม่มีสิทธิ์เข้าแข่งขันในครั้งนั้น โดยให้ส่งรายชื่อก่อนการแข่งขัน 30 นาที
6.2 ในระหว่างแข่งขัน สามารถเปลี่ยนตัวผู้เล่นได้ ซึ่งจะเปลี่ยนเวลาใดก็ได้ โดยผู้จัดการทีม ต้องยื่นขอต่อกรรมการผู้ชี้ขาด เมื่อลูกตะกร้อไม่ได้อยู่ในการเล่น (ลูกตาย) ซึ่งแต่ละทีมสามารถเปลี่ยนตัวผู้เล่นได้เพียง 1 คน โดยผู้ที่เปลี่ยนตัวเข้าไปใหม่ จะต้องไม่เล่น ในท่าที่ผู้เล่นเดิมทำครบแล้ว 2 ครั้ง และผู้ที่ถูกเปลี่ยนตัวออกไปแล้ว จะไม่อนุญาตให้เปลี่ยนตัวกลับคืนได้อีก
6.3 ผู้เล่นทุกคนต้องติดหมายเลขที่เสื้อด้านหน้า และด้านหลังอย่างเรียบร้อยด้วยตัวเลขที่อ่านง่าย สีของหมายเลขต้องตัดกับสีของเสื้อ หมายเลขด้านหลังต้องสูงไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร โดยผู้เล่นทีมเดียวกันจะใช้หมายเลขซ้ำกันไม่ได้
6.4 เครื่องแต่งกายของผู้เล่น
สำหรับผู้ชายต้องสวมเสื้อยืด กางเกงขาสั้น ส่วนผู้หญิง ให้สวมเสื้อยืดมีแขน และกางเกงขาสั้นระดับเข่า สวมใส่รองเท้าพื้นยาง (ถุงเท้าด้วย) กรณีที่อากาศหนาวอนุญาตให้ผู้เล่นสวมใส่ชุดวอร์มแข่งขันได้
6.4.1 ส่วนต่างๆ ของเครื่องแต่งกายของผู้เล่นถือเป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย และชายเสื้อต้องอยู่ในกางเกงตลอดเวลาการแข่งขัน
6.4.2 สิ่งใดก็ตามที่จะช่วยเร่งความเร็วของลูกตะกร้อ หรือช่วยในการเคลื่อนที่ของผู้เล่น ไม่อนุญาตให้ใช้
6.5 เมื่อถึงเวลาการแข่งขัน คณะกรรมการจัดการแข่งขัน จะเริ่มจับเวลา โดยให้ถือเป็นเวลาของการแข่งขันของทีมนั้นๆ หากทีมนั้นพร้อมเมื่อใด ก็ให้ทำการแข่งขันตามเวลาที่เหลืออยู่ แต่เมื่อเวลาผ่านไป 10 นาทีแล้ว ยังไม่สามารถลงสนามแข่งขันหรือยังไม่พร้อมทำการแข่งขัน ให้ทีมนั้นหมดสิทธิ์ในการแข่งขันครั้งนั้นๆ โดยไม่มีอุทธรณ์
7. กำหนดเวลาการแข่งขัน
7.1 ให้ใช้เวลาในการแข่งขัน 40 นาที เมื่อเวลาการแข่งขันผ่านไปครึ่งเวลา (20 นาที) กรรมการต้องประกาศให้ทราบทั้งเวลาและคะแนนที่ทำได้
7.2 ผู้เข้าแข่งขันในทีมใดเกิดอุบัติเหตุขึ้นในระหว่างการแข่งขันอยู่ และไม่สามารถทำการแข่งขัน ให้ขออนุญาตจากกรรมการผู้ตัดสินออกจากสนามชั่วคราวได้
7.3 หากนักกีฬาทีมที่บาดเจ็บนั้น จะกลับเข้าทำการแข่งขันต่อไปอีก ให้ขออนุญาตต่อกรรมการผู้ตัดสินก่อนทุกครั้ง ทั้งนี้ ต้องให้เป็นไปตาม ข้อ 6.1
8. การแข่งขัน
8.1 ให้ผู้เล่น ยืนเป็นรูปวงกลม เว้นระยะห่างกันพอสมควร ในระหว่างการแข่งขันผู้เล่นจะสลับเปลี่ยนที่กันก็ได้
8.2 เมื่อผู้ตัดสินให้สัญญาณเริ่มการแข่งขัน ให้ผู้เล่นคนใดคนหนึ่งโยนลูกตะกร้อให้แก่คู่หนึ่งหรือคู่สองของตน ต่อจากนั้นไป เมื่อลูกตาย ผู้เล่นใดถูกลูกก่อนจะต้องเป็นผู้โยน และต้องโยนให้คู่หนึ่งหรือคู่สองของตน เพื่อเล่นต่อไปทุกคราว โดยผู้โยนและผู้รับลูกโยน ต้องอยู่นอกวงกลม
8.3 เมื่อลูกตายแล้ว จะเปลี่ยนลูกตะกร้อก็ได้
8.4 ในการโต้ลูก ห้ามไม่ให้ผู้เล่นใช้มือ ถ้าผู้เล่นใช้มือจับลูก ผู้เล่นที่ใช้มือจับลูกต้องโยนลูกให้คู่ของตนเตะแล้วปล่อยให้ลูกตายก่อน จึงนำลูกมาโยนเพื่อเล่นต่อไปได้
8.5 กรณีต่อไปนี้ให้ถือเป็นลูกตาย ให้โยนใหม่
(1) ลูกตกถึงพื้นสนาม
(2) ลูกถูกมือผู้เล่น ยกเว้นกรณีที่ผู้เล่นเตะลอดบ่วงมือ แล้วลูกกระทบบ่วงมือนั้น
(3) ลูกติดกับห่วงชัย
(4) ลูกถูกวัตถุใดๆ ที่ไม่ใช่อุปกรณ์ตะกร้อลอดห่วง
8.6 ถ้าลูกโต้ยังดีอยู่เข้าห่วง หรือลูกตะกร้อที่หวายขาดไปเกี่ยวกับตาข่าย และค้างอยู่ภายในรัศมีวงกลมห่วงชัย ให้กรรมการผู้ตัดสินให้คะแนนตามลักษณะของท่าที่กำหนดในข้อ 8.เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้
(1) ผู้เล่นโต้ลูกโยนไปเข้าห่วง
(2) ผู้เล่นถูกลูกเข้าห่วงภายหลังสัญญาณหมดเวลา
(3) ลูกเข้าห่วงแล้วกระดอนออก
(4) ผู้เล่นคนใดเตะลูกเข้าห่วง ซ้ำท่าเกินกว่า 2 ครั้ง
9. การให้คะแนนของท่าการเล่น
ลำดับ
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
18
20
21
22
23
24
25
26
27
ท่าการเล่น
ลูกด้านหน้า
ลูกหน้าเท้า (ลูกแป)
ลูกหลังเท้า
ลูกไขว้หน้าด้วยหลังเท้า
ลูกแข้ง
ลูกเข่า
ลูกไขว้หน้าด้วยเข่า
ลูกไหล่
ลูกศีรษะ (โหม่ง)
ลูกด้านข้าง
ลูกข้าง
ลูกข้างบ่วงมือ
ลูกไขว้
ลูกไขว้บ่วงมือ
ลูกส้นไขว้
ลูกส้นไขว้บ่วงมือ
ลูกกระโดดไขว้ (ขึ้นม้า)
ลูกกระโดดไขว้บ่วงมือ (ขึ้นม้าบ่วงมือ)
ลูกตัดไขว้
ลูกด้านหลัง
ลูกศอกหลัง
ลูกตบหลัง
ลูกข้างหลัง
ลูกข้างหลังบ่วงมือ
ลูกแทงส้นตรงหลัง
ลูกแทงส้นตรงหลังบ่วงมือ
ลูกตบหลังบ่วงมือ
ลูกตบหลังสองเท้าพร้อมกัน
ลูกกระโดดพับหลังตบ
ลูกกระโดดพับหลังตบบ่วงมือ
คะแนน
10
15
30
15
15
20
10
10
10
15
15
25
20
30
10
15
25
15
20
20
25
30
40
30
50
40
50
10. การตัดสิน
10.1 ทีมใดได้คะแนนมากที่สุด ทีมนั้นชนะ
10.2 ถ้าได้คะแนนเท่ากัน ทีมใดได้จำนวนครั้งที่เข้าห่วงมากกว่า ทีมนั้นชนะ
10.3 ถ้าได้คะแนน และจำนวนครั้งที่เข้าห่วงเท่ากัน ทีมใดได้เข้าห่วงด้วยท่าที่คะแนนสูง
กว่า ทีมนั้นชนะ
10.4 ถ้าทั้งหมดดังกล่าวเท่ากัน ให้เป็นไปตามระเบียบของการแข่งขันครั้งนั้นๆ
ตะกร้อ : แนะนำอุปกรณ์ตะกร้อ – กติกา การเล่นตะกร้อ
กติกา
กติกาเซปักตะกร้อ
( SEP AKTAKRAN RULES & REGULATIONS )
ข้อที่ 1. สนามแข่งขัน ( THE COURT )
1.1 พื้นที่ของสนามมีความยาว 13.40 เมตร และกว้าง 6.10 เมตร จะต้องไม่มีสิ่งกีดขวางใดๆ เมื่อวัดจากพื้นสนามสูงขึ้นไป 8 เมตร (พื้นสนามไม่ควรเป็นสนามหญ้าหรือสนามทราย )
1.2 เส้นสนาม ขนาดของเส้นสนามทุกเส้นที่เป็นขอบเขตของสนามต้องไม่กว้างกว่า 4 เซนติเมตร ให้ตีเส้นจากกรอบนอกเข้ามาในสนามและถือเป็นส่วนของพื้นที่สนามแข่งด้วย เส้นเขตสนามทุกเส้นต้องห่างจากสิ่งกีดขวางอย่างน้อย 3 เมตร
1.3 เส้นกลาง มีขนาดกว้างของเส้น 2 เซนติเมตร โดยจะแบ่งพื้นที่ของสนามออกเป็นด้านซ้ายและด้านขวาเท่าๆกัน
1.4 เส้นเสี้ยววงกลม ที่มุมสนามของแต่ละด้านตรงเส้นกลางให้จุดศูนย์กลางอยู่ที่กึ่งกลางของเส้นกลางตัดกับขอบด้านในของเส้นข้างเขียนเส้นเสี้ยววงกลมทั้งสอง ด้านรัศมี 90 เมตร ให้ตีเส้นขนาดความกว้าง 4 เซนติเมตร นอกเขตรัศมี 90 เซนติเมตร
1.4 เส้นเสี้ยววงกลม ที่มุมของสนามของแต่ละด้านตรงเส้นกลางให้จุดศูนย์กลางอยู่ที่ก่งกลางของเส้นกลางตัดกับขอบด้านในของเส้นข้าง เขียนเส้นเสี้ยววงกลมทั้งสองด้านรัศมี 90 เซนติเมตร ให้ตีเส้นนขนาดความกว้าง 4 เซนติเมตร นอกรัศมี 90 เซนติเมตร
1.5 วงกลมเสิร์ฟ ให้รัศมี 30 เซนติเมตร โดยวัดจากจุดกงกลางของเส้นหลังไปในสนาม 2.45 เมตร และวัดจากขอบด้านนอกของเส้นข้างไปในสนาม 3.05 เมตร แ ละวัดจากขอบด้านนอกของเส้นข้างเข้าไปในสนาม 3.05 เมตร ใช้ตรงจุดตัดจากเส้นหลังและเส้นข้างเป็นจุดศูนย์กลาง ให้เขียนเส้นวงกลมขนาดความกว้าง 4 เซนติเมตร นอกเขตรัศมี 30 เซนติเมตร ( ดูรูปขนาดสนามจากภาคผนวก )
ข้อที่ 2. เสา ( THE POSTS )
2.1 เสามีความสูง 1.55 เมตร ( ผู้หญิง 1.45 เมตร ) ตั้งอยู่อย่างมั่นคงพอที่จะทำให้ตาข่ายตึง โดยต้องทำจากวัสดุที่มีความแข็งแกร่งและมีรัศมีไม่เกิน 4 เซนติเมตร
2.2 ตำแหน่งของเสา ให้ตั้งหรือวางไว้อย่างมั่นคงนอกสนามตรงกับแนวเส้นกลาง ห่างจากเส้นข้าง 30 เซนติเมตร
ข้อที่ 3. ตาข่าย ( THE NET )
3.1 ตาข่ายให้ทำด้วยเชือกอย่างดีหรือไนล่อน มีรูตาข่ายกว้าง 6 – 8 เซนติเมตร ความกว้างของผืนตาข่าย 70 เซนติเมตร และความยาวไม่น้อยกว่า 6.10 เมตร ให้มีวัสดุที่ทำเป็นแถบ ขนาดความกว้าง 5 เซนติเมตร ตรงด้านข้างของตาข่ายทั้งสองด้านจากด้านบนถึงด้านล่างตรงกับแนวเส้นข้างซึ่งเรียกว่า “แถบแสดงเขตสนาม”
3.2 ตาข่ายให้มีขนาดความกว้าง 5 ซนติเมตร ทั้งด้านบนและด้านล่าง โดยมีเชือกธรรมดาหรือเชือก ไนล่อนอย่างดี ร้อยผ่านแถบและขึงตาข่ายให้ตึงเสมอระดับหัวเสา ความสูงของตาข่ายโดยวัดจากพื้นถึงส่วนบนของตาข่ายที่กึ่งกลางสนามมีความสูง 1.52 เมตร ( ผู้หญิง 1.42 เมตร ) และวัดตรงเสาทั้งสองด้านมีความสูง 1.55 เมตร ( ผู้หญิง 1.45 เมตร )
ข้อที่ 4 ลูกตะกร้อ ( THE SEPAKTRAKRAW BALL’ )
ลูกตะกร้อต้องมีลักษณะเป็นทรงกลม ทำด้วยหวายหรือใยสงเคราะห์ชั้นเดียวมี 12 รู กับ 20 จุดตัดไขว้ หากทำด้วยหวายต้องมีจำนวน 9 – 11 เส้น ขนดของเส้นรอบวงต้องไม่น้อยกว่า 42 เซนติเมตร และไม่มากกว่า 44 เซนติเมตร ( ผู้หญิง 43 – 45 เซนติเมตร) น้ำหนักก่อนใช้แข่งขันต้องไม่น้อยกว่า 170 กรัม และไม่เกินกว่า 180 กรัม ( ผู้หญิง 150 – 160 กรัม )
ข้อที่ 5 ผู้เล่น ( THE PLAYERS )
5.1 การแข่งขันมี 2 ทีม ประกอบด้วยผู้เล่นฝ่ายละ 3 คน
5.2 ผู้เล่นหนึ่งในสามคนจะเป็นผู้ เสิร์ฟลูกและอยู่ด้านหลังเรียกว่า “ผู้เสิร์ฟ” “Server ( Tekong )”
5.3 ผู้เล่นอีกสองคนอยู่ด้านหน้า โดยคนหนึ่งจะอยู่ด้านซ้ายเรียกว่า “หน้าซ้าย” ( left inside ) และคนที่อยู่ด้านขวาเรียกว่า “หน้าขวา” ( night inside )
ข้อที่ 6. เครื่องแต่งกายของผู้เล่น ( PLAYER ATTIRE)
6.1 สำหรับผู้ชายต้องสวมเสื้อยืด กางเกงขาสั้น ( สำหรับผู้หญิงให้สวมเสื้อยืดมีแขนและกางเกงขาสั้นระดับเข่า ) และรองเท้ากีฬาพื้นยาง ( ถุงเท้าด้วย ) ห้ามผู้เล่นสวมสิ่งอื่นใดที่จะเป็นอันตรายแก่ฝ่ายตรงข้ามในระหว่างการแข่งขัน กรณีที่อากาศหนาวอนุญาตให้ผู้เล่นสวมชุดวอร์มแข่งขันได้
6.2 ส่วนต่างๆของเครื่องแต่งกายของผู้เล่นถือเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายและชายเสื้อจะต้องอยู่ในกางเกงตลอดเวลาการแข่งขัน
6.3 สิ่งใดก็ตามที่จะช่วยเร่งความเร็วของลูกตะกร้อ หรือช่วยในการเคลื่อนที่ของผู้เล่นไม่อนุญาตให้ใช้
6.4 หัวหน้าทีม ( captian) จะต้องใส่ปลอกแขน ที่แขนเสื้อด้านซ้าย
6.5 เสื้อของผู้เล่นทุกคนจะต้องติดหมายเลขด้านหลังให้เห็นได้ชัดเจนให้แต่ละทีมใช้หมายเลข 1 – 15 เท่านั้น มีขนาดความสูงไม่น้อยกว่า 19 เซนติเมตร ซึ่งกำหนดให้ผู้เล่นจะต้องมีเพียงหมายเลขเดียวตลอดการแข่งขัน ( tournament )
ข้อที่ 7. การเปลี่ยนตัวผู้เล่น ( SUBSTITUTION )
7.1ผู้เล่นคนใดที่ได้ลงแข่งขันในแต่ละทีม หรือได้เปลี่ยนตัวไปแล้วจะไม่อนุญาตให้ลงแข่งในทีม ( regu )อื่นๆอีก สำหรับการแข่งขันประเภททีมชุด ( team ) เฉพาะครั้งนั้นๆ
7.2 การเปลี่ยนตัวผู้เล่นจะกระทำเวลาใดก็ได้ โดยผู้จัดการทีมยื่นขอต่อกรรมการผู้ชี้ขาด เมื่อลูกตะกร้อไม่ได้อยู่ในการเล่น ( ลูกตาย )
7.3 แต่ละทีม ( regu ) มีผู้เล่นสำรองไม่เกิน 2 คน แต่อนุญาต ให้เปลี่ยนตัวผู้เล่นได้ 1 คนเท่านั้น
7.4 ผู้เล่นคนใดถูกผู้ตัดสินให้ออกจากการแข่งขัน จะได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนตัวผู้เล่นได้ ถ้าหากว่ายังมิได้มีการเปลี่ยนตัว
7.5 ทีมใด ( regu ) มีผู้เล่นน้อยกว่า 3 คน จะไม่อนุญาตให้ทำการแข่งขันและปรับทีมนั้นเป็นแพ้การแข่งขัน
ข้อที่ 8 เจ้าหน้าที่ ( OFFICIALS )
กีฬาเซปักตะกร้อ มีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการแข่งขันดังต่อไปนี้
8.1 กรรมการผู้ชี้ขาด 1 คน
8.2 กรรมการผู้ตัดสิน 2 คน ( ผู้ตัดสิน 1 คนผู้ช่วยผู้ตัดสิน 1 คน )
8.3 กรรมการผู้กำกับเส้น 6 คน ( กำกับเส้นข้าง 4 คน และกำกับเส้นหลัง 2 คน
ข้อที่ 9. การเสี่ยงและการอบอุ่นร่างกาย ( THE COIN TOSS AND WARM UP )
ก่อนเริ่มการแข่งขันกรรมการผู้ตัดสินจะทำการเสี่ยง ผู้ชนะการเสี่ยงมีสิทธิ์เลือกลูกส่ง หรือเลือกแดนก็ได้ ทีมที่ชนะการเสี่ยงจะเป็นทีมที่อบอุ่นร่างกายในสนามก่อนเป็นเวลา 2 นาที แล้วตามด้วยทีมที่เหลืออยู่ด้วย
ตะกร้อที่ใช้ในการแข่งขัน และให้มีบุคคลอยู่ในสนามได้ 5 คนเท่านั้น ( ผู้เล่นตัวจริง 3 คน และหรือ ผู้จัดการทีม ผู้ฝึกสอนและผู้เล่นสำรอง )
ข้อที่ 10. ตำแหน่งของผู้เล่นระหว่างการส่งลูก ( OSITION OF PLAYERS DURING SERVICE )
10.1 เมื่อเริ่มผู้เล่นทั้งสองทีม ( both regus ) ต้องยืนอยู่ในที่ที่กำหนไว้ในแดนของตน ลักษณะที่เตรียมพร้อม
10.2 ผู้เสิร์ฟ ( tekong ) ต้องวางเท้าหลักอยู่ในวงกลมเสิร์ฟ
10.3 ผู้เล่นด้านหน้าทั้งสองคนของฝ่ายเสิร์ฟจะต้องยืนอยู่ในเสี้ยววงกลมตนเอง
10.4 ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามจะยืนอยู่ที่ใดก็ได้ในแดนของตน
ข้อที่ 11. การเริ่มเล่นและการส่งลูก ( THE START OF PLAY AND SERVICE )
11.1 การเริ่มเล่นให้ฝ่ายที่ได้เสิร์ฟ เป็นฝ่ายส่งลูกก่อนในเซตแรก ทีมที่ชนะในเซตแรกจะได้รับสิทธิ์เลือกการเสิร์ฟในเซตที่ 2
11.2 เมื่อกรรมการผู้ตัดสินขานคะแนนแล้ว ถือเป็นการเริ่มเล่น ผู้โยนจะต้องโยนลูกตะกร้อออกไปให้ผู้เสิร์ฟลูก หากผู้โยนโยนลูกตะกร้อออกไปก่อนกรรมการผู้ตัดสินขานคะแนนต้องโยนใหม่ และต้องเตือนผู้โยนนั้น
11.3 ระหว่างการเสิร์ฟ ในทันทีที่ผู้เสิร์ฟได้เตะลูกตะกร้อแล้วผู้เล่นทุกคนสามารถเคลื่อนที่ในแดนของตนได้
11.4 การเสิร์ฟที่ถูกต้อง เมื่อลูกตะกร้อได้ข้ามไปยังฝ่ายตรงข้ามระหว่างแถบตาข่าย ไม่ว่าจะสัมผัสตาข่ายหรือไม่ก็ตาม ต้องให้ลูกตกสู่พื้นอยู่ในขอบเขตของสนาม
ข้อที่ 12. การผิดกติกา ( FAULTS )
12.1 สำหรับผู้เล่นฝ่ายเสิร์ฟ ระหว่างการเสิร์ฟ
12.1.1 ผู้เล่นหน้า คนที่ทำหน้าที่โยนลูกกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งโดยไม่ได้โยนให้ผู้เสิร์ฟเตะลูกส่ง เช่น โยนลูกเล่น เคาะลูกเล่น โยนลูกให้ผู้เล่นหน้าอีกคน ฯลฯ หลังจากผู้ตัดสินขานคะแนนแล้ว
12.1.2 ผู้เล่นหน้ายกเท้าหรือเหยียบเส้น หรือถูกตาข่าย หรือส่วนของร่างกายล้ำเข้าไปในแดนฝ่ายตรงข้ามขณะที่โยนลูก
12.1.3 ผู้เสิร์ฟ กระโดดเสิร์ฟ
12.1.4 ผู้เสิร์ฟไม่ได้เตะลูกที่โยน
12.1.5 ลูกตะกร้อถูกผู้เล่นฝ่ายเดียวกันก่อนข้ามตาข่าย
12.1.6 ลูกตะกร้อข้ามตาข่ายแต่ออกนอกเขตสนาม
12.1.7 ลูกตะกร้อไม่ข้ามตาข่าย
12.2 สำหรับผู้เล่นฝ่ายรับ ระหว่างการเสิร์ฟ เจตนากระทำในลักษณะที่ทำให้ฝ่ายเสิร์ฟลูกเสียสมาธิ หรือส่งเสียงรบกวน หรือร้องตะโกน
12.3 สำหรับผู้เล่นทั้งสองฝ่าย ระหว่างการแข่งขัน
12.3.1 ถูกลูกตะกร้อในแดนฝ่ายตรงข้าม
12.3.2 ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายล้ำเข้าไปในแดนของฝ่ายตรงข้ามไม่ว่าจะเป็นด้านบนหรือด้านล่างของตาข่าย ยกเว้นการติดตามล้ำตาข่ายหรืการลงสู่พื้นภายหลังการเล่นลูก ( follow through )
12.3.3 เล่นลูกเกิน 3 ครั้ง
12.3.4 ลูกถูกมือหรือแขน
12.3.5 หยุดลูก หรือยึดลูกไว้ใต้แขน ระหว่างขาหรือลำตัว
12.3.6 ส่วนหนึ่งของร่างกายหรืออุปกรณ์ของเครื่องแต่งกายผู้เล่น ถูกตาข่ายหรือถูกเสาหรือถูกเก้าอี้กรรมการผู้ตัดสิน หรือตกลงในพื้นที่ฝ่ายตรงข้าม
12.3.7 ลูกตะกร้อถูกเพดาน หลังคา ผนัง หรือสิ่งกีดขวางอื่นๆ
ข้อที่ 13. การนับคะแนน ( SCORING SYSTEM )
13.1 ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายเสิร์ฟหรือฝ่ายรับก็ตาม เมื่อมีการทำผิดกติกาเกิดขึ้น ( fault ) ฝ่ายตรงข้ามจะได้คะแนนทันทีและจะเป็นฝ่ายเสิร์ฟต่อไป
13.2 ทีมที่ชนะการแข่งขันในแต่ละเซตจะต้องทำคะแนนได้ 21 คะแนน แต่ถ้าคะแนนเท่ากันที่ 20 : 20 ผู้ชนะจะต้องมีคะแนนต่างกัน 2 คะแนนและคะแนนสูงสุดไม่เกิน 25 คะแนน เมื่อคะแนน 20 เท่า ผู้ตัดสินต้องขานว่า “ดิวส์คู่” ไม่เกิน 25 แต้ม
13.3 การแข่งขันจะต้องชนะกัน 2 เซต โดยมีการพักระหว่างเซต 2 นาที
13.4 ถ้าแต่ละทีมชนะกันทีมละ 1 เซต จะต้องทำการแข่งในเซตที่ 3 ซึ่งเรียกว่า “ไทเบรค” โดยแข่งขันกัน 15 คะแนน แต่ถ้าคะแนนเท่ากันที่ 14 : 14 ผู้ชนะจะต้องมีคะแนนต่างกัน 2 คะแนน และคะแนนสูงสุดไม่เกิน 17 คะแนน เมื่อคะแนน 14 เท่า ผู้ตัดสินต้องขานว่า “ดิวส์คู่” ไม่เกิน 17 แต้ม
13.5 ก่อนเริ่มการแข่งขันในเซตที่ 3 ผู้ตัดสินต้องทำการเสี่ยง ผู้ชนะในการเสี่ยงจะได้สิทธิ์เลือกการเสิร์ฟและให้มีการเปลี่ยนแดนเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำคะแนนได้ 8 คะแนน
ข้อที่ 14. การขอเวลานอก ( TIME OUT )
แต่ละทีม ( regu ) สามารถขอเวลานอกได้เซตละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 1 นาที โดยให้ผู้จัดการทีมหรือผู้ฝึกสอนขอเวลานอกต่อกรรมการผู้ตัดสินเมื่อลูกตระก้อไม่ได้อยู่ในการเล่น และมีบุคคลในระหว่างการขอเวลานอกได้ 5 คน ที่บริเวณท้ายสนามของแต่ละด้าน
ข้อที่ 15. อุบัติเหตุและการหยุดการแข่งขัน ( TEMPORARY SUSPENSION OF PLAY )
15.1 กรรมการผู้ตัดสินสามารถหยุดการแข่งขันได้ไม่เกิน 5 นาที เนื่องจากมีสิ่งกีดขวางหรือรบกวนการแข่งขัน หรือผู้เล่นเกิดบาดเจ็บและต้องได้รับการดูแลทันที
15.2 การหยุดพักสำหรับผู้เล่นที่ได้รับบาดเจ็บถือเป็นเวลานอก สำหรับการบาดเจ็บอนุญาตให้พักการแข่งขันได้ไม่เกิน 5 นาที ภายหลังจากหยุดครบ 5 นาทีแล้ว ผู้เล่นคนนั้นไม่สามารถทำการแข่งขันต่อได้ จะต้องทำการเปลี่ยนตัวผู้เล่นนั้นออก ถ้าเกิดกรณีที่มีการเปลี่ยนตัวผู้เล่นไปแล้ว ให้ปรับทีมนั้นเป็นแพ้ และให้ฝ่ายตรงข้ามชนะการแข่งขันในครั้งนั้น
15.3 ในระหว่างหยุดพักการแข่งขัน ผู้เล่นทุกคนต้องอยู่ในสนามและไม่อนุญาตให้ดื่มน้ำหรือได้รับการช่วยเหลือใดๆทั้งสิ้น
ข้อที่ 16. วินัยและมารยาทในการแข่งขัน ( DISCIPLINE )
16.1 ผู้เล่นทุกคนจะต้องปฏิบัติตามกติกาการแข่งขัน
16.2 ในระหว่างการแข่งขันจะอนุญาตให้หัวหน้าทีมเท่านั้นเป็นผู้ติดต่อหรือซักถามต่อกรรมการผู้ตัดสิน ( ในลักษณะสุขภาพ )
ข้อที่ 17. ความผิดและบทลงโทษ ( PENALTY )
17.1 ความผิดที่ถูกตักเตือน
ผู้เล่นที่กระทำความผิดจะต้องถูกตักเตือนและได้รับบัตรเหลืองใน 6 กรณีดังต่อไปนี้
17.1.1 ปฏิบัติตนไม่มีน้ำใจนักกีฬา
17.1.2 แสดงกิริยาและวาจาไม่สุภาพ
17.1.3 ไม่ปฏิบัติตามกฎ กติกาการแข่งขัน
17.1.4 ถ่วงเวลาการแข่งขัน
17.1.5 เข้าหรือออกสนาม โดยไม่ได้อนุญาตจากผู้ตัดสิน
17.1.6 เจตนาเดินออกไปจากสนาม โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสิน
17.2 ความผิดที่ถูกให้ออกจากการแข่งขัน
ผู้เล่นที่กระทำความผิดถูกให้ออกจากการแข่งขันและได้รับบัตรแดงมี 5 กรณี ดังต่อไปนี้
17.2.1 กระทำผิดกติกาอย่างร้ายแรง
17.2.2 ประพฤติร้ายแรงโดยเจตนาทำให้คู่ต่อสู้บาดเจ็บ
17.2.3 ถ่มน้ำลายใส่ฝ่ายตรงข้ามหรือผู้อื่น
17.2.4 ทำความผิดอย่างร้ายแรงโดยสบประมาทหรือดูถูกและหรือแสดงกิริยาที่ไม่เหมาะสมไปยังฝ่ายตรงข้าม
17.2.5 ได้รับการเตือนด้วยบัตรเหลืองเป็นครั้งที่ 2 ในการแข่งขันครั้งนั้น
17.3 ผู้เล่นที่กระทำผิดถูกเตือนหรือให้ออกจากการแข่งขันไม่ว่าจะเป็นความผิดทั้งในหรือนอกสนามแข่งขัน ผู้เล่นฝ่ายเดียวกัน กรรมการผู้ตัดสิน ผู้ช่วยผู้ตัดสิน หรือบุคคลอื่นๆให้พิจารณาลงโทษตามความผิดที่ได้กระทำขึ้น
ข้อที่ 18. ความผิดขอเจ้าหน้าที่ทีม ( MISCONDCT OF OFFICIALS )
ในระหว่างการแข่งขันหากทีมหรือเจ้าหน้าที่ของทีมคนหนึ่งคนใดกระทำความผิดเกี่ยวกับวินัยและมารยาท ทั้งในสนามและนอกสนามแข่งขัน เจ้าหน้าที่ทีมหรือทีมนั้นๆจะต้องถูกพิจารณาลงโทษทางวินัยและมารยาท
ข้อที่ 19. บททั่วไป ( GENERAL )
ในการแข่งขันหากมีปัญหาหรือเรื่องราวใดๆก็ตามที่เกิดขึ้นในทุกกรณี ซึ่งนอกเหนือจากที่มิได้ระบุไว้ในกกติกาข้อใดๆของการแข่งขัน ให้ถือคำตัดสินของกรรมการผู้ชี้ขาดเป็นที่สิ้นสุด
กติกาการแข่งขันตะกร้อข้ามตาข่ายชองสมาคมกีฬาไทย ในพระบรมชูปถัมภ์
สนาม
1. ก. สนามจะต้องทำแบบ ก. ( เว้นแต่ในกรณีที่กล่าวไว้ในวรรค ข. แห่งกติกาข้อนี้ ) ซึ่งมีความกว้างยาวตามที่แสดงไว้ในแบบนั้น และจะต้องทำเส้นด้วยสีขาว หรือสีดำ หรือสีอื่นๆ ทั้งเห็นได้ง่าย ความกว้างของเส้น 1 ½ นิ้ว ( 0.038 เมตร )
ในการทำสนาม เส้นกลางจะแบ่งสนามออกเป็นสองส่วนเท่ากัน ส่วนหนึ่งอยู่ในสนามส่งลูกข้างขวา อีกส่วนหนึ่งอยู่ในสนามที่ส่งลูกข้างซ้าย ความกว้างของเส้นส่งลูกสั้นและเส้นส่งลูกยาวจะต้องรวมอยู่ในความยาว 13 ฟุต ( 3.96 เมตร) ของสนามส่งลูก และความกว้างของเส้นเขตต่างๆจะต้องรวมอยู่ในความกว้างของเส้นเขตต่างๆจะต้องรวมอยู่ในความกว้างยาวของสนามที่กำหนดไว้
ข. ในที่ใดที่ไม่สามารถทำสนามสำหรับเล่นคู่ แต่อาจทำสนามสำหรับเล่นเดี่ยวได้ ก็ต้องตามที่แสดงไว้ตามแบบ ข. เส้นหลังจะกลายเป็นเส้นส่งลูกยาวไปด้วยและเสาหรือวัสดุอย่างอื่นใช้แทนเสา ดังกล่าวในกติกาข้อ 2 จะต้องตั้งอยู่ห่างจากเส้นเขตของสนามตรงกับเส้นแบ่งเขตข้างละ 1 ฟุต ( 0.305 เมตร )
เสา
2. เสาจะต้องสูง 5 ฟุต 1 นิ้ว ( 1.55 เมตร ) จากพื้นสนาม และจะต้องมั่นคงพอจะยึดตาข่าย ดังกล่าวในกติกาข้อ 3 ให้ขึงตึงอยู่ได้ และจะต้องตั้งอยู่ตรงกับเส้นแบ่งแดนเขตข้างของสนาม ดังกล่าวในข้อ 1 ข. ในกรณีที่จะทำการแข่งขันประเภทเดี่ยวจะต้องใช้วิธีหนึ่งวิธีใดที่แสดงให้เห็นว่า เส้นเขตข้างอยู่ใต้ตาข่าย เช่น ใช้เสาบางๆกว้างไม่น้อยกว่า 1 1/2 นิ้ว ( 0.38 เมตร ) ไว้ที่เส้นเขตข้างให้ตั้งชี้มาที่ตาข่าย
ตาข่าย
3. ตาข่ายจะต้องทำด้วยด้ายย้อมฝาดเส้นเล็ก มีตากว้างยาว 3/4 นิ้ว ( 0.019 เมตร ) ตาข่ายจะต้องขึงให้ตึงจากเสาหนึ่งถึงอีกเสาหนึ่งและจะต้องกว้าง 2 ฟุต 6 นิ้ว (0.76 เมตร) ริมบนของตาข่ายจะต้องห่างจากพื้นสนามตอนจุดกลางสนาม 5 ฟุต ( 1.524 เมตร ) และเสาจะต้องสูงจากพื้นสนาม 5 ฟุต 1 นิ้ว ( 1.55 เมตร ) ตอนบนของตาข่ายติดแถบสีขาวพับ 2 ขนาดกว้าง 3 นิ้ว ( 0.076 เมตร ) มีเชือกหรือลวดร้อยตลอดแถบผ้านี้ และขึงตึงให้ได้ระดับกับหัวเสาทั้งสองข้าง
ตะกร้อ
4. ลูกตะกร้อจะต้องสานด้วยหวายหรือใยสังเคราะห์ชนิด 6 เส้นขึ้นไป เป็นรูปทรงกลมขนาดวัดโดยรอบไม่น้อยกว่า 16 นิ้ว และไม่เกิน 17 นิ้ว น้ำหนักเมื่อเริ่มการแข่งขันลูกตะกร้อไม่เบากว่า 170 กรัม และไม่หนักกว่า 220 กรัม ในการแข่งขันทุกครั้งให้ใช้ลูกตะกร้อของกรรมการที่สนามจัดไว้
ผู้เล่น
ก. คำว่าผู้เล่น หมายถึงผู้ร่วมเล่นในเกมทุกคน
ข.ในการเล่นประเภท 3 คน ผู้เล่นต้องมีข้างละ 3 คน ในการเล่นประเภทคู่ ผู้เล่นจะต้องมีข้างละ 2 คน และในการเล่นประเภทเดี่ยว ผู้เล่นจะต้องมีข้างละ 1 คน
ค.ข้างใดที่มีสิทธิ์ส่งลูก จะต้องเรียกว่า ข้างส่งลูก ส่วนอีกข้างหนึ่งนั้นให้เรียกว่า ข้างรับลูก
การสี่ยง
ก่อนที่จะเริ่มต้นเล่น ทั้งสองข้างต้องทำการเสี่ยง ข้างที่ชนะการเสี่ยงมีสิทธิ์ที่จะเลือก
ก. เลือกส่งลูกก่อน หรือ
ข. ไม่ส่งลูกก่อน หรือ
ค. เลือกแดนด้านใดด้านหนึ่ง
ข้างที่แพ้การเสี่ยงจะเลือกได้แต่ข้อที่ยังเหลืออยู่เท่านั้น
การนับคะแนน
7. ก. การเล่นประเภท 3 คน เกมหนึ่งมี 21 คะแนน เมื่อได้ 19 หรือ 20 คะแนนเท่ากัน ข้างที่ได้ 19 หรือ 20 คะแนนก่อน มีสิทธิ์ที่จะเลือกกำหนด ให้เกมนั้นเริ่มต่อไปอีก 5 คะแนน หรือเล่นต่อไปจนครบ 21 คะแนน ในกรณีเช่นนี้ ถ้าผู้มีสิทธิ์เลือก “ ล่นแต้มต่อ ” เล่นต่อไปอีก 5 คะแนน เมื่อได้ 19 หรือ 20 คะแนนเท่ากันแล้วคะแนนก็จะเสมอกัน และข้างที่ได้ 5 คะแนนก่อนจะเป็นฝ่ายชนะในเกมนั้น
การเรียกร้อง “เล่นแต้มต่อ” การเล่นดังกล่าวในข้อนี้จะต้องกระทำก่อนการส่งลูกในครั้งต่อไป จากที่ได้คะแนน 19 หรือ 20 เท่ากัน
ข. การเล่นประเภทคู่ เกมหนึ่งมี 15 คะแนน เมื่อได้ 13 หรือ 14 คะแนนก่อน มีสิทธิ์ที่เลือก “ เล่นแต้มต่อ ” .ให้เกมนั้นเล่นต่อไปอีก 3 คะแนน หรือเล่นต่อไปจนครบ 15 คะแนน ในกรณีเช่นนี้ถ้าผู้มีสิทธิ์เลือก “เล่นแต้มต่อ” เล่นต่อไปอีก 3 คะแนน เมื่อได้ 13 หรือ 14 คะแนนเท่ากันแล้ว คะแนนก็จะเสมอกัน ข้างที่ได้ 3 คะแนนก่อน จะเป็นฝ่ายชนะในเกมนั้น
ค.การเล่นประเภทเดี่ยว เกมหนึ่งมี 11 คะแนน เมื่อได้ 9 หรือ 10 คะแนนเท่ากัน ข้างที่ได้ 9 หรือ 10 คะแนนก่อน มีสิทธิ์ที่จะเลือก “ เล่นแต้มต่อ ” เล่นต่อไปอีก 3 คะแนน เมื่อได้ 9 หรือ 10 คะแนนเท่ากันแล้วคะแนนก็จะเสมอกัน ข้างที่ได้ 3 คะแนนก่อน เป็นฝ่ายชนะในเกมนั้น
การเรียกร้อง “เล่นแต้มต่อ” ให้เป็นไปตามกติกาข้อ 7 ก. วรรค 2
ง. ฝ่ายใดที่สละสิทธิ์เลือกกำหนดการเล่น ซึ่งเกิดขึ้นในโอกาสแรกแล้วก็ไม่มี่สิทธิ์เลือก “ เล่นแต้มต่อ ” ในโอกาสที่เกิดขึ้นเป็นครั้งที่ 2
จ. ในการเล่นที่มีแต้มต่อแต่ไม่ยอมให้ใช้สิทธิ์เลือก “เล่นแต้มต่อ”
ถ้าไม่ได้ตกลงกันเป็นอย่างอื่น จะต้องเล่นให้ชนะเกมมากที่สุดใน 3 เกม ผู้ที่เล่นจะเปลี่ยนข้างกันเมื่อจะตั้งต้นเล่นเกมที่ 2 และเมื่อจะตั้งต้นเล่นเกมที่ 3 ก็ต้องเปลี่ยนข้างกัน ( ถ้าต้องเล่นถึงเกมที่ 3 ) และในการเล่นเกมที่ 3 นี้ก็จะต้องเปลี่ยนข้างกัน ตามคะแนนที่ได้ ดังที่กำหนดไว้ต่อไปนี้ คือ
ก. 11 คะแนนสำหรับเกม 21 คะแนน
ข. 8 คะแนนสำหรับ 15 คะแนน
ค. 6 คะแนนสำหรับเกม 11 คะแนน
หรือในการเล่นชนิดที่การเล่นมีแต้มต่อ ข้างใดข้างหนึ่งทำได้ครึ่งหนึ่งของจำนวนคะแนนทั้งหมดที่จะต้องทำเพื่อชนะเกมนั้น ( ในกรณีที่มีเศษให้ปัดขึ้น ) ถ้ามีการตกลงจะเล่นเกมเดียว ผู้เล่นจะต้องเปลี่ยนข้างดังกล่าวไว้ตามการเปลี่ยนแปลงข้างในเกมที่ 3 ข้างบนนี้
ถ้าผู้เล่นละเว้นการเปลี่ยนข้างตามกติกาที่วางไว้นี้โดยไม่ตั้งใจ ผู้เล่นจะต้องเปลี่ยนข้างทันทีที่รู้สึกตัวว่าตนผิด แต่คะแนนที่ได้อยู่เท่าใดก็ให้นับต่อไปตามนั้น
การเล่นประเภท 3 คน
9. ก. เมื่อได้ตกลงว่า ฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายส่งลูกก่อน ผู้เล่นซึ่งอยู่ในสนาม “ ส่งลูก ” ต้องส่งลูกทแยงมุมตรงกันข้ามถ้าผู้เล่นนั้นโต้ลูกกลับไปก่อนที่ลูกจะถูกพื้นลูกนี้ก็จะถูกโต้กลับมาโดยข้าง“ ส่งลูก ”แล้วข้าง “ รับลูก” ก็จะโต้กลับไปอีก โต้กลับไปกลับมาเรื่อยไปจนกระทั่งเกิด“ เสีย ”ขึ้น หรือจนกระทั้งลูกอยู่ใน“ การเล่น ” (ดูกติกาข้อนี้วรรค ข.) ถ้าข้าง “ ส่งลูก ” ทำลูก “ เสีย ” การส่งลูกของผู้ส่งลูกคนแรกก็หมดสิทธิ์ ข้าง “ ส่งลูก ” ก่อน ส่งลูกได้เพียงคนแรกคนเดียวเท่านั้น (ดูกติกาข้อ 11) แล้วผู้เล่นของอีกข้างหนึ่งที่อยู่ในสนาม ส่งลูกด้านขวามือก็กลับเป็นผู้ส่งลูก ถ้าข้าง “ รับลูก ” โต้ลูกกลับไปไม่ได้หรือทำ “ เสีย ” ข้าง “ ส่งลูก ” ก็ได้ 1 คะแนน เมือได้คะแนนแล้ว ผู้เล่นข้าง “ ส่งลูก ” ผู้นั้นก็เปลี่ยนที่ส่งลูกโดยเปลี่ยนจากสนามด้านขวามือไปส่งลูกในสนามด้านซ้ายมือส่งไปยังผู้เล่นอีกข้างหนึ่ง ซึ่งอยู่ในสนามทแยงมุมตรงข้าม ตราบใดที่ฝ่ายนั้นยังเป็นฝ่าย “ ส่งลูก ” อยู่ การส่งลูกก็จะต้องลงจากสนามส่งลูกไปยังสนามรับลูกอีกข้างหนึ่ง ซึ่งอยู่ทแยงมุมตรงกันข้าม การเปลี่ยนสนามส่งลูกโดยข้าง “ ส่งลูก ” จะกระทำได้ต่อเมื่อตนทำคะแนนเพิ่มขึ้นได้ทุก 1 คะแนน
ข. ฝ่ายส่งลูก จะต้องส่งลูกแรกจากสนามส่งลูกด้านขวามือ เมื่อผู้ส่งลูกได้เล่นลูกจนกระทั่งส่งลูกออกไปแล้ว ต่อจากนี้ไปจะต้องถือว่าลูกอยู่ในการเล่นจนกว่าลูกนั้นถูกพื้นหรือเกิดการ “ เสีย ” หรือ “ เอาใหม่ ” เกิดขึ้น นอกจากที่ได้กำหนดไว้ในข้อ 19 เมื่อได้ส่งลูกไปแล้วจนกระทั่งลูกนั้นได้ข้ามตาข่ายไปยังข้างรับลูก ผู้ส่งลูกจะอยู่ ณ ที่หนึ่งที่ใดในด้านของฝ่ายตน ซึ่งมีตาข่ายกั้นอยู่เป็นเขตก็ได้ โดยไม่คำนึงถึงเส้นเขตต่างๆ
ในการเล่น ผู้เล่นจะเปลี่ยนแนวหรือตำแหน่งกันได้ก็ต่อเมื่อหมดสิทธิ์การรับ-ส่ง และผู้ตัดสินอนุญาตแล้วเท่านั้น
10. ผู้ที่จะรับลูกส่งได้ ต้องเป็นผู้ที่ส่งลูกมาให้เท่านั้น แต่ถ้าลูกถูกตัวผู้เล่นรวมกันกับผู้รับส่งลูก หรือผู้ที่เล่นรวมกับผู้รับลูกส่งเว้นผู้เล่นแนวหลัง (มือที่สาม) เล่นลูกนั้น ข้างส่งลูกได้ 1 คะแนน ผู้เล่นคนเดียวกันจะรับลูกส่งที่ฝ่ายส่งมาซ้ำกันสองครั้งติดกันไม่ได้ในเกมเดียวกัน นอกจากที่ได้กำหนดไว้ในข้อ 12
11. ข้างที่เริ่มเล่นเกมแรก หรือในเกมต่อไปจะส่งลูกได้คนเดียวในการเล่นคราวแรก ผู้ส่งลูกนั้นจะส่งลูกได้เรื่อยไปด้วยการเปลี่ยนแดนส่งเมื่อตนได้คะแนนเพิ่มขึ้น 1 คะแนน ทุกครั้งเรื่อยไปจนกว่าตนทำเสีย จากนั้นให้อีกฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายส่งลูกได้อีก 2 คน จนกว่าฝ่ายตนจะทำเสีย 2 ครั้ง ผู้ร่วมเล่นแต่ละข้างจึงจะส่งลูกได้ครบตามจำนวน ในการส่งลูกเริ่มเล่นในกมต่อไปให้ฝ่ายที่ไม่ได้เริ่มส่งครั้งแรกเป็นฝ่ายส่งลูก ถ้าเริ่มเล่นในเกมที่สามให้ฝ่ายที่ไม่ได้ส่งลูกในเกมที่สองเป็นฝ่ายส่งลูกก่อน
12. ถ้าผู้เล่นยืนผิดแดนเวลาส่งลูกและบังเอิญเป็นฝ่ายได้แต้มจะต้องมีการให้เอาใหม่โดยเงื่อนไขการให้ “เอาใหม่” นี้ จะต้องใช้สิทธิ์เรียกร้องก่อนจะมีการส่งลูกในครั้งต่อไป
ถ้าผู้เล่นยืนผิดแดน และไม่ทราบว่าตนยืนผิด จนกระทั่งมีการส่งลูกในคราวต่อไปแล้ว ถือว่าให้ผ่านไปและจะใช้สิทธิ์ให้ “เอาใหม่” ไม่ได้ และตำแหน่งที่ยืนของผู้เล่นก็ต้องปล่อยไว้จนกว่าจะหมดเกม
การเล่นประเภทคู่
ในการเล่นประเภทคู่ให้ใช้กติกาข้อ 9 – 12 เว้นแต่วิธีการเล่นครั้งแรกผู้ส่งลูกเริ่มเล่นได้เพียงคนเดียว เมื่อลูกเสียโดยฝ่ายส่งลูกเป็นผู้กระทำ ให้เปลี่ยนข้างส่งลูกโดยผู้ส่งครั้งหลังส่งเรื่อยไปจนกว่าฝ่ายตนจะทำเสียทั้งสองคน
การเล่นประเภทเดี่ยว
13. ในการเล่นประเภทเดี่ยวให้ใช้กติกาข้อ 9 – 12 เว้นแต่
ก. ผู้เล่นจะต้องส่งลูก หรือรับลูกส่งในสนามรับลูกส่งขวามือ แต่เฉพาะเมื่อการนับคะแนนของผู้ส่งลูกจำนวนศูนย์หรือจำนวนเลขคู่เท่านั้น การส่งลูกและรับส่งลูกจะต้องส่งและรับในสนามส่งลูกซ้ายมือ เมื่อการนับแต้มของผู้ส่งลูกได้จำนวนเป็นเลขคี่
ข. ผู้เล่นทั้งสองต้องเปลี่ยนแดนส่งลูก ภายหลังที่ทำคะแนนได้ 1 คะแนน ทุกครั้ง
การทำ “เสีย”
การทำเสียซึ่งผู้เล่นที่เป็นข้าง “ส่งลูก” เป็นผู้ทำขึ้น จะทำให้ลูกตาย แต่ถาผู้เล่นข้างฝ่ายรับลูกเป็นผู้ทำขึ้น ข้างส่งลูก ได้คะแนน 1 คะแนน
การทำเสียเกิดขึ้นเมื่อ
ก. ในการส่งลูก ถ้าเล่นลูกเกินกว่า 1 ครั้ง และขัดที่เล่นลูกนั้นสูงกว่าระดับเข็มขัดปกติ
ข. ในการส่งลูก ถ้าลูกไปตกลงในสนามส่งลูกที่ผิด คือ ไม่ตกทแยงมุมตรงกันข้ามกับผู้ส่งลูก หรือตกไม่ถึงเส้นส่งลูกสั้นหรือตกเลยเส้นส่งลูกยาว หรือตกนอกเส้นเขตข้างของสนามส่งลูก ที่ต้องส่งลูกนั้นไป
ค. ถ้าเท้าของผู้ส่งลูกไม่อยู่ในสนามส่งลูก ที่จะต้องส่งลูกไป หรือเท้าของผู้เล่นที่เป็นฝ่ายรับลูกส่ง ไม่อยู่ในสนามส่งลูกที่อยู่ทแยงมุมตรงกันข้าม จนกระทั่งลูกได้ส่งออกมาแล้ว (ดูกติกาข้อ 16)
ง. ในขณะที่ทำการส่งลูก หรือก่อนที่จะส่งลูก ถ้าผู้เล่นคนใดหลอกล่อ หรือกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด อันเป็นการกระทำให้ไม่สะดวกแก่คู่ต่อสู้ของเขา
จ. ในการส่งลูกก็ดี หรือในการโต้ลูกไปตกนอกเขตสนามหรือผ่านทะลุตาข่ายไป หรือผ่านไปใต้ตาข่ายหรือไม่ข้ามตาข่ายหรือไปถูกหลังคา หรือฝาผนัง หรือถูกตัวหรือเครื่องแต่งกายของผู้เล่นคนหนึ่งคนใด(ลูกที่ตกลงบนเส้นจะต้องถือว่าได้ตกลงบนสนามหรือสนามส่งลูก หรือเส้นนั้นเป็นขอบเขต)
ฉ. ถ้าลูกที่กำลังเล่น ฝ่ายโต้ได้เล่นลูกก่อนที่จะข้ามตาข่ายมาข้างตน(อย่างไรก็ดี ผู้เล่นลูกอาจใช้ส่วนของร่างกายที่ถูกลูกตามกติกาตามลูกที่ตนเล่นไปได้)
ช. เมื่อลูกอยู่ในเวลา “กำลังเล่น” ผู้เล่นคนใดคนหนึ่งถูกตาข่ายหรือที่ขึงตาข่าย ด้วยส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย หรือด้วยเครื่องแต่งกาย
ซ. ถ้าลูกถูกตัวฝ่ายผู้เล่นเกินกว่าสองครั้งติดๆกัน โดยผู้เล่นคนเดียวกันหรือลูกถูกตัว โดยผู้เล่นและผู้ร่วมเล่นฝ่ายเดียวกันติดๆกัน
ฌ. ถ้าผู้เล่นคนใดคนหนึ่งกีดขวางฝ่ายตรงข้าม
ญ. ในการเล่นแต่ละครั้งถ้าลูกถูกตัวผู้เล่นข้างเดียวกันเกินกว่า 1 คน
ฎ. ถ้าฝ่าฝืนกติกาข้อ 16.
ฏ. เล่นลูกด้วยแขนท่อนบน แขนท่อนล่าง ศอกข้าง ศอกหน้า และมือ(ยกเว้นยอมให้ผู้เล่นใช้ศอกหลัง ไหล่ และศีรษะได้)
กติกาทั่วไป
ผู้ส่งลูก จะต้องไม่ส่งลูกจนกว่าคู่ต่อสู้ของเขาพร้อมแล้วว่าพยายามจะโต้ลูกที่ส่งไปนั้น
ผู้ส่งลูกและผู้เล่นที่รับลูกส่ง ต้องยืนอยู่ภายในขอบเขตสนามรับลูกส่งของตน(ตามที่กำหนดเขตไว้โดยมีเส้นส่งลูกยาว เส้นส่งลูกสั้น เส้นกลางและเส้นข้าง)และบางส่วนของเท้าทั้งสอบข้างของผู้เล่นเหล่านี้ จะต้องถูกพื้นสนามอยู่ในท่านิ่ง จนกระทั่งการส่งลูกได้กระทำแล้วเท้าใดเท้าหนึ่งของผู้ส่งลูกก็ดีอยู่บนเส้นหรือถูกเส้น จะต้องถือว่าเท้านั้นอยู่นอกสนามส่งลูก และสนามรับส่งลูก (ดูกติกาข้อ 14 ค.)คู่ของผู้ส่งลูกและคู่ของผู้รับลูก จะยืนอยู่ ณ ที่ใดก็ได้ แต่ต้องไม่บังคับหรือกีดขวางการส่งลูกและรับลูก สำหรับผู้เล่นแนวหลังขณะรับและส่งจะยืนล้ำหน้าผู้เล่นแนวหน้าไม่ได้
ถ้าในการส่งลูกหรือโต้กัน ลูกกระทบตาข่ายและข้ามตาข่ายไปได้แล้วไม่ถือเป็นลูกเสีย ถ้าโต้ลูกผ่านออกไปนอกเสาตาข่ายข้างใดข้างหนึ่งแล้วไปตกบนเส้นหรือภายใต้เส้นเขตของสนามฝ่ายตรงกันข้าม เช่นนี้ถือว่า เป็นลูกเสีย ในกรณีที่เกิดการกีดขวางขึ้นโดยบังเอิญ หรือโดยคาดไม่ถึง ผู้ตัดสินอาจตัดสินให้
“เอาใหม่ ” ได้
ถ้าผู้ส่งลูกเล่นลูกส่งผิดเช่นนี้ ไม่ถือเป็นเสีย แต่ถ้าลูกได้ถูกร่างกายต้องถือว่าได้ส่งลูกแล้ว
ในระหว่างการเล่น ลูกถูกตาข่ายและติดตาข่ายอยู่ หรือถูกตาข่ายแล้วตกลงไปยังพื้นสนามด้านของผู้โต้ลูก หรือตกพื้นภายนอกสนามแล้วฝ่ายตรงข้ามคนหนึ่งถูกตาข่าย หรือโต้ลูก หรือตัวถูกลูก ไม่ถือว่าฝ่ายตรงข้ามผู้นั้นกระทำผิด เพราะเวลานั้นลูกมิได้อยู่ในการเล่น
ถ้าผู้เล่นคนใดคนหนึ่งมีโอกาสจะโต้ลูกในทางจากสูงลงต่ำเมื่อลูกนั้นอยู่ใกล้ตาข่ายมาก ฝ่ายตรงข้ามจะต้องไม่เอาส่วนของร่างกายยื่นเข้ามาใกล้ตาข่าย เพื่อให้มีโอกาสที่ลูกจะสะท้อนกลับจากร่างกายส่วนนั้นได้ การกระทำเช่นนี้เป็นการกระทำกีดขวาง ตามความหมายของกติกาข้อ 14 ( ญ )
เป็นหน้าที่ของผู้ตัดสินที่จะต้องขาน “เสีย” หรือ “เอาใหม่” เมื่อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น โดยไม่ต้องรอให้ผู้เล่นเรียกร้อง และต้องให้คำวินิจฉัยเด็ดขาดในการอุทธรณ์เกี่ยวกับการโต้เถียงเรื่องคะแนนซึ่งร้องเรียนขึ้นมาก่อนการส่งลูกครั้งต่อไปและผู้ตัดสินเลือกตั้งผู้กำกับเส้นตามที่เห็นสมควร คำวินิจฉัยของผู้ตัดสินต้องยืนยันตามคำบอกของผู้กำกับเส้น อย่างไรก็ดีถ้ามีการตั้งผู้ชี้ขาดขึ้น ซึ่งผู้ตัดสินได้วินิจฉัยโดยเด็ดขาดแล้วเท่านั้น
การดำเนินการแข่งขัน
การแข่งขันจะต้องดำเนินไป ตั้งแต่ต้นจนจบการแข่งขันเว้นไว้แต่
ก. ในการชิงชนะเลิศตะกร้อระหว่างชาติ จะมีการหยุดพักได้ไม่เกิน 5 นาที ในระหว่างเกมที่ 2 -3 ของการแข่งขัน
ข. ในประเทศที่เกี่ยวกับดินฟ้าอากาศ อาจจะมีการผ่อนผันให้พักได้ไม่เกิน 5 นาที ในระหว่างเกมที่ 2 -3 โดยได้รับความเห็นชอบจากองค์กรนานาชาติเป็นลายลักษณ์อักษรเสียก่อน ระหว่างการแข่งขันเกมที่ 2 – 3 ในประเภทเดี่ยว คู่ หรือสามคน
ค. เมื่อดินฟ้าอากาศไม่อำนวย ผู้ตัดสินอาจจะสั่งให้ยุติการแข่งขันได้ตามที่เห็นสมควร ถ้ามีการชะงักการแข่งขันครั้งนี้เกิดขึ้น คะแนนที่ได้ต้องอยู่คงเดิมและจะเริ่มต้นแข่งขันใหม่จากคะแนนที่ได้อยู่แล้วนั้น การแข่งขันจะหยุดไม่ได้ไม่ว่ากรณีใดๆทั้งสิ้น ในการที่จะให้นักกีฬาหยุดพักเพื่อจะได้มีกำลังเล่นต่อไป หรือเพื่อจะได้รับการแนะนำสั่งสอนวิธีการเล่นจากผู้อยู่นอกสนาม ผู้เล่นไม่มีสิทธิ์อกนอกสนามแข่งขันได้ก่อนที่จะจบการแข่งขันโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสินเสียก่อน ผู้ตัดสินมีสิทธิ์เพียงผู้เดียวที่จะหยุดการแข่งขันและมีสิทธิ์ที่จะตัดสิทธิ์ผู้เล่นหรือไล่ออกแก่ผู้กระทำผิดกติกา
การตีความ
การเคลื่อนไหวหรือการปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใด โดยผู้ส่งลูก ซึ่งมีผลขัดขวางความต่อเนื่องของการส่งลูกภายหลัง เมื่อผู้ส่งลูกและผู้รับลูกได้เข้ายืนตามตำแหน่งเพื่อส่งและรับลูกแล้ว ถือว่าเป็นการหลอกล่อ (ดูกติกาข้อ 14 ง.)
กรณีดังกล่าวถือเป็นเสีย ตามข้อ 14 (ช.)
ก. ถ้าลูกติดอยู่ที่ส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย ในระหว่างโต้ลูกแล้วสลัดออกไปแทนที่จะโต้โดยเฉียบขาด หรือ
ข. ถ้าเล่นลูกครู ไม่ว่ากรณีใดๆ
ถ้าผู้เล่นคนใดคนหนึ่งรุกเข้าไปในสนามของคู่ต่อสู้แม้จะเล็กน้อยหรือด้วยเครื่องแต่งกายก็ดี ให้ถือเป็นการกีดขวาง นอกจากที่อนุญาตให้ทำได้ในกติกาข้อ 14 (ฉ.) ดูกติกาข้อ 14(ญ.)
ในที่ที่มีความจำเป็นเนื่องจากลักษณะของผู้มีอำนาจเกี่ยวกับตะกร้อประจำท้องถิ่น อาจวางกฎเกณฑ์เกี่ยวกับลูกถูกสิ่งกีดขวางได้ แต่ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้สิทธิ์ของสมาคมแห่งชาติด้วย
ในระหว่างการโต้ลูก เมื่อลูกข้ามตาข่ายฝ่ายหนึ่งไปแล้ว และปรากฏว่าอีกฝ่ายได้ทำลูกเสีย หรือลูกตาย อีกฝ่ายจะถูกตาข่าย หรือเหยียบล้ำเส้นแบ่งแดน (ใต้ตาข่าย) ก็ได้ไม่ถือว่าเสีย
1. สนาม
ยาว 13.40 เมตร กว้าง 6.10 เมตร เพดานสูง 8.00 เมตร มีเส้นแบ่งแดนออกเป็น 2 ส่วนเท่ากัน มีเส้นครึ่งวงกลมทั้ง 2 แดน รัศมี 30 ซม. เสาสูง 1.55 เมตร ( เยาวชนอายุไม่เกิน 12 ปี ) และทีมหญิงเสาสูง 1.45 เมตร ตาข่ายกว้าง 70 ซม. ตรงกลางของตาข่ายสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 1.52 เมตร ( เยาวชน 1.42 เมตร )
2. ลูกตะกร้อ
ทรงกลม มีเส้นรอบวง 42 – 44 ซม. มี 12 รูกับ 20 จุดไขว้ตัด ทำด้วยหวายหรือใบสังเคระห์ ถ้าเป็นหวายต้องมี 9 – 11 เส้น น้ำหนัก 170 – 180 กรัม
3. เครื่องแต่งกาย
สวมเสื้อยืด กางเกงขาสั้น ต้องเอาชายเสื้อไว้ในกางเกงตลอดเวลา ห้ามใช้อุปกรณ์ช่วยในการเคลื่อนไหว และการเร่งความเร็วของลูกตะกร้อ หัวหน้าทีมต้องใส่ปลอกแขนที่แขนเสื้อด้านซ้าย ติดหมายเลขด้านหลัง 1 – 15
กติกาตะกร้อ
1.ผู้เล่น
ประเภทเดี่ยว มีผู้เล่นตัวจริง 3 คน สำรอง 1 คน ประเภททีม ประกอบด้วย 3 ทีม มีผู้เล่น 9 คน และผู้เล่นสำรอง 3 คน
2. ตำแหน่งของผู้เล่น มี 3 ตำแหน่งคือ
2.1 หลัง ( Back ) เป็นผู้เตะตะกร้อจากวงกลม
2.2 หน้าซ้าย
2.3 หน้าขวา
3. การเปลี่ยนตัวผู้เล่น
ในทีมเดี่ยวเปลี่ยนตัวได้ 1 คน และถ้าเหลือน้อยกว่า 3 คน ถือว่าแพ้ ผู้มีชื่อในทีมเดี่ยวที่เล่นมานานแล้ว จะลงเล่นในทีมเดี่ยวต่อไปไม่ได้
4. การเสี่ยงและการอบอุ่นร่างกาย
มีการเสี่ยง ผู้ชนะการเสี่ยงจะได้เลือกข้างหรือส่งลูก ทีมที่ได้ส่งลูกจะได้อบอุ่นร่างกายก่อน เป็นเวลา 2 นาที พร้อมเจ้าหน้าที่และนักกีฬาไม่เกิน 5 คน
5. ตำแหน่งของผู้เล่นระหว่างการส่งลูกเสิร์ฟ
เมื่อเริ่มเล่นทั้ง 2 ทีมพร้อมในแดนของตนเอง ผู้เล่นฝ่ายเสิร์ฟจะต้องอยู่ในวงกลมของตนเอง เมื่อเสิร์ฟแล้วจึงเคลื่อนที่ได้ ส่วนผู้เล่นฝ่ายรับจะยืนที่ใดก็ได้
6. การเปลี่ยนส่ง
ให้เปลี่ยนการส่งลูกเมื่อฝ่ายส่งลูกผิดกติกา หรือ ฝ่ายรับทำลูกให้ตกบนพื้นที่ของฝ่ายส่งได้
7. การขอเวลานอก
ขอได้เซตละ 1 ครั้งๆ ละ 1 นาที
8. การนับคะแนน
การแข่งขันใช้แบบ 2 ใน 3 เซต ในเซตที่ 1 และเซตที่ 2 จะมีคะแนนสูงสุด 15 คะแนน ทีมใดได้ 15 คะแนนก่อน จะเป็นผู้ชนะในเซตนั้นๆ ทั้ง 2 เซต จะไม่มีดิวส์ หากทั้งสองทีมได้ 13 ก่อน หรือ 14 เท่ากัน พักระหว่างเซต 2 นาที ถ้าเสมอกัน 1:1 เซต ให้ทำการแข่งขันเซตที่ 3 ด้วยไทเบรก โดยเริ่มด้วยการเสี่ยงใหม่ โดยใช้คะแนน 6 คะแนน ทีมใดได้ 6 คะแนนก่อนเป็นผู้ชนะ แต่จะต้องแพ้ชนะอย่างน้อย 2 คะแนน ถ้ายังไม่แพ้กันไม่น้อยกว่า 2 คะแนน ก็ให้ทำการแข่งขันอีก 2 คะแนน แต่ไม่เกิน 8 คะแนน เช่น 8:6 หทรือ 8:7 ถือเป็นการยุติการแข่งขันระบบไทเบรก เมื่อฝ่ายใดก็ตามได้ 3 คะแนน และขอเวลานอกได้เซตละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 นาที สำหรับไทเบรก ขอเวลาได้ 1 ครั้ง ครั้งละ 30 วินาที
Share this:
TwitterFacebook2Google
ใส่ความเห็น
อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *
ชื่อ *
อีเมล์ *
เว็บไซท์
ความเห็น
Notify me of new comments via email.
Notify me of new posts via email.
จิรศักดิ์ บน สิงหาคม 11, 2012 ที่ 11:41 am
เจ๊งดี
ตอบกลับ
น้องเเพรวา บน กันยายน 20, 2012 ที่ 4:41 pm
ค่ะพี่
ตอบกลับ
Pingback: ประวัติกีฬาตะกร้อ | ด.ญ.อริสราพร มีพร้อม
Pingback: ตะกร้อ | ด.ช.สหฤทธิ์ พิมพ์ทอง
kruchok บน มกราคม 31, 2014 ที่ 6:08 pm
ดีครับ
ตอบกลับ
สมวงศ์ บน ธันวาคม 15, 2014 ที่ 9:08 am
เรียน ครูโชค ผมสนใจจะจัดการแข่งตะกร้อลอดบ่วง อยากขอคำแนะนำ และเป็นที่ปรึกษา ถ้ากรุณาโทรหาผมหมายเลข 081 814 6674 ผมชื่อ สมวงศ์ ชัฏสุวรรณ จะขอบคุณมากครับ
ตอบกลับ
kruchok บน ธันวาคม 15, 2014 ที่ 6:41 pm
ออ ครับ คุณอยู่ที่ไหนหรือ ครับ ผมไม่ได้เก่งไรนะครับ ผมแค่ทำงานสนใจกีฬาเพื่อสอน นิดๆหน่อยๆครับ
ท่านอยู่ไหนหรือครับไม่เหนหน้าตา เลย
ตอบกลับ
View Full Site
Create a free website or blog at WordPress.com.
Now Available! Download WordPress for Android
ประวัติกีฬาตะกร้อ
ประวัติตะกร้อ ที่มาที่ไป กีฬาตะกร้อ
ในการค้นคว้าหาหลักฐานเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดการกีฬาตะกร้อในอดีตนั้น ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้อย่างชัดเจนว่ากีฬาตะกร้อนั้นกำเนิดจากที่ใด
จากการสันนิษฐานคงจะได้หลายเหตุผลดังนี้
ประเทศพม่า เมื่อประมาณ พ.ศ. 2310 พม่ามาตั้งค่ายอยู่ที่โพธิ์สามต้น ก็เลยเล่นกีฬาตะกร้อกัน ซึ่งทางพม่าเรียกว่า “ชิงลง”
ทางมาเลเซียก็ประกาศว่า ตะกร้อเป็นกีฬาของประเทศมาลายูเดิมเรียกว่า ซีปักรากา (Sepak Raga) คำว่า Raga หมายถึง ตะกร้า
ทางฟิลิปปินส์ ก็นิยมเล่นกันมานานแล้วแต่เรียกว่า Sipak
ทางประเทศจีนก็มีกีฬาที่คล้ายกีฬาตะกร้อแต่เป็นการเตะตะกร้อชนิดที่เป็นลูกหนังปักขนไก่ ซึ่งจะศึกษาจากภาพเขียนและพงศาวดารจีน ชาวจีนกวางตุ้งที่เดินทางไปตั้งรกรากในอเมริกาได้นำการเล่นตะกร้อขนไก่นี้ไปเผยแพร่ แต่เรียกว่าเตกโก (Tek K’au) ซึ่งหมายถึงการเตะลูกขนไก่
ประเทศเกาหลี ก็มีลักษณะคล้ายกับของจีน แต่ลักษณะของลูกตะกร้อแตกต่างไป คือใช้ดินเหนียวห่อด้วยผ้าสำลีเอาหางไก่ฟ้าปัก
ประเทศไทยก็นิยมเล่นกีฬาตะกร้อมายาวนาน และประยุกต์จนเข้ากับประเพณีของชนชาติไทยอย่างกลมกลืนและสวยงามทั้งด้านทักษะและความคิด
ข้อมูลจาก
http://www.yimsiam.com
ประวัติ ในประเทศไทย
ในสมัยโบราณนั้นประเทศไทยเรามีกฎหมายและวิธีการลงโทษผู้กระทำความผิด โดยการนำเอานักโทษใส่ลงไปในสิ่งกลมๆที่สานด้วยหวายให้ช้างเตะ แต่สิ่งที่ช่วยสนับสนุนประวัติของตะกร้อได้ดี คือ ในพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนาของรัชกาลที่ 2 ในเรื่องมีบางตอนที่กล่าวถึงการเล่นตะกร้อ และที่ระเบียงพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเขียนเรื่องรามเกียรติ์ ก็มีภาพการเล่นตะกร้อแสดงไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้รับรู้
โดยภูมิศาสตร์ของไทยเองก็ส่งเสริมสนับสนุนให้เราได้ทราบประวัติของตะกร้อ คือประเทศของเราอุดมไปด้วยไม้ไผ่ หวายคนไทยนิยมนำเอาหวายมาสานเป็นสิ่งของเครื่องใช้ รวมถึงการละเล่นพื้นบ้านด้วย อีกทั้งประเภทของกีฬาตะกร้อในประเทศไทยก็มีหลายประเภท เช่น ตะกร้อวง ตะกร้อลอดห่วง ตะกร้อชิงธงและการแสดงตะกร้อพลิกแพลงต่างๆ ซึ่งการเล่นตะกร้อของประเทศอื่นๆนั้นมีการเล่นไม่หลายแบบหลายวิธีเช่นของไทยเรา การเล่นตะกร้อมีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องมาตามลำดับทั้งด้านรูปแบบและวัตถุดิบในการทำจากสมัยแรกเป็นผ้า , หนังสัตว์ , หวาย , จนถึงประเภทสังเคราะห์ ( พลาสติก )
ความหมาย คำว่าตะกร้อ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ . ศ . 2525 ได้ให้คำจำกัดความเอาไว้ว่า ” ลูกกลมสานด้วยหวายเป็นตา สำหรับเตะ “
วิวัฒนาการการเล่น
การเล่นตะกร้อได้มีวิวัฒนาการในการเล่นมาอย่างต่อเนื่อง ในสมัยแรกๆ ก็เป็นเพียงการช่วยกันเตะลูกไม่ให้ตกถึงพื้นต่อมาเมื่อเกิดความชำนาญและหลีกหนีความจำเจ ก็คงมีการเริ่มเล่นด้วยศีรษะ เข่า ศอก ไหล่ มีการจัดเพิ่มท่าให้ยากและสวยงามขึ้นตามลำดับ จากนั้นก็ตกลงวางกติกาการเล่นโดยเอื้ออำนวยต่อผู้เล่นเป็นส่วนรวม อาจแตกต่างไปตามสภาพภูมิประเทศของแต่ละพื้นที่ แต่คงมีความใกล้เคียงกันมากพอสมควร
ตะกร้อนั้นมีมากมายหลายประเภท เช่น
- ตะกร้อข้ามตาข่าย – ตะกร้อลอดบ่วง – ตะกร้อพลิกแพลงเป็นต้น
เมื่อมีการวางกติกาและท่าทางในการเล่นอย่างลงตัวแล้วก็เริ่มมีการแข่งขันกันเกิดขึ้นในประเทศไทยตาม
ประวัติของการกีฬาตะกร้อตั้งแต่อดีตที่ได้บันทึกไว้ดังนี้
พ . ศ . 2472 กีฬาตะกร้อเริ่มมีการแข่งขันครั้งแรกภายในสมาคมกีฬาสยาม
พ . ศ . 2476 สมาคมกีฬาสยามประชุมจัดร่างกติกาในการแข่งขันกีฬาตะกร้อข้ามตาข่ายและเปิดให้มีการแข่งขันในประเภทประชาชนขึ้นเป็นครั้งแรก
พ . ศ . 2479 ทางการศึกษาได้มีการเผยแพร่จัดฝึกทักษะในโรงเรียนมัธยมชายและเปิดให้มีแข่งขันด้วย
พ . ศ . 2480 ได้มีการประชุมจัดทำแก้ไขร่างกฎระเบียบให้สมบูรณ์ขึ้น โดยอยู่ในความควบคุมดูแลของ เจ้าพระยาจินดารักษ์ และกรมพลศึกษาก็ได้ออกประกาศรับรองอย่างเป็นทางการ
พ . ศ . 2502 มีการจัดการแข่งขันกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 1 ขึ้นที่กรุงเทพฯ มีการเชิญนักตะกร้อชาวพม่ามาแสดงความสามารถในการเล่นตะกร้อพลิกแพลง
พ . ศ . 2504 กีฬาแหลมทองครั้งที่ 2 ประเทศพม่าได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพในการแข่งขัน นักตะกร้อของไทยก็ได้ไปร่วมแสดงโชว์การเตะตะกร้อแบบพลิกแพลงด้วย
พ . ศ . 2508 กีฬาแหลมทองครั้งที่ 3 จัดขึ้นที่ประเทศมาเลเซีย ได้มีการบรรจุการเตะตะกร้อ 3 ประเภท เข้าไว้ในการแข่งขันด้วยก็คือ
- ตะกร้อวง – ตะกร้อข้ามตาข่าย – ตะกร้อลอดบ่วง
อีกทั้งมีการจัดประชุมวางแนวทางด้านกติกาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อสะดวกในการเล่นและการเข้าใจของผู้ชมในส่วนรวมอีกด้วย
พอเสร็จสิ้นกีฬาแหลมทองครั้งที่ 3 กีฬาตะกร้อได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นอันมาก บทบาทของประเทศมาเลเซียก็เริ่มมีมากขึ้น จากการได้เข้าร่วมในการประชุมตั้งกฎกติกากีฬาตะกร้อประเภทข้ามตาข่าย หรือที่เรียกว่า ” เซปักตะกร้อ ” และส่งผลให้กีฬาตะกร้อข้ามตาข่าย ได้รับการบรรจุเข้าในการแข่งขันกีฬาแหลมทองครั้งที่ 4 จนถึงปัจจุบัน
กติกากีฬาตะกร้อลอดห่วง
ของ สมาคมตะกร้อแห่งประเทศไทย
ฉบับปรับปรุง-แก้ไขใหม่ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2546
ให้เริ่มใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547
____________________________________________________
1. สนามแข่งขัน
สนามเป็นพื้นราบ จะอยู่ในร่มหรือกลางแจ้งก็ได้ วัดจากพื้นสนามขึ้นไปอย่างน้อยประมาณ 8 เมตร ต้องไม่มีสิ่งกีดขวางใดๆ และให้มีวงกลมรัศมี 2 เมตร จากจุดศูนย์กลางสนาม ความกว้างของเส้นวงกลม มีความกว้าง 4เซนติเมตร มีห่วงชัยแขวนอยู่ ณ จุดศูนย์กลางของวงกลม โดยเชือกที่แขวนห่วง มีความยาวจากรอกไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร
2. ห่วงชัย
ห่วงชัยประกอบด้วยวงกลม 3 ช่อง ขนาดเท่ากัน มีเส้นผ่าศูนย์กลางวัดจากภายใน กว้าง 45 เซนติเมตร ห่วงทั้ง 3 นี้ จะทำด้วย โลหะ หวาย หรือไม้ ก็ได้ แต่ต้องผูกหรือบัดกรีติดกันแน่นเป็นรูป 3 เส้า วงห่วงแต่ละห่วงตั้งตรง และหุ้มด้วยวัสดุที่มีความนุ่มแล้ว วัดโดยรอบไม่เกิน 10 เซนติเมตร และมีถุงตาข่ายทำด้วยด้ายสีขาว ผูกรอบห่วงทุกห่วง
ห่วงชัย ต้องแขวนกลางสนาม ขอบล่างของห่วงชัย ต้องได้ระดับสูงจากพื้นสนาม ดังนี้
– ประเภทเยาวชนอายุไม่เกิน 18 ปี และหญิง ความสูงของห่วงชัย 5.50 เมตร
– ประเภทประชาชน ความสูงของห่วงชัย 5.70 เมตร
3. ตะกร้อที่ใช้แข่งขัน
ตะกร้อให้สานด้วยหวาย 9-11 เส้น หรือผลิตด้วยใยสังเคราะห์ ซึ่งให้มีขนาดและน้ำหนัก ดังนี้
- ประเภทเยาวชนอายุไม่เกิน 18 ปี และหญิง ขนาดเส้นรอบวง ไม่น้อยกว่า 40 เซนติเมตร และน้ำหนักไม่เกิน 200 กรัม
- ประเภทประชาชน ขนาดเส้นรอบวงไม่น้อยกว่า 40 เซนติเมตร และน้ำหนักไม่เกิน 240 กรัม
4. ให้ฝ่ายจัดการแข่งขัน จัดลูกตะกร้อไว้ ให้ผู้เข้าแข่งขัน ในกรณีที่ผู้เข้าแข่งขันนำลูกตะกร้อมาเอง จะต้องผ่านการตรวจสอบจากคณะกรรมการฯ ก่อนการแข่งขันทุกครั้ง หากลูกตะกร้อที่นำมาเองไม่ถูกต้องตามกติกา ต้องใช้ลูกตะกร้อที่คณะกรรมการฯ จัดไว้ ทำการแข่งขัน
5. กรรมการผู้ตัดสิน
ต้องมีผู้ตัดสินอย่างน้อย 3 คน ให้ทำหน้าที่ บันทึกคะแนน, รักษาเวลา, ประกาศคะแนน และผู้ชี้ขาด
6. ทีมที่เข้าแข่งขัน
6.1 ให้ส่งรายชื่อเข้าทำการแข่งขันได้ไม่เกิน 8 คน มีผู้เล่นเข้าทำการแข่งขัน 7 คน หากทีมใดมีผู้เล่นไม่ถึง 6 คน ไม่มีสิทธิ์เข้าแข่งขันในครั้งนั้น โดยให้ส่งรายชื่อก่อนการแข่งขัน 30 นาที
6.2 ในระหว่างแข่งขัน สามารถเปลี่ยนตัวผู้เล่นได้ ซึ่งจะเปลี่ยนเวลาใดก็ได้ โดยผู้จัดการทีม ต้องยื่นขอต่อกรรมการผู้ชี้ขาด เมื่อลูกตะกร้อไม่ได้อยู่ในการเล่น (ลูกตาย) ซึ่งแต่ละทีมสามารถเปลี่ยนตัวผู้เล่นได้เพียง 1 คน โดยผู้ที่เปลี่ยนตัวเข้าไปใหม่ จะต้องไม่เล่น ในท่าที่ผู้เล่นเดิมทำครบแล้ว 2 ครั้ง และผู้ที่ถูกเปลี่ยนตัวออกไปแล้ว จะไม่อนุญาตให้เปลี่ยนตัวกลับคืนได้อีก
6.3 ผู้เล่นทุกคนต้องติดหมายเลขที่เสื้อด้านหน้า และด้านหลังอย่างเรียบร้อยด้วยตัวเลขที่อ่านง่าย สีของหมายเลขต้องตัดกับสีของเสื้อ หมายเลขด้านหลังต้องสูงไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร โดยผู้เล่นทีมเดียวกันจะใช้หมายเลขซ้ำกันไม่ได้
6.4 เครื่องแต่งกายของผู้เล่น
สำหรับผู้ชายต้องสวมเสื้อยืด กางเกงขาสั้น ส่วนผู้หญิง ให้สวมเสื้อยืดมีแขน และกางเกงขาสั้นระดับเข่า สวมใส่รองเท้าพื้นยาง (ถุงเท้าด้วย) กรณีที่อากาศหนาวอนุญาตให้ผู้เล่นสวมใส่ชุดวอร์มแข่งขันได้
6.4.1 ส่วนต่างๆ ของเครื่องแต่งกายของผู้เล่นถือเป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย และชายเสื้อต้องอยู่ในกางเกงตลอดเวลาการแข่งขัน
6.4.2 สิ่งใดก็ตามที่จะช่วยเร่งความเร็วของลูกตะกร้อ หรือช่วยในการเคลื่อนที่ของผู้เล่น ไม่อนุญาตให้ใช้
6.5 เมื่อถึงเวลาการแข่งขัน คณะกรรมการจัดการแข่งขัน จะเริ่มจับเวลา โดยให้ถือเป็นเวลาของการแข่งขันของทีมนั้นๆ หากทีมนั้นพร้อมเมื่อใด ก็ให้ทำการแข่งขันตามเวลาที่เหลืออยู่ แต่เมื่อเวลาผ่านไป 10 นาทีแล้ว ยังไม่สามารถลงสนามแข่งขันหรือยังไม่พร้อมทำการแข่งขัน ให้ทีมนั้นหมดสิทธิ์ในการแข่งขันครั้งนั้นๆ โดยไม่มีอุทธรณ์
7. กำหนดเวลาการแข่งขัน
7.1 ให้ใช้เวลาในการแข่งขัน 40 นาที เมื่อเวลาการแข่งขันผ่านไปครึ่งเวลา (20 นาที) กรรมการต้องประกาศให้ทราบทั้งเวลาและคะแนนที่ทำได้
7.2 ผู้เข้าแข่งขันในทีมใดเกิดอุบัติเหตุขึ้นในระหว่างการแข่งขันอยู่ และไม่สามารถทำการแข่งขัน ให้ขออนุญาตจากกรรมการผู้ตัดสินออกจากสนามชั่วคราวได้
7.3 หากนักกีฬาทีมที่บาดเจ็บนั้น จะกลับเข้าทำการแข่งขันต่อไปอีก ให้ขออนุญาตต่อกรรมการผู้ตัดสินก่อนทุกครั้ง ทั้งนี้ ต้องให้เป็นไปตาม ข้อ 6.1
8. การแข่งขัน
8.1 ให้ผู้เล่น ยืนเป็นรูปวงกลม เว้นระยะห่างกันพอสมควร ในระหว่างการแข่งขันผู้เล่นจะสลับเปลี่ยนที่กันก็ได้
8.2 เมื่อผู้ตัดสินให้สัญญาณเริ่มการแข่งขัน ให้ผู้เล่นคนใดคนหนึ่งโยนลูกตะกร้อให้แก่คู่หนึ่งหรือคู่สองของตน ต่อจากนั้นไป เมื่อลูกตาย ผู้เล่นใดถูกลูกก่อนจะต้องเป็นผู้โยน และต้องโยนให้คู่หนึ่งหรือคู่สองของตน เพื่อเล่นต่อไปทุกคราว โดยผู้โยนและผู้รับลูกโยน ต้องอยู่นอกวงกลม
8.3 เมื่อลูกตายแล้ว จะเปลี่ยนลูกตะกร้อก็ได้
8.4 ในการโต้ลูก ห้ามไม่ให้ผู้เล่นใช้มือ ถ้าผู้เล่นใช้มือจับลูก ผู้เล่นที่ใช้มือจับลูกต้องโยนลูกให้คู่ของตนเตะแล้วปล่อยให้ลูกตายก่อน จึงนำลูกมาโยนเพื่อเล่นต่อไปได้
8.5 กรณีต่อไปนี้ให้ถือเป็นลูกตาย ให้โยนใหม่
(1) ลูกตกถึงพื้นสนาม
(2) ลูกถูกมือผู้เล่น ยกเว้นกรณีที่ผู้เล่นเตะลอดบ่วงมือ แล้วลูกกระทบบ่วงมือนั้น
(3) ลูกติดกับห่วงชัย
(4) ลูกถูกวัตถุใดๆ ที่ไม่ใช่อุปกรณ์ตะกร้อลอดห่วง
8.6 ถ้าลูกโต้ยังดีอยู่เข้าห่วง หรือลูกตะกร้อที่หวายขาดไปเกี่ยวกับตาข่าย และค้างอยู่ภายในรัศมีวงกลมห่วงชัย ให้กรรมการผู้ตัดสินให้คะแนนตามลักษณะของท่าที่กำหนดในข้อ 8.เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้
(1) ผู้เล่นโต้ลูกโยนไปเข้าห่วง
(2) ผู้เล่นถูกลูกเข้าห่วงภายหลังสัญญาณหมดเวลา
(3) ลูกเข้าห่วงแล้วกระดอนออก
(4) ผู้เล่นคนใดเตะลูกเข้าห่วง ซ้ำท่าเกินกว่า 2 ครั้ง
9. การให้คะแนนของท่าการเล่น
ลำดับ
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
18
20
21
22
23
24
25
26
27
ท่าการเล่น
ลูกด้านหน้า
ลูกหน้าเท้า (ลูกแป)
ลูกหลังเท้า
ลูกไขว้หน้าด้วยหลังเท้า
ลูกแข้ง
ลูกเข่า
ลูกไขว้หน้าด้วยเข่า
ลูกไหล่
ลูกศีรษะ (โหม่ง)
ลูกด้านข้าง
ลูกข้าง
ลูกข้างบ่วงมือ
ลูกไขว้
ลูกไขว้บ่วงมือ
ลูกส้นไขว้
ลูกส้นไขว้บ่วงมือ
ลูกกระโดดไขว้ (ขึ้นม้า)
ลูกกระโดดไขว้บ่วงมือ (ขึ้นม้าบ่วงมือ)
ลูกตัดไขว้
ลูกด้านหลัง
ลูกศอกหลัง
ลูกตบหลัง
ลูกข้างหลัง
ลูกข้างหลังบ่วงมือ
ลูกแทงส้นตรงหลัง
ลูกแทงส้นตรงหลังบ่วงมือ
ลูกตบหลังบ่วงมือ
ลูกตบหลังสองเท้าพร้อมกัน
ลูกกระโดดพับหลังตบ
ลูกกระโดดพับหลังตบบ่วงมือ
คะแนน
10
15
30
15
15
20
10
10
10
15
15
25
20
30
10
15
25
15
20
20
25
30
40
30
50
40
50
10. การตัดสิน
10.1 ทีมใดได้คะแนนมากที่สุด ทีมนั้นชนะ
10.2 ถ้าได้คะแนนเท่ากัน ทีมใดได้จำนวนครั้งที่เข้าห่วงมากกว่า ทีมนั้นชนะ
10.3 ถ้าได้คะแนน และจำนวนครั้งที่เข้าห่วงเท่ากัน ทีมใดได้เข้าห่วงด้วยท่าที่คะแนนสูง
กว่า ทีมนั้นชนะ
10.4 ถ้าทั้งหมดดังกล่าวเท่ากัน ให้เป็นไปตามระเบียบของการแข่งขันครั้งนั้นๆ
ตะกร้อ : แนะนำอุปกรณ์ตะกร้อ – กติกา การเล่นตะกร้อ
กติกา
กติกาเซปักตะกร้อ
( SEP AKTAKRAN RULES & REGULATIONS )
ข้อที่ 1. สนามแข่งขัน ( THE COURT )
1.1 พื้นที่ของสนามมีความยาว 13.40 เมตร และกว้าง 6.10 เมตร จะต้องไม่มีสิ่งกีดขวางใดๆ เมื่อวัดจากพื้นสนามสูงขึ้นไป 8 เมตร (พื้นสนามไม่ควรเป็นสนามหญ้าหรือสนามทราย )
1.2 เส้นสนาม ขนาดของเส้นสนามทุกเส้นที่เป็นขอบเขตของสนามต้องไม่กว้างกว่า 4 เซนติเมตร ให้ตีเส้นจากกรอบนอกเข้ามาในสนามและถือเป็นส่วนของพื้นที่สนามแข่งด้วย เส้นเขตสนามทุกเส้นต้องห่างจากสิ่งกีดขวางอย่างน้อย 3 เมตร
1.3 เส้นกลาง มีขนาดกว้างของเส้น 2 เซนติเมตร โดยจะแบ่งพื้นที่ของสนามออกเป็นด้านซ้ายและด้านขวาเท่าๆกัน
1.4 เส้นเสี้ยววงกลม ที่มุมสนามของแต่ละด้านตรงเส้นกลางให้จุดศูนย์กลางอยู่ที่กึ่งกลางของเส้นกลางตัดกับขอบด้านในของเส้นข้างเขียนเส้นเสี้ยววงกลมทั้งสอง ด้านรัศมี 90 เมตร ให้ตีเส้นขนาดความกว้าง 4 เซนติเมตร นอกเขตรัศมี 90 เซนติเมตร
1.4 เส้นเสี้ยววงกลม ที่มุมของสนามของแต่ละด้านตรงเส้นกลางให้จุดศูนย์กลางอยู่ที่ก่งกลางของเส้นกลางตัดกับขอบด้านในของเส้นข้าง เขียนเส้นเสี้ยววงกลมทั้งสองด้านรัศมี 90 เซนติเมตร ให้ตีเส้นนขนาดความกว้าง 4 เซนติเมตร นอกรัศมี 90 เซนติเมตร
1.5 วงกลมเสิร์ฟ ให้รัศมี 30 เซนติเมตร โดยวัดจากจุดกงกลางของเส้นหลังไปในสนาม 2.45 เมตร และวัดจากขอบด้านนอกของเส้นข้างไปในสนาม 3.05 เมตร แ ละวัดจากขอบด้านนอกของเส้นข้างเข้าไปในสนาม 3.05 เมตร ใช้ตรงจุดตัดจากเส้นหลังและเส้นข้างเป็นจุดศูนย์กลาง ให้เขียนเส้นวงกลมขนาดความกว้าง 4 เซนติเมตร นอกเขตรัศมี 30 เซนติเมตร ( ดูรูปขนาดสนามจากภาคผนวก )
ข้อที่ 2. เสา ( THE POSTS )
2.1 เสามีความสูง 1.55 เมตร ( ผู้หญิง 1.45 เมตร ) ตั้งอยู่อย่างมั่นคงพอที่จะทำให้ตาข่ายตึง โดยต้องทำจากวัสดุที่มีความแข็งแกร่งและมีรัศมีไม่เกิน 4 เซนติเมตร
2.2 ตำแหน่งของเสา ให้ตั้งหรือวางไว้อย่างมั่นคงนอกสนามตรงกับแนวเส้นกลาง ห่างจากเส้นข้าง 30 เซนติเมตร
ข้อที่ 3. ตาข่าย ( THE NET )
3.1 ตาข่ายให้ทำด้วยเชือกอย่างดีหรือไนล่อน มีรูตาข่ายกว้าง 6 – 8 เซนติเมตร ความกว้างของผืนตาข่าย 70 เซนติเมตร และความยาวไม่น้อยกว่า 6.10 เมตร ให้มีวัสดุที่ทำเป็นแถบ ขนาดความกว้าง 5 เซนติเมตร ตรงด้านข้างของตาข่ายทั้งสองด้านจากด้านบนถึงด้านล่างตรงกับแนวเส้นข้างซึ่งเรียกว่า “แถบแสดงเขตสนาม”
3.2 ตาข่ายให้มีขนาดความกว้าง 5 ซนติเมตร ทั้งด้านบนและด้านล่าง โดยมีเชือกธรรมดาหรือเชือก ไนล่อนอย่างดี ร้อยผ่านแถบและขึงตาข่ายให้ตึงเสมอระดับหัวเสา ความสูงของตาข่ายโดยวัดจากพื้นถึงส่วนบนของตาข่ายที่กึ่งกลางสนามมีความสูง 1.52 เมตร ( ผู้หญิง 1.42 เมตร ) และวัดตรงเสาทั้งสองด้านมีความสูง 1.55 เมตร ( ผู้หญิง 1.45 เมตร )
ข้อที่ 4 ลูกตะกร้อ ( THE SEPAKTRAKRAW BALL’ )
ลูกตะกร้อต้องมีลักษณะเป็นทรงกลม ทำด้วยหวายหรือใยสงเคราะห์ชั้นเดียวมี 12 รู กับ 20 จุดตัดไขว้ หากทำด้วยหวายต้องมีจำนวน 9 – 11 เส้น ขนดของเส้นรอบวงต้องไม่น้อยกว่า 42 เซนติเมตร และไม่มากกว่า 44 เซนติเมตร ( ผู้หญิง 43 – 45 เซนติเมตร) น้ำหนักก่อนใช้แข่งขันต้องไม่น้อยกว่า 170 กรัม และไม่เกินกว่า 180 กรัม ( ผู้หญิง 150 – 160 กรัม )
ข้อที่ 5 ผู้เล่น ( THE PLAYERS )
5.1 การแข่งขันมี 2 ทีม ประกอบด้วยผู้เล่นฝ่ายละ 3 คน
5.2 ผู้เล่นหนึ่งในสามคนจะเป็นผู้ เสิร์ฟลูกและอยู่ด้านหลังเรียกว่า “ผู้เสิร์ฟ” “Server ( Tekong )”
5.3 ผู้เล่นอีกสองคนอยู่ด้านหน้า โดยคนหนึ่งจะอยู่ด้านซ้ายเรียกว่า “หน้าซ้าย” ( left inside ) และคนที่อยู่ด้านขวาเรียกว่า “หน้าขวา” ( night inside )
ข้อที่ 6. เครื่องแต่งกายของผู้เล่น ( PLAYER ATTIRE)
6.1 สำหรับผู้ชายต้องสวมเสื้อยืด กางเกงขาสั้น ( สำหรับผู้หญิงให้สวมเสื้อยืดมีแขนและกางเกงขาสั้นระดับเข่า ) และรองเท้ากีฬาพื้นยาง ( ถุงเท้าด้วย ) ห้ามผู้เล่นสวมสิ่งอื่นใดที่จะเป็นอันตรายแก่ฝ่ายตรงข้ามในระหว่างการแข่งขัน กรณีที่อากาศหนาวอนุญาตให้ผู้เล่นสวมชุดวอร์มแข่งขันได้
6.2 ส่วนต่างๆของเครื่องแต่งกายของผู้เล่นถือเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายและชายเสื้อจะต้องอยู่ในกางเกงตลอดเวลาการแข่งขัน
6.3 สิ่งใดก็ตามที่จะช่วยเร่งความเร็วของลูกตะกร้อ หรือช่วยในการเคลื่อนที่ของผู้เล่นไม่อนุญาตให้ใช้
6.4 หัวหน้าทีม ( captian) จะต้องใส่ปลอกแขน ที่แขนเสื้อด้านซ้าย
6.5 เสื้อของผู้เล่นทุกคนจะต้องติดหมายเลขด้านหลังให้เห็นได้ชัดเจนให้แต่ละทีมใช้หมายเลข 1 – 15 เท่านั้น มีขนาดความสูงไม่น้อยกว่า 19 เซนติเมตร ซึ่งกำหนดให้ผู้เล่นจะต้องมีเพียงหมายเลขเดียวตลอดการแข่งขัน ( tournament )
ข้อที่ 7. การเปลี่ยนตัวผู้เล่น ( SUBSTITUTION )
7.1ผู้เล่นคนใดที่ได้ลงแข่งขันในแต่ละทีม หรือได้เปลี่ยนตัวไปแล้วจะไม่อนุญาตให้ลงแข่งในทีม ( regu )อื่นๆอีก สำหรับการแข่งขันประเภททีมชุด ( team ) เฉพาะครั้งนั้นๆ
7.2 การเปลี่ยนตัวผู้เล่นจะกระทำเวลาใดก็ได้ โดยผู้จัดการทีมยื่นขอต่อกรรมการผู้ชี้ขาด เมื่อลูกตะกร้อไม่ได้อยู่ในการเล่น ( ลูกตาย )
7.3 แต่ละทีม ( regu ) มีผู้เล่นสำรองไม่เกิน 2 คน แต่อนุญาต ให้เปลี่ยนตัวผู้เล่นได้ 1 คนเท่านั้น
7.4 ผู้เล่นคนใดถูกผู้ตัดสินให้ออกจากการแข่งขัน จะได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนตัวผู้เล่นได้ ถ้าหากว่ายังมิได้มีการเปลี่ยนตัว
7.5 ทีมใด ( regu ) มีผู้เล่นน้อยกว่า 3 คน จะไม่อนุญาตให้ทำการแข่งขันและปรับทีมนั้นเป็นแพ้การแข่งขัน
ข้อที่ 8 เจ้าหน้าที่ ( OFFICIALS )
กีฬาเซปักตะกร้อ มีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการแข่งขันดังต่อไปนี้
8.1 กรรมการผู้ชี้ขาด 1 คน
8.2 กรรมการผู้ตัดสิน 2 คน ( ผู้ตัดสิน 1 คนผู้ช่วยผู้ตัดสิน 1 คน )
8.3 กรรมการผู้กำกับเส้น 6 คน ( กำกับเส้นข้าง 4 คน และกำกับเส้นหลัง 2 คน
ข้อที่ 9. การเสี่ยงและการอบอุ่นร่างกาย ( THE COIN TOSS AND WARM UP )
ก่อนเริ่มการแข่งขันกรรมการผู้ตัดสินจะทำการเสี่ยง ผู้ชนะการเสี่ยงมีสิทธิ์เลือกลูกส่ง หรือเลือกแดนก็ได้ ทีมที่ชนะการเสี่ยงจะเป็นทีมที่อบอุ่นร่างกายในสนามก่อนเป็นเวลา 2 นาที แล้วตามด้วยทีมที่เหลืออยู่ด้วย
ตะกร้อที่ใช้ในการแข่งขัน และให้มีบุคคลอยู่ในสนามได้ 5 คนเท่านั้น ( ผู้เล่นตัวจริง 3 คน และหรือ ผู้จัดการทีม ผู้ฝึกสอนและผู้เล่นสำรอง )
ข้อที่ 10. ตำแหน่งของผู้เล่นระหว่างการส่งลูก ( OSITION OF PLAYERS DURING SERVICE )
10.1 เมื่อเริ่มผู้เล่นทั้งสองทีม ( both regus ) ต้องยืนอยู่ในที่ที่กำหนไว้ในแดนของตน ลักษณะที่เตรียมพร้อม
10.2 ผู้เสิร์ฟ ( tekong ) ต้องวางเท้าหลักอยู่ในวงกลมเสิร์ฟ
10.3 ผู้เล่นด้านหน้าทั้งสองคนของฝ่ายเสิร์ฟจะต้องยืนอยู่ในเสี้ยววงกลมตนเอง
10.4 ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามจะยืนอยู่ที่ใดก็ได้ในแดนของตน
ข้อที่ 11. การเริ่มเล่นและการส่งลูก ( THE START OF PLAY AND SERVICE )
11.1 การเริ่มเล่นให้ฝ่ายที่ได้เสิร์ฟ เป็นฝ่ายส่งลูกก่อนในเซตแรก ทีมที่ชนะในเซตแรกจะได้รับสิทธิ์เลือกการเสิร์ฟในเซตที่ 2
11.2 เมื่อกรรมการผู้ตัดสินขานคะแนนแล้ว ถือเป็นการเริ่มเล่น ผู้โยนจะต้องโยนลูกตะกร้อออกไปให้ผู้เสิร์ฟลูก หากผู้โยนโยนลูกตะกร้อออกไปก่อนกรรมการผู้ตัดสินขานคะแนนต้องโยนใหม่ และต้องเตือนผู้โยนนั้น
11.3 ระหว่างการเสิร์ฟ ในทันทีที่ผู้เสิร์ฟได้เตะลูกตะกร้อแล้วผู้เล่นทุกคนสามารถเคลื่อนที่ในแดนของตนได้
11.4 การเสิร์ฟที่ถูกต้อง เมื่อลูกตะกร้อได้ข้ามไปยังฝ่ายตรงข้ามระหว่างแถบตาข่าย ไม่ว่าจะสัมผัสตาข่ายหรือไม่ก็ตาม ต้องให้ลูกตกสู่พื้นอยู่ในขอบเขตของสนาม
ข้อที่ 12. การผิดกติกา ( FAULTS )
12.1 สำหรับผู้เล่นฝ่ายเสิร์ฟ ระหว่างการเสิร์ฟ
12.1.1 ผู้เล่นหน้า คนที่ทำหน้าที่โยนลูกกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งโดยไม่ได้โยนให้ผู้เสิร์ฟเตะลูกส่ง เช่น โยนลูกเล่น เคาะลูกเล่น โยนลูกให้ผู้เล่นหน้าอีกคน ฯลฯ หลังจากผู้ตัดสินขานคะแนนแล้ว
12.1.2 ผู้เล่นหน้ายกเท้าหรือเหยียบเส้น หรือถูกตาข่าย หรือส่วนของร่างกายล้ำเข้าไปในแดนฝ่ายตรงข้ามขณะที่โยนลูก
12.1.3 ผู้เสิร์ฟ กระโดดเสิร์ฟ
12.1.4 ผู้เสิร์ฟไม่ได้เตะลูกที่โยน
12.1.5 ลูกตะกร้อถูกผู้เล่นฝ่ายเดียวกันก่อนข้ามตาข่าย
12.1.6 ลูกตะกร้อข้ามตาข่ายแต่ออกนอกเขตสนาม
12.1.7 ลูกตะกร้อไม่ข้ามตาข่าย
12.2 สำหรับผู้เล่นฝ่ายรับ ระหว่างการเสิร์ฟ เจตนากระทำในลักษณะที่ทำให้ฝ่ายเสิร์ฟลูกเสียสมาธิ หรือส่งเสียงรบกวน หรือร้องตะโกน
12.3 สำหรับผู้เล่นทั้งสองฝ่าย ระหว่างการแข่งขัน
12.3.1 ถูกลูกตะกร้อในแดนฝ่ายตรงข้าม
12.3.2 ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายล้ำเข้าไปในแดนของฝ่ายตรงข้ามไม่ว่าจะเป็นด้านบนหรือด้านล่างของตาข่าย ยกเว้นการติดตามล้ำตาข่ายหรืการลงสู่พื้นภายหลังการเล่นลูก ( follow through )
12.3.3 เล่นลูกเกิน 3 ครั้ง
12.3.4 ลูกถูกมือหรือแขน
12.3.5 หยุดลูก หรือยึดลูกไว้ใต้แขน ระหว่างขาหรือลำตัว
12.3.6 ส่วนหนึ่งของร่างกายหรืออุปกรณ์ของเครื่องแต่งกายผู้เล่น ถูกตาข่ายหรือถูกเสาหรือถูกเก้าอี้กรรมการผู้ตัดสิน หรือตกลงในพื้นที่ฝ่ายตรงข้าม
12.3.7 ลูกตะกร้อถูกเพดาน หลังคา ผนัง หรือสิ่งกีดขวางอื่นๆ
ข้อที่ 13. การนับคะแนน ( SCORING SYSTEM )
13.1 ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายเสิร์ฟหรือฝ่ายรับก็ตาม เมื่อมีการทำผิดกติกาเกิดขึ้น ( fault ) ฝ่ายตรงข้ามจะได้คะแนนทันทีและจะเป็นฝ่ายเสิร์ฟต่อไป
13.2 ทีมที่ชนะการแข่งขันในแต่ละเซตจะต้องทำคะแนนได้ 21 คะแนน แต่ถ้าคะแนนเท่ากันที่ 20 : 20 ผู้ชนะจะต้องมีคะแนนต่างกัน 2 คะแนนและคะแนนสูงสุดไม่เกิน 25 คะแนน เมื่อคะแนน 20 เท่า ผู้ตัดสินต้องขานว่า “ดิวส์คู่” ไม่เกิน 25 แต้ม
13.3 การแข่งขันจะต้องชนะกัน 2 เซต โดยมีการพักระหว่างเซต 2 นาที
13.4 ถ้าแต่ละทีมชนะกันทีมละ 1 เซต จะต้องทำการแข่งในเซตที่ 3 ซึ่งเรียกว่า “ไทเบรค” โดยแข่งขันกัน 15 คะแนน แต่ถ้าคะแนนเท่ากันที่ 14 : 14 ผู้ชนะจะต้องมีคะแนนต่างกัน 2 คะแนน และคะแนนสูงสุดไม่เกิน 17 คะแนน เมื่อคะแนน 14 เท่า ผู้ตัดสินต้องขานว่า “ดิวส์คู่” ไม่เกิน 17 แต้ม
13.5 ก่อนเริ่มการแข่งขันในเซตที่ 3 ผู้ตัดสินต้องทำการเสี่ยง ผู้ชนะในการเสี่ยงจะได้สิทธิ์เลือกการเสิร์ฟและให้มีการเปลี่ยนแดนเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำคะแนนได้ 8 คะแนน
ข้อที่ 14. การขอเวลานอก ( TIME OUT )
แต่ละทีม ( regu ) สามารถขอเวลานอกได้เซตละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 1 นาที โดยให้ผู้จัดการทีมหรือผู้ฝึกสอนขอเวลานอกต่อกรรมการผู้ตัดสินเมื่อลูกตระก้อไม่ได้อยู่ในการเล่น และมีบุคคลในระหว่างการขอเวลานอกได้ 5 คน ที่บริเวณท้ายสนามของแต่ละด้าน
ข้อที่ 15. อุบัติเหตุและการหยุดการแข่งขัน ( TEMPORARY SUSPENSION OF PLAY )
15.1 กรรมการผู้ตัดสินสามารถหยุดการแข่งขันได้ไม่เกิน 5 นาที เนื่องจากมีสิ่งกีดขวางหรือรบกวนการแข่งขัน หรือผู้เล่นเกิดบาดเจ็บและต้องได้รับการดูแลทันที
15.2 การหยุดพักสำหรับผู้เล่นที่ได้รับบาดเจ็บถือเป็นเวลานอก สำหรับการบาดเจ็บอนุญาตให้พักการแข่งขันได้ไม่เกิน 5 นาที ภายหลังจากหยุดครบ 5 นาทีแล้ว ผู้เล่นคนนั้นไม่สามารถทำการแข่งขันต่อได้ จะต้องทำการเปลี่ยนตัวผู้เล่นนั้นออก ถ้าเกิดกรณีที่มีการเปลี่ยนตัวผู้เล่นไปแล้ว ให้ปรับทีมนั้นเป็นแพ้ และให้ฝ่ายตรงข้ามชนะการแข่งขันในครั้งนั้น
15.3 ในระหว่างหยุดพักการแข่งขัน ผู้เล่นทุกคนต้องอยู่ในสนามและไม่อนุญาตให้ดื่มน้ำหรือได้รับการช่วยเหลือใดๆทั้งสิ้น
ข้อที่ 16. วินัยและมารยาทในการแข่งขัน ( DISCIPLINE )
16.1 ผู้เล่นทุกคนจะต้องปฏิบัติตามกติกาการแข่งขัน
16.2 ในระหว่างการแข่งขันจะอนุญาตให้หัวหน้าทีมเท่านั้นเป็นผู้ติดต่อหรือซักถามต่อกรรมการผู้ตัดสิน ( ในลักษณะสุขภาพ )
ข้อที่ 17. ความผิดและบทลงโทษ ( PENALTY )
17.1 ความผิดที่ถูกตักเตือน
ผู้เล่นที่กระทำความผิดจะต้องถูกตักเตือนและได้รับบัตรเหลืองใน 6 กรณีดังต่อไปนี้
17.1.1 ปฏิบัติตนไม่มีน้ำใจนักกีฬา
17.1.2 แสดงกิริยาและวาจาไม่สุภาพ
17.1.3 ไม่ปฏิบัติตามกฎ กติกาการแข่งขัน
17.1.4 ถ่วงเวลาการแข่งขัน
17.1.5 เข้าหรือออกสนาม โดยไม่ได้อนุญาตจากผู้ตัดสิน
17.1.6 เจตนาเดินออกไปจากสนาม โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสิน
17.2 ความผิดที่ถูกให้ออกจากการแข่งขัน
ผู้เล่นที่กระทำความผิดถูกให้ออกจากการแข่งขันและได้รับบัตรแดงมี 5 กรณี ดังต่อไปนี้
17.2.1 กระทำผิดกติกาอย่างร้ายแรง
17.2.2 ประพฤติร้ายแรงโดยเจตนาทำให้คู่ต่อสู้บาดเจ็บ
17.2.3 ถ่มน้ำลายใส่ฝ่ายตรงข้ามหรือผู้อื่น
17.2.4 ทำความผิดอย่างร้ายแรงโดยสบประมาทหรือดูถูกและหรือแสดงกิริยาที่ไม่เหมาะสมไปยังฝ่ายตรงข้าม
17.2.5 ได้รับการเตือนด้วยบัตรเหลืองเป็นครั้งที่ 2 ในการแข่งขันครั้งนั้น
17.3 ผู้เล่นที่กระทำผิดถูกเตือนหรือให้ออกจากการแข่งขันไม่ว่าจะเป็นความผิดทั้งในหรือนอกสนามแข่งขัน ผู้เล่นฝ่ายเดียวกัน กรรมการผู้ตัดสิน ผู้ช่วยผู้ตัดสิน หรือบุคคลอื่นๆให้พิจารณาลงโทษตามความผิดที่ได้กระทำขึ้น
ข้อที่ 18. ความผิดขอเจ้าหน้าที่ทีม ( MISCONDCT OF OFFICIALS )
ในระหว่างการแข่งขันหากทีมหรือเจ้าหน้าที่ของทีมคนหนึ่งคนใดกระทำความผิดเกี่ยวกับวินัยและมารยาท ทั้งในสนามและนอกสนามแข่งขัน เจ้าหน้าที่ทีมหรือทีมนั้นๆจะต้องถูกพิจารณาลงโทษทางวินัยและมารยาท
ข้อที่ 19. บททั่วไป ( GENERAL )
ในการแข่งขันหากมีปัญหาหรือเรื่องราวใดๆก็ตามที่เกิดขึ้นในทุกกรณี ซึ่งนอกเหนือจากที่มิได้ระบุไว้ในกกติกาข้อใดๆของการแข่งขัน ให้ถือคำตัดสินของกรรมการผู้ชี้ขาดเป็นที่สิ้นสุด
กติกาการแข่งขันตะกร้อข้ามตาข่ายชองสมาคมกีฬาไทย ในพระบรมชูปถัมภ์
สนาม
1. ก. สนามจะต้องทำแบบ ก. ( เว้นแต่ในกรณีที่กล่าวไว้ในวรรค ข. แห่งกติกาข้อนี้ ) ซึ่งมีความกว้างยาวตามที่แสดงไว้ในแบบนั้น และจะต้องทำเส้นด้วยสีขาว หรือสีดำ หรือสีอื่นๆ ทั้งเห็นได้ง่าย ความกว้างของเส้น 1 ½ นิ้ว ( 0.038 เมตร )
ในการทำสนาม เส้นกลางจะแบ่งสนามออกเป็นสองส่วนเท่ากัน ส่วนหนึ่งอยู่ในสนามส่งลูกข้างขวา อีกส่วนหนึ่งอยู่ในสนามที่ส่งลูกข้างซ้าย ความกว้างของเส้นส่งลูกสั้นและเส้นส่งลูกยาวจะต้องรวมอยู่ในความยาว 13 ฟุต ( 3.96 เมตร) ของสนามส่งลูก และความกว้างของเส้นเขตต่างๆจะต้องรวมอยู่ในความกว้างของเส้นเขตต่างๆจะต้องรวมอยู่ในความกว้างยาวของสนามที่กำหนดไว้
ข. ในที่ใดที่ไม่สามารถทำสนามสำหรับเล่นคู่ แต่อาจทำสนามสำหรับเล่นเดี่ยวได้ ก็ต้องตามที่แสดงไว้ตามแบบ ข. เส้นหลังจะกลายเป็นเส้นส่งลูกยาวไปด้วยและเสาหรือวัสดุอย่างอื่นใช้แทนเสา ดังกล่าวในกติกาข้อ 2 จะต้องตั้งอยู่ห่างจากเส้นเขตของสนามตรงกับเส้นแบ่งเขตข้างละ 1 ฟุต ( 0.305 เมตร )
เสา
2. เสาจะต้องสูง 5 ฟุต 1 นิ้ว ( 1.55 เมตร ) จากพื้นสนาม และจะต้องมั่นคงพอจะยึดตาข่าย ดังกล่าวในกติกาข้อ 3 ให้ขึงตึงอยู่ได้ และจะต้องตั้งอยู่ตรงกับเส้นแบ่งแดนเขตข้างของสนาม ดังกล่าวในข้อ 1 ข. ในกรณีที่จะทำการแข่งขันประเภทเดี่ยวจะต้องใช้วิธีหนึ่งวิธีใดที่แสดงให้เห็นว่า เส้นเขตข้างอยู่ใต้ตาข่าย เช่น ใช้เสาบางๆกว้างไม่น้อยกว่า 1 1/2 นิ้ว ( 0.38 เมตร ) ไว้ที่เส้นเขตข้างให้ตั้งชี้มาที่ตาข่าย
ตาข่าย
3. ตาข่ายจะต้องทำด้วยด้ายย้อมฝาดเส้นเล็ก มีตากว้างยาว 3/4 นิ้ว ( 0.019 เมตร ) ตาข่ายจะต้องขึงให้ตึงจากเสาหนึ่งถึงอีกเสาหนึ่งและจะต้องกว้าง 2 ฟุต 6 นิ้ว (0.76 เมตร) ริมบนของตาข่ายจะต้องห่างจากพื้นสนามตอนจุดกลางสนาม 5 ฟุต ( 1.524 เมตร ) และเสาจะต้องสูงจากพื้นสนาม 5 ฟุต 1 นิ้ว ( 1.55 เมตร ) ตอนบนของตาข่ายติดแถบสีขาวพับ 2 ขนาดกว้าง 3 นิ้ว ( 0.076 เมตร ) มีเชือกหรือลวดร้อยตลอดแถบผ้านี้ และขึงตึงให้ได้ระดับกับหัวเสาทั้งสองข้าง
ตะกร้อ
4. ลูกตะกร้อจะต้องสานด้วยหวายหรือใยสังเคราะห์ชนิด 6 เส้นขึ้นไป เป็นรูปทรงกลมขนาดวัดโดยรอบไม่น้อยกว่า 16 นิ้ว และไม่เกิน 17 นิ้ว น้ำหนักเมื่อเริ่มการแข่งขันลูกตะกร้อไม่เบากว่า 170 กรัม และไม่หนักกว่า 220 กรัม ในการแข่งขันทุกครั้งให้ใช้ลูกตะกร้อของกรรมการที่สนามจัดไว้
ผู้เล่น
ก. คำว่าผู้เล่น หมายถึงผู้ร่วมเล่นในเกมทุกคน
ข.ในการเล่นประเภท 3 คน ผู้เล่นต้องมีข้างละ 3 คน ในการเล่นประเภทคู่ ผู้เล่นจะต้องมีข้างละ 2 คน และในการเล่นประเภทเดี่ยว ผู้เล่นจะต้องมีข้างละ 1 คน
ค.ข้างใดที่มีสิทธิ์ส่งลูก จะต้องเรียกว่า ข้างส่งลูก ส่วนอีกข้างหนึ่งนั้นให้เรียกว่า ข้างรับลูก
การสี่ยง
ก่อนที่จะเริ่มต้นเล่น ทั้งสองข้างต้องทำการเสี่ยง ข้างที่ชนะการเสี่ยงมีสิทธิ์ที่จะเลือก
ก. เลือกส่งลูกก่อน หรือ
ข. ไม่ส่งลูกก่อน หรือ
ค. เลือกแดนด้านใดด้านหนึ่ง
ข้างที่แพ้การเสี่ยงจะเลือกได้แต่ข้อที่ยังเหลืออยู่เท่านั้น
การนับคะแนน
7. ก. การเล่นประเภท 3 คน เกมหนึ่งมี 21 คะแนน เมื่อได้ 19 หรือ 20 คะแนนเท่ากัน ข้างที่ได้ 19 หรือ 20 คะแนนก่อน มีสิทธิ์ที่จะเลือกกำหนด ให้เกมนั้นเริ่มต่อไปอีก 5 คะแนน หรือเล่นต่อไปจนครบ 21 คะแนน ในกรณีเช่นนี้ ถ้าผู้มีสิทธิ์เลือก “ ล่นแต้มต่อ ” เล่นต่อไปอีก 5 คะแนน เมื่อได้ 19 หรือ 20 คะแนนเท่ากันแล้วคะแนนก็จะเสมอกัน และข้างที่ได้ 5 คะแนนก่อนจะเป็นฝ่ายชนะในเกมนั้น
การเรียกร้อง “เล่นแต้มต่อ” การเล่นดังกล่าวในข้อนี้จะต้องกระทำก่อนการส่งลูกในครั้งต่อไป จากที่ได้คะแนน 19 หรือ 20 เท่ากัน
ข. การเล่นประเภทคู่ เกมหนึ่งมี 15 คะแนน เมื่อได้ 13 หรือ 14 คะแนนก่อน มีสิทธิ์ที่เลือก “ เล่นแต้มต่อ ” .ให้เกมนั้นเล่นต่อไปอีก 3 คะแนน หรือเล่นต่อไปจนครบ 15 คะแนน ในกรณีเช่นนี้ถ้าผู้มีสิทธิ์เลือก “เล่นแต้มต่อ” เล่นต่อไปอีก 3 คะแนน เมื่อได้ 13 หรือ 14 คะแนนเท่ากันแล้ว คะแนนก็จะเสมอกัน ข้างที่ได้ 3 คะแนนก่อน จะเป็นฝ่ายชนะในเกมนั้น
ค.การเล่นประเภทเดี่ยว เกมหนึ่งมี 11 คะแนน เมื่อได้ 9 หรือ 10 คะแนนเท่ากัน ข้างที่ได้ 9 หรือ 10 คะแนนก่อน มีสิทธิ์ที่จะเลือก “ เล่นแต้มต่อ ” เล่นต่อไปอีก 3 คะแนน เมื่อได้ 9 หรือ 10 คะแนนเท่ากันแล้วคะแนนก็จะเสมอกัน ข้างที่ได้ 3 คะแนนก่อน เป็นฝ่ายชนะในเกมนั้น
การเรียกร้อง “เล่นแต้มต่อ” ให้เป็นไปตามกติกาข้อ 7 ก. วรรค 2
ง. ฝ่ายใดที่สละสิทธิ์เลือกกำหนดการเล่น ซึ่งเกิดขึ้นในโอกาสแรกแล้วก็ไม่มี่สิทธิ์เลือก “ เล่นแต้มต่อ ” ในโอกาสที่เกิดขึ้นเป็นครั้งที่ 2
จ. ในการเล่นที่มีแต้มต่อแต่ไม่ยอมให้ใช้สิทธิ์เลือก “เล่นแต้มต่อ”
ถ้าไม่ได้ตกลงกันเป็นอย่างอื่น จะต้องเล่นให้ชนะเกมมากที่สุดใน 3 เกม ผู้ที่เล่นจะเปลี่ยนข้างกันเมื่อจะตั้งต้นเล่นเกมที่ 2 และเมื่อจะตั้งต้นเล่นเกมที่ 3 ก็ต้องเปลี่ยนข้างกัน ( ถ้าต้องเล่นถึงเกมที่ 3 ) และในการเล่นเกมที่ 3 นี้ก็จะต้องเปลี่ยนข้างกัน ตามคะแนนที่ได้ ดังที่กำหนดไว้ต่อไปนี้ คือ
ก. 11 คะแนนสำหรับเกม 21 คะแนน
ข. 8 คะแนนสำหรับ 15 คะแนน
ค. 6 คะแนนสำหรับเกม 11 คะแนน
หรือในการเล่นชนิดที่การเล่นมีแต้มต่อ ข้างใดข้างหนึ่งทำได้ครึ่งหนึ่งของจำนวนคะแนนทั้งหมดที่จะต้องทำเพื่อชนะเกมนั้น ( ในกรณีที่มีเศษให้ปัดขึ้น ) ถ้ามีการตกลงจะเล่นเกมเดียว ผู้เล่นจะต้องเปลี่ยนข้างดังกล่าวไว้ตามการเปลี่ยนแปลงข้างในเกมที่ 3 ข้างบนนี้
ถ้าผู้เล่นละเว้นการเปลี่ยนข้างตามกติกาที่วางไว้นี้โดยไม่ตั้งใจ ผู้เล่นจะต้องเปลี่ยนข้างทันทีที่รู้สึกตัวว่าตนผิด แต่คะแนนที่ได้อยู่เท่าใดก็ให้นับต่อไปตามนั้น
การเล่นประเภท 3 คน
9. ก. เมื่อได้ตกลงว่า ฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายส่งลูกก่อน ผู้เล่นซึ่งอยู่ในสนาม “ ส่งลูก ” ต้องส่งลูกทแยงมุมตรงกันข้ามถ้าผู้เล่นนั้นโต้ลูกกลับไปก่อนที่ลูกจะถูกพื้นลูกนี้ก็จะถูกโต้กลับมาโดยข้าง“ ส่งลูก ”แล้วข้าง “ รับลูก” ก็จะโต้กลับไปอีก โต้กลับไปกลับมาเรื่อยไปจนกระทั่งเกิด“ เสีย ”ขึ้น หรือจนกระทั้งลูกอยู่ใน“ การเล่น ” (ดูกติกาข้อนี้วรรค ข.) ถ้าข้าง “ ส่งลูก ” ทำลูก “ เสีย ” การส่งลูกของผู้ส่งลูกคนแรกก็หมดสิทธิ์ ข้าง “ ส่งลูก ” ก่อน ส่งลูกได้เพียงคนแรกคนเดียวเท่านั้น (ดูกติกาข้อ 11) แล้วผู้เล่นของอีกข้างหนึ่งที่อยู่ในสนาม ส่งลูกด้านขวามือก็กลับเป็นผู้ส่งลูก ถ้าข้าง “ รับลูก ” โต้ลูกกลับไปไม่ได้หรือทำ “ เสีย ” ข้าง “ ส่งลูก ” ก็ได้ 1 คะแนน เมือได้คะแนนแล้ว ผู้เล่นข้าง “ ส่งลูก ” ผู้นั้นก็เปลี่ยนที่ส่งลูกโดยเปลี่ยนจากสนามด้านขวามือไปส่งลูกในสนามด้านซ้ายมือส่งไปยังผู้เล่นอีกข้างหนึ่ง ซึ่งอยู่ในสนามทแยงมุมตรงข้าม ตราบใดที่ฝ่ายนั้นยังเป็นฝ่าย “ ส่งลูก ” อยู่ การส่งลูกก็จะต้องลงจากสนามส่งลูกไปยังสนามรับลูกอีกข้างหนึ่ง ซึ่งอยู่ทแยงมุมตรงกันข้าม การเปลี่ยนสนามส่งลูกโดยข้าง “ ส่งลูก ” จะกระทำได้ต่อเมื่อตนทำคะแนนเพิ่มขึ้นได้ทุก 1 คะแนน
ข. ฝ่ายส่งลูก จะต้องส่งลูกแรกจากสนามส่งลูกด้านขวามือ เมื่อผู้ส่งลูกได้เล่นลูกจนกระทั่งส่งลูกออกไปแล้ว ต่อจากนี้ไปจะต้องถือว่าลูกอยู่ในการเล่นจนกว่าลูกนั้นถูกพื้นหรือเกิดการ “ เสีย ” หรือ “ เอาใหม่ ” เกิดขึ้น นอกจากที่ได้กำหนดไว้ในข้อ 19 เมื่อได้ส่งลูกไปแล้วจนกระทั่งลูกนั้นได้ข้ามตาข่ายไปยังข้างรับลูก ผู้ส่งลูกจะอยู่ ณ ที่หนึ่งที่ใดในด้านของฝ่ายตน ซึ่งมีตาข่ายกั้นอยู่เป็นเขตก็ได้ โดยไม่คำนึงถึงเส้นเขตต่างๆ
ในการเล่น ผู้เล่นจะเปลี่ยนแนวหรือตำแหน่งกันได้ก็ต่อเมื่อหมดสิทธิ์การรับ-ส่ง และผู้ตัดสินอนุญาตแล้วเท่านั้น
10. ผู้ที่จะรับลูกส่งได้ ต้องเป็นผู้ที่ส่งลูกมาให้เท่านั้น แต่ถ้าลูกถูกตัวผู้เล่นรวมกันกับผู้รับส่งลูก หรือผู้ที่เล่นรวมกับผู้รับลูกส่งเว้นผู้เล่นแนวหลัง (มือที่สาม) เล่นลูกนั้น ข้างส่งลูกได้ 1 คะแนน ผู้เล่นคนเดียวกันจะรับลูกส่งที่ฝ่ายส่งมาซ้ำกันสองครั้งติดกันไม่ได้ในเกมเดียวกัน นอกจากที่ได้กำหนดไว้ในข้อ 12
11. ข้างที่เริ่มเล่นเกมแรก หรือในเกมต่อไปจะส่งลูกได้คนเดียวในการเล่นคราวแรก ผู้ส่งลูกนั้นจะส่งลูกได้เรื่อยไปด้วยการเปลี่ยนแดนส่งเมื่อตนได้คะแนนเพิ่มขึ้น 1 คะแนน ทุกครั้งเรื่อยไปจนกว่าตนทำเสีย จากนั้นให้อีกฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายส่งลูกได้อีก 2 คน จนกว่าฝ่ายตนจะทำเสีย 2 ครั้ง ผู้ร่วมเล่นแต่ละข้างจึงจะส่งลูกได้ครบตามจำนวน ในการส่งลูกเริ่มเล่นในกมต่อไปให้ฝ่ายที่ไม่ได้เริ่มส่งครั้งแรกเป็นฝ่ายส่งลูก ถ้าเริ่มเล่นในเกมที่สามให้ฝ่ายที่ไม่ได้ส่งลูกในเกมที่สองเป็นฝ่ายส่งลูกก่อน
12. ถ้าผู้เล่นยืนผิดแดนเวลาส่งลูกและบังเอิญเป็นฝ่ายได้แต้มจะต้องมีการให้เอาใหม่โดยเงื่อนไขการให้ “เอาใหม่” นี้ จะต้องใช้สิทธิ์เรียกร้องก่อนจะมีการส่งลูกในครั้งต่อไป
ถ้าผู้เล่นยืนผิดแดน และไม่ทราบว่าตนยืนผิด จนกระทั่งมีการส่งลูกในคราวต่อไปแล้ว ถือว่าให้ผ่านไปและจะใช้สิทธิ์ให้ “เอาใหม่” ไม่ได้ และตำแหน่งที่ยืนของผู้เล่นก็ต้องปล่อยไว้จนกว่าจะหมดเกม
การเล่นประเภทคู่
ในการเล่นประเภทคู่ให้ใช้กติกาข้อ 9 – 12 เว้นแต่วิธีการเล่นครั้งแรกผู้ส่งลูกเริ่มเล่นได้เพียงคนเดียว เมื่อลูกเสียโดยฝ่ายส่งลูกเป็นผู้กระทำ ให้เปลี่ยนข้างส่งลูกโดยผู้ส่งครั้งหลังส่งเรื่อยไปจนกว่าฝ่ายตนจะทำเสียทั้งสองคน
การเล่นประเภทเดี่ยว
13. ในการเล่นประเภทเดี่ยวให้ใช้กติกาข้อ 9 – 12 เว้นแต่
ก. ผู้เล่นจะต้องส่งลูก หรือรับลูกส่งในสนามรับลูกส่งขวามือ แต่เฉพาะเมื่อการนับคะแนนของผู้ส่งลูกจำนวนศูนย์หรือจำนวนเลขคู่เท่านั้น การส่งลูกและรับส่งลูกจะต้องส่งและรับในสนามส่งลูกซ้ายมือ เมื่อการนับแต้มของผู้ส่งลูกได้จำนวนเป็นเลขคี่
ข. ผู้เล่นทั้งสองต้องเปลี่ยนแดนส่งลูก ภายหลังที่ทำคะแนนได้ 1 คะแนน ทุกครั้ง
การทำ “เสีย”
การทำเสียซึ่งผู้เล่นที่เป็นข้าง “ส่งลูก” เป็นผู้ทำขึ้น จะทำให้ลูกตาย แต่ถาผู้เล่นข้างฝ่ายรับลูกเป็นผู้ทำขึ้น ข้างส่งลูก ได้คะแนน 1 คะแนน
การทำเสียเกิดขึ้นเมื่อ
ก. ในการส่งลูก ถ้าเล่นลูกเกินกว่า 1 ครั้ง และขัดที่เล่นลูกนั้นสูงกว่าระดับเข็มขัดปกติ
ข. ในการส่งลูก ถ้าลูกไปตกลงในสนามส่งลูกที่ผิด คือ ไม่ตกทแยงมุมตรงกันข้ามกับผู้ส่งลูก หรือตกไม่ถึงเส้นส่งลูกสั้นหรือตกเลยเส้นส่งลูกยาว หรือตกนอกเส้นเขตข้างของสนามส่งลูก ที่ต้องส่งลูกนั้นไป
ค. ถ้าเท้าของผู้ส่งลูกไม่อยู่ในสนามส่งลูก ที่จะต้องส่งลูกไป หรือเท้าของผู้เล่นที่เป็นฝ่ายรับลูกส่ง ไม่อยู่ในสนามส่งลูกที่อยู่ทแยงมุมตรงกันข้าม จนกระทั่งลูกได้ส่งออกมาแล้ว (ดูกติกาข้อ 16)
ง. ในขณะที่ทำการส่งลูก หรือก่อนที่จะส่งลูก ถ้าผู้เล่นคนใดหลอกล่อ หรือกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด อันเป็นการกระทำให้ไม่สะดวกแก่คู่ต่อสู้ของเขา
จ. ในการส่งลูกก็ดี หรือในการโต้ลูกไปตกนอกเขตสนามหรือผ่านทะลุตาข่ายไป หรือผ่านไปใต้ตาข่ายหรือไม่ข้ามตาข่ายหรือไปถูกหลังคา หรือฝาผนัง หรือถูกตัวหรือเครื่องแต่งกายของผู้เล่นคนหนึ่งคนใด(ลูกที่ตกลงบนเส้นจะต้องถือว่าได้ตกลงบนสนามหรือสนามส่งลูก หรือเส้นนั้นเป็นขอบเขต)
ฉ. ถ้าลูกที่กำลังเล่น ฝ่ายโต้ได้เล่นลูกก่อนที่จะข้ามตาข่ายมาข้างตน(อย่างไรก็ดี ผู้เล่นลูกอาจใช้ส่วนของร่างกายที่ถูกลูกตามกติกาตามลูกที่ตนเล่นไปได้)
ช. เมื่อลูกอยู่ในเวลา “กำลังเล่น” ผู้เล่นคนใดคนหนึ่งถูกตาข่ายหรือที่ขึงตาข่าย ด้วยส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย หรือด้วยเครื่องแต่งกาย
ซ. ถ้าลูกถูกตัวฝ่ายผู้เล่นเกินกว่าสองครั้งติดๆกัน โดยผู้เล่นคนเดียวกันหรือลูกถูกตัว โดยผู้เล่นและผู้ร่วมเล่นฝ่ายเดียวกันติดๆกัน
ฌ. ถ้าผู้เล่นคนใดคนหนึ่งกีดขวางฝ่ายตรงข้าม
ญ. ในการเล่นแต่ละครั้งถ้าลูกถูกตัวผู้เล่นข้างเดียวกันเกินกว่า 1 คน
ฎ. ถ้าฝ่าฝืนกติกาข้อ 16.
ฏ. เล่นลูกด้วยแขนท่อนบน แขนท่อนล่าง ศอกข้าง ศอกหน้า และมือ(ยกเว้นยอมให้ผู้เล่นใช้ศอกหลัง ไหล่ และศีรษะได้)
กติกาทั่วไป
ผู้ส่งลูก จะต้องไม่ส่งลูกจนกว่าคู่ต่อสู้ของเขาพร้อมแล้วว่าพยายามจะโต้ลูกที่ส่งไปนั้น
ผู้ส่งลูกและผู้เล่นที่รับลูกส่ง ต้องยืนอยู่ภายในขอบเขตสนามรับลูกส่งของตน(ตามที่กำหนดเขตไว้โดยมีเส้นส่งลูกยาว เส้นส่งลูกสั้น เส้นกลางและเส้นข้าง)และบางส่วนของเท้าทั้งสอบข้างของผู้เล่นเหล่านี้ จะต้องถูกพื้นสนามอยู่ในท่านิ่ง จนกระทั่งการส่งลูกได้กระทำแล้วเท้าใดเท้าหนึ่งของผู้ส่งลูกก็ดีอยู่บนเส้นหรือถูกเส้น จะต้องถือว่าเท้านั้นอยู่นอกสนามส่งลูก และสนามรับส่งลูก (ดูกติกาข้อ 14 ค.)คู่ของผู้ส่งลูกและคู่ของผู้รับลูก จะยืนอยู่ ณ ที่ใดก็ได้ แต่ต้องไม่บังคับหรือกีดขวางการส่งลูกและรับลูก สำหรับผู้เล่นแนวหลังขณะรับและส่งจะยืนล้ำหน้าผู้เล่นแนวหน้าไม่ได้
ถ้าในการส่งลูกหรือโต้กัน ลูกกระทบตาข่ายและข้ามตาข่ายไปได้แล้วไม่ถือเป็นลูกเสีย ถ้าโต้ลูกผ่านออกไปนอกเสาตาข่ายข้างใดข้างหนึ่งแล้วไปตกบนเส้นหรือภายใต้เส้นเขตของสนามฝ่ายตรงกันข้าม เช่นนี้ถือว่า เป็นลูกเสีย ในกรณีที่เกิดการกีดขวางขึ้นโดยบังเอิญ หรือโดยคาดไม่ถึง ผู้ตัดสินอาจตัดสินให้
“เอาใหม่ ” ได้
ถ้าผู้ส่งลูกเล่นลูกส่งผิดเช่นนี้ ไม่ถือเป็นเสีย แต่ถ้าลูกได้ถูกร่างกายต้องถือว่าได้ส่งลูกแล้ว
ในระหว่างการเล่น ลูกถูกตาข่ายและติดตาข่ายอยู่ หรือถูกตาข่ายแล้วตกลงไปยังพื้นสนามด้านของผู้โต้ลูก หรือตกพื้นภายนอกสนามแล้วฝ่ายตรงข้ามคนหนึ่งถูกตาข่าย หรือโต้ลูก หรือตัวถูกลูก ไม่ถือว่าฝ่ายตรงข้ามผู้นั้นกระทำผิด เพราะเวลานั้นลูกมิได้อยู่ในการเล่น
ถ้าผู้เล่นคนใดคนหนึ่งมีโอกาสจะโต้ลูกในทางจากสูงลงต่ำเมื่อลูกนั้นอยู่ใกล้ตาข่ายมาก ฝ่ายตรงข้ามจะต้องไม่เอาส่วนของร่างกายยื่นเข้ามาใกล้ตาข่าย เพื่อให้มีโอกาสที่ลูกจะสะท้อนกลับจากร่างกายส่วนนั้นได้ การกระทำเช่นนี้เป็นการกระทำกีดขวาง ตามความหมายของกติกาข้อ 14 ( ญ )
เป็นหน้าที่ของผู้ตัดสินที่จะต้องขาน “เสีย” หรือ “เอาใหม่” เมื่อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น โดยไม่ต้องรอให้ผู้เล่นเรียกร้อง และต้องให้คำวินิจฉัยเด็ดขาดในการอุทธรณ์เกี่ยวกับการโต้เถียงเรื่องคะแนนซึ่งร้องเรียนขึ้นมาก่อนการส่งลูกครั้งต่อไปและผู้ตัดสินเลือกตั้งผู้กำกับเส้นตามที่เห็นสมควร คำวินิจฉัยของผู้ตัดสินต้องยืนยันตามคำบอกของผู้กำกับเส้น อย่างไรก็ดีถ้ามีการตั้งผู้ชี้ขาดขึ้น ซึ่งผู้ตัดสินได้วินิจฉัยโดยเด็ดขาดแล้วเท่านั้น
การดำเนินการแข่งขัน
การแข่งขันจะต้องดำเนินไป ตั้งแต่ต้นจนจบการแข่งขันเว้นไว้แต่
ก. ในการชิงชนะเลิศตะกร้อระหว่างชาติ จะมีการหยุดพักได้ไม่เกิน 5 นาที ในระหว่างเกมที่ 2 -3 ของการแข่งขัน
ข. ในประเทศที่เกี่ยวกับดินฟ้าอากาศ อาจจะมีการผ่อนผันให้พักได้ไม่เกิน 5 นาที ในระหว่างเกมที่ 2 -3 โดยได้รับความเห็นชอบจากองค์กรนานาชาติเป็นลายลักษณ์อักษรเสียก่อน ระหว่างการแข่งขันเกมที่ 2 – 3 ในประเภทเดี่ยว คู่ หรือสามคน
ค. เมื่อดินฟ้าอากาศไม่อำนวย ผู้ตัดสินอาจจะสั่งให้ยุติการแข่งขันได้ตามที่เห็นสมควร ถ้ามีการชะงักการแข่งขันครั้งนี้เกิดขึ้น คะแนนที่ได้ต้องอยู่คงเดิมและจะเริ่มต้นแข่งขันใหม่จากคะแนนที่ได้อยู่แล้วนั้น การแข่งขันจะหยุดไม่ได้ไม่ว่ากรณีใดๆทั้งสิ้น ในการที่จะให้นักกีฬาหยุดพักเพื่อจะได้มีกำลังเล่นต่อไป หรือเพื่อจะได้รับการแนะนำสั่งสอนวิธีการเล่นจากผู้อยู่นอกสนาม ผู้เล่นไม่มีสิทธิ์อกนอกสนามแข่งขันได้ก่อนที่จะจบการแข่งขันโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสินเสียก่อน ผู้ตัดสินมีสิทธิ์เพียงผู้เดียวที่จะหยุดการแข่งขันและมีสิทธิ์ที่จะตัดสิทธิ์ผู้เล่นหรือไล่ออกแก่ผู้กระทำผิดกติกา
การตีความ
การเคลื่อนไหวหรือการปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใด โดยผู้ส่งลูก ซึ่งมีผลขัดขวางความต่อเนื่องของการส่งลูกภายหลัง เมื่อผู้ส่งลูกและผู้รับลูกได้เข้ายืนตามตำแหน่งเพื่อส่งและรับลูกแล้ว ถือว่าเป็นการหลอกล่อ (ดูกติกาข้อ 14 ง.)
กรณีดังกล่าวถือเป็นเสีย ตามข้อ 14 (ช.)
ก. ถ้าลูกติดอยู่ที่ส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย ในระหว่างโต้ลูกแล้วสลัดออกไปแทนที่จะโต้โดยเฉียบขาด หรือ
ข. ถ้าเล่นลูกครู ไม่ว่ากรณีใดๆ
ถ้าผู้เล่นคนใดคนหนึ่งรุกเข้าไปในสนามของคู่ต่อสู้แม้จะเล็กน้อยหรือด้วยเครื่องแต่งกายก็ดี ให้ถือเป็นการกีดขวาง นอกจากที่อนุญาตให้ทำได้ในกติกาข้อ 14 (ฉ.) ดูกติกาข้อ 14(ญ.)
ในที่ที่มีความจำเป็นเนื่องจากลักษณะของผู้มีอำนาจเกี่ยวกับตะกร้อประจำท้องถิ่น อาจวางกฎเกณฑ์เกี่ยวกับลูกถูกสิ่งกีดขวางได้ แต่ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้สิทธิ์ของสมาคมแห่งชาติด้วย
ในระหว่างการโต้ลูก เมื่อลูกข้ามตาข่ายฝ่ายหนึ่งไปแล้ว และปรากฏว่าอีกฝ่ายได้ทำลูกเสีย หรือลูกตาย อีกฝ่ายจะถูกตาข่าย หรือเหยียบล้ำเส้นแบ่งแดน (ใต้ตาข่าย) ก็ได้ไม่ถือว่าเสีย
1. สนาม
ยาว 13.40 เมตร กว้าง 6.10 เมตร เพดานสูง 8.00 เมตร มีเส้นแบ่งแดนออกเป็น 2 ส่วนเท่ากัน มีเส้นครึ่งวงกลมทั้ง 2 แดน รัศมี 30 ซม. เสาสูง 1.55 เมตร ( เยาวชนอายุไม่เกิน 12 ปี ) และทีมหญิงเสาสูง 1.45 เมตร ตาข่ายกว้าง 70 ซม. ตรงกลางของตาข่ายสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 1.52 เมตร ( เยาวชน 1.42 เมตร )
2. ลูกตะกร้อ
ทรงกลม มีเส้นรอบวง 42 – 44 ซม. มี 12 รูกับ 20 จุดไขว้ตัด ทำด้วยหวายหรือใบสังเคระห์ ถ้าเป็นหวายต้องมี 9 – 11 เส้น น้ำหนัก 170 – 180 กรัม
3. เครื่องแต่งกาย
สวมเสื้อยืด กางเกงขาสั้น ต้องเอาชายเสื้อไว้ในกางเกงตลอดเวลา ห้ามใช้อุปกรณ์ช่วยในการเคลื่อนไหว และการเร่งความเร็วของลูกตะกร้อ หัวหน้าทีมต้องใส่ปลอกแขนที่แขนเสื้อด้านซ้าย ติดหมายเลขด้านหลัง 1 – 15
กติกาตะกร้อ
1.ผู้เล่น
ประเภทเดี่ยว มีผู้เล่นตัวจริง 3 คน สำรอง 1 คน ประเภททีม ประกอบด้วย 3 ทีม มีผู้เล่น 9 คน และผู้เล่นสำรอง 3 คน
2. ตำแหน่งของผู้เล่น มี 3 ตำแหน่งคือ
2.1 หลัง ( Back ) เป็นผู้เตะตะกร้อจากวงกลม
2.2 หน้าซ้าย
2.3 หน้าขวา
3. การเปลี่ยนตัวผู้เล่น
ในทีมเดี่ยวเปลี่ยนตัวได้ 1 คน และถ้าเหลือน้อยกว่า 3 คน ถือว่าแพ้ ผู้มีชื่อในทีมเดี่ยวที่เล่นมานานแล้ว จะลงเล่นในทีมเดี่ยวต่อไปไม่ได้
4. การเสี่ยงและการอบอุ่นร่างกาย
มีการเสี่ยง ผู้ชนะการเสี่ยงจะได้เลือกข้างหรือส่งลูก ทีมที่ได้ส่งลูกจะได้อบอุ่นร่างกายก่อน เป็นเวลา 2 นาที พร้อมเจ้าหน้าที่และนักกีฬาไม่เกิน 5 คน
5. ตำแหน่งของผู้เล่นระหว่างการส่งลูกเสิร์ฟ
เมื่อเริ่มเล่นทั้ง 2 ทีมพร้อมในแดนของตนเอง ผู้เล่นฝ่ายเสิร์ฟจะต้องอยู่ในวงกลมของตนเอง เมื่อเสิร์ฟแล้วจึงเคลื่อนที่ได้ ส่วนผู้เล่นฝ่ายรับจะยืนที่ใดก็ได้
6. การเปลี่ยนส่ง
ให้เปลี่ยนการส่งลูกเมื่อฝ่ายส่งลูกผิดกติกา หรือ ฝ่ายรับทำลูกให้ตกบนพื้นที่ของฝ่ายส่งได้
7. การขอเวลานอก
ขอได้เซตละ 1 ครั้งๆ ละ 1 นาที
8. การนับคะแนน
การแข่งขันใช้แบบ 2 ใน 3 เซต ในเซตที่ 1 และเซตที่ 2 จะมีคะแนนสูงสุด 15 คะแนน ทีมใดได้ 15 คะแนนก่อน จะเป็นผู้ชนะในเซตนั้นๆ ทั้ง 2 เซต จะไม่มีดิวส์ หากทั้งสองทีมได้ 13 ก่อน หรือ 14 เท่ากัน พักระหว่างเซต 2 นาที ถ้าเสมอกัน 1:1 เซต ให้ทำการแข่งขันเซตที่ 3 ด้วยไทเบรก โดยเริ่มด้วยการเสี่ยงใหม่ โดยใช้คะแนน 6 คะแนน ทีมใดได้ 6 คะแนนก่อนเป็นผู้ชนะ แต่จะต้องแพ้ชนะอย่างน้อย 2 คะแนน ถ้ายังไม่แพ้กันไม่น้อยกว่า 2 คะแนน ก็ให้ทำการแข่งขันอีก 2 คะแนน แต่ไม่เกิน 8 คะแนน เช่น 8:6 หทรือ 8:7 ถือเป็นการยุติการแข่งขันระบบไทเบรก เมื่อฝ่ายใดก็ตามได้ 3 คะแนน และขอเวลานอกได้เซตละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 นาที สำหรับไทเบรก ขอเวลาได้ 1 ครั้ง ครั้งละ 30 วินาที
Share this:
TwitterFacebook2Google
ใส่ความเห็น
อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *
ชื่อ *
อีเมล์ *
เว็บไซท์
ความเห็น
Notify me of new comments via email.
Notify me of new posts via email.
จิรศักดิ์ บน สิงหาคม 11, 2012 ที่ 11:41 am
เจ๊งดี
ตอบกลับ
น้องเเพรวา บน กันยายน 20, 2012 ที่ 4:41 pm
ค่ะพี่
ตอบกลับ
Pingback: ประวัติกีฬาตะกร้อ | ด.ญ.อริสราพร มีพร้อม
Pingback: ตะกร้อ | ด.ช.สหฤทธิ์ พิมพ์ทอง
kruchok บน มกราคม 31, 2014 ที่ 6:08 pm
ดีครับ
ตอบกลับ
สมวงศ์ บน ธันวาคม 15, 2014 ที่ 9:08 am
เรียน ครูโชค ผมสนใจจะจัดการแข่งตะกร้อลอดบ่วง อยากขอคำแนะนำ และเป็นที่ปรึกษา ถ้ากรุณาโทรหาผมหมายเลข 081 814 6674 ผมชื่อ สมวงศ์ ชัฏสุวรรณ จะขอบคุณมากครับ
ตอบกลับ
kruchok บน ธันวาคม 15, 2014 ที่ 6:41 pm
ออ ครับ คุณอยู่ที่ไหนหรือ ครับ ผมไม่ได้เก่งไรนะครับ ผมแค่ทำงานสนใจกีฬาเพื่อสอน นิดๆหน่อยๆครับ
ท่านอยู่ไหนหรือครับไม่เหนหน้าตา เลย
ตอบกลับ
View Full Site
Create a free website or blog at WordPress.com.
Now Available! Download WordPress for Android
วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
สายไฟ













1. สายไฟ เป็นตัวนำกระแสไฟฟ้าให้ไหลผ่านไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้าจนครบวงจร แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ สายเปลือย และชนิดสายหุ้มฉนวน
1. สายเปลือย เป็นสายไฟฟ้าที่ไม่มีฉนวนหุ้มมักเป็นสายขนาดใหญ่ ใช้กับงานไฟฟ้าแรงสูง

รูปสายไฟฟ้าที่ไม่มีฉนวนหุ้ม
2 สายหุ้มฉนวน มักมีฉนวนหุ้มในลักษณะต่างๆ ฉนวนที่ใช้หุ้มสายไฟอาจใช้ยาง ด้าย พีวีซี เป็นสายไฟที่นิยมใช้กัน
ตามอาคารบ้านเรือน ซึ่งเราใช้อยู่เป็นประจำมีด้วยกัน 2 ชนิด คือ

รูปสายหุ้มฉนวน
2.1 สายไฟชนิด VAF หรือชาวบ้านมักเรียกว่าสายแข็ง เพราะข้างในมีสายทองแดงเป็นเส้นมีขนาดต่างๆ
ที่ต้องการใช้ เรียกตามความโตของขนาดสายไฟดังนี้
เช่น 2 x 1 SQMM , 2 x 1.5 SQMM , 2 x 2.5 SQMM , 2x 4 SQMM เป็นต้น ในสายไฟจะมีข้อความ
เขียนไว้ ซึ่งสายไฟประเภทนี้ จะใช้ในการเดินสายไฟฟ้าตามอาคารบ้านเรือน ติดอยู่ตามผนังหรือฝาบ้าน ซึ่งโดยทั่วไปสายไฟฟ้าที่ใช้กับแสงสว่างเราจะใช้สายไฟ ขนาด 2 x 1 SQMM และสายไฟที่ใช้กับปลั๊กไฟเราจะต้องใช้สายไฟขนาด 2 x 2.5 SQMM

รูปสายไฟ VAF
2.2 สายไฟชนิด VFF หรือชาวบ้านเรียกว่าสายอ่อน เพราะข้างในสายไฟมีเส้นทองแดงเส้นเล็กหลายเส้นอยู่ภายใน
ซึ่งสายไฟประเภทนี้ เหมาะสำหรับการต่ออุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการเคลื่อนย้ายอยู่บ่อยๆ โดยมีขนาดต่างๆดังนี้
เช่น 2 x 0.5 SQMM , 2 x 1 SQMM , 2 x 2.5 SQMM เป็นต้น ในสายไฟจะมีข้อความบอกกล่าวดังนี้

VFF 300 V PVC 700C 2 ´ 1 SQMM THAI YASAKI
สายไฟเป็นชนิด VFF ทนแรงดันไฟฟ้าได้ถึง 300 V ฉนวนที่ใช้หุ้มสายไฟเป็นชนิด PVC ทนความร้อนได้ถึง 700C มีความโตของสายไฟ 1 มม2 มีด้วยกัน 2 เส้น ผลิตโดยบริษัทไทยยาซากิ

รูปสายไฟ VFF
การปอกสายไฟฟ้า เพื่อใช้ในการต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าและการต่อสายไฟ
1. ชนิดสายไฟ VAF

1. ใช้มีดกรีดตรงกลางสายไฟ
อย่าให้โดยสายทองแดง

2. แยกฉนวนสีขาวออกมา
แล้วตัดออก

3. ปอกตัวนำไฟฟ้าความยาว
ตามต้องการ

4. ใช้มีดทำความสะอาดสายไฟ
2. ชนิดสายไฟ VFF

1. ใช้มีดกรีดตรงกลางของสายไฟฟ้าอย่าให้โดนสายทองแดง

2. แยกสายไฟออกจากันพอสมควร

3.ปอกตัวนำไฟฟ้าความยาว
ตามต้องการ
การต่อสายไฟฟ้าชนิด VAF
1. การต่อสายไฟแบบหางเปีย ใช้ในการต่อสายไฟที่ไม่มีการเคลื่อนย้าย

1. ปอกสายไฟยาวประมาณ
1 นิ้ว 2 เส้น

2. ทำความสะอาดสายไฟ
โดยใช้มีดขูด

3. นำสายไฟมาประกบไขว้กัน
โดยใช้คีมจับ

4. ใช้มือบิดสายไฟทั้งสองเส้น
ครั้งละ 1800

5. สายไฟที่ต่อเสร็จแล้ว

6. ลำดับขั้นการต่อสายไฟแบบ
หางเปีย
2. การต่อสายไฟแบบมัดข้าวต้ม ใช้ในการต่อสายไฟที่มีการเคลื่อนย้าย

1. ปอกสายไฟยาวประมาณ
1 นิ้ว ทั้งสองเส้น

2. ทำความสะอาดสายไฟ
โดยใช้มีดขูด

3. จากโคนของสายไฟที่ปอกแล้ว
ขึ้นมา 1 ซ.ม. หักงอ 900
ทั้ง 2 เส้น

4. นำสายไฟทั้ง 2 เส้นมาไขว้กัน

5. ใช้คีมจับให้แน่นตรงรอยไขว้

6. ใช้มือบิดสายไฟทีละเส้นเป็น
รอบให้เล็กที่สุดและชิดกัน

7.ใช้คีมจับอีกด้านหนึ่งแล้วบิด
สายไฟให้เป็นรอบเล็กและ
ชิดที่สุด

8. สายไฟที่ต่อเสร็จแล้ว

9. ลำดับขั้นการต่อสายไฟ
แบบต่อตรง

โรงเรียนศึกษานารี 176 ถนนประชาธิปก เขตธนบุรี กรุงเทพฯ 10600 โทร. 0-2465-0070












1. สายไฟ เป็นตัวนำกระแสไฟฟ้าให้ไหลผ่านไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้าจนครบวงจร แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ สายเปลือย และชนิดสายหุ้มฉนวน
1. สายเปลือย เป็นสายไฟฟ้าที่ไม่มีฉนวนหุ้มมักเป็นสายขนาดใหญ่ ใช้กับงานไฟฟ้าแรงสูง

รูปสายไฟฟ้าที่ไม่มีฉนวนหุ้ม
2 สายหุ้มฉนวน มักมีฉนวนหุ้มในลักษณะต่างๆ ฉนวนที่ใช้หุ้มสายไฟอาจใช้ยาง ด้าย พีวีซี เป็นสายไฟที่นิยมใช้กัน
ตามอาคารบ้านเรือน ซึ่งเราใช้อยู่เป็นประจำมีด้วยกัน 2 ชนิด คือ

รูปสายหุ้มฉนวน
2.1 สายไฟชนิด VAF หรือชาวบ้านมักเรียกว่าสายแข็ง เพราะข้างในมีสายทองแดงเป็นเส้นมีขนาดต่างๆ
ที่ต้องการใช้ เรียกตามความโตของขนาดสายไฟดังนี้
เช่น 2 x 1 SQMM , 2 x 1.5 SQMM , 2 x 2.5 SQMM , 2x 4 SQMM เป็นต้น ในสายไฟจะมีข้อความ
เขียนไว้ ซึ่งสายไฟประเภทนี้ จะใช้ในการเดินสายไฟฟ้าตามอาคารบ้านเรือน ติดอยู่ตามผนังหรือฝาบ้าน ซึ่งโดยทั่วไปสายไฟฟ้าที่ใช้กับแสงสว่างเราจะใช้สายไฟ ขนาด 2 x 1 SQMM และสายไฟที่ใช้กับปลั๊กไฟเราจะต้องใช้สายไฟขนาด 2 x 2.5 SQMM

รูปสายไฟ VAF
2.2 สายไฟชนิด VFF หรือชาวบ้านเรียกว่าสายอ่อน เพราะข้างในสายไฟมีเส้นทองแดงเส้นเล็กหลายเส้นอยู่ภายใน
ซึ่งสายไฟประเภทนี้ เหมาะสำหรับการต่ออุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการเคลื่อนย้ายอยู่บ่อยๆ โดยมีขนาดต่างๆดังนี้
เช่น 2 x 0.5 SQMM , 2 x 1 SQMM , 2 x 2.5 SQMM เป็นต้น ในสายไฟจะมีข้อความบอกกล่าวดังนี้

VFF 300 V PVC 700C 2 ´ 1 SQMM THAI YASAKI
สายไฟเป็นชนิด VFF ทนแรงดันไฟฟ้าได้ถึง 300 V ฉนวนที่ใช้หุ้มสายไฟเป็นชนิด PVC ทนความร้อนได้ถึง 700C มีความโตของสายไฟ 1 มม2 มีด้วยกัน 2 เส้น ผลิตโดยบริษัทไทยยาซากิ

รูปสายไฟ VFF
การปอกสายไฟฟ้า เพื่อใช้ในการต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าและการต่อสายไฟ
1. ชนิดสายไฟ VAF

1. ใช้มีดกรีดตรงกลางสายไฟ
อย่าให้โดยสายทองแดง

2. แยกฉนวนสีขาวออกมา
แล้วตัดออก

3. ปอกตัวนำไฟฟ้าความยาว
ตามต้องการ

4. ใช้มีดทำความสะอาดสายไฟ
2. ชนิดสายไฟ VFF

1. ใช้มีดกรีดตรงกลางของสายไฟฟ้าอย่าให้โดนสายทองแดง

2. แยกสายไฟออกจากันพอสมควร

3.ปอกตัวนำไฟฟ้าความยาว
ตามต้องการ
การต่อสายไฟฟ้าชนิด VAF
1. การต่อสายไฟแบบหางเปีย ใช้ในการต่อสายไฟที่ไม่มีการเคลื่อนย้าย

1. ปอกสายไฟยาวประมาณ
1 นิ้ว 2 เส้น

2. ทำความสะอาดสายไฟ
โดยใช้มีดขูด

3. นำสายไฟมาประกบไขว้กัน
โดยใช้คีมจับ

4. ใช้มือบิดสายไฟทั้งสองเส้น
ครั้งละ 1800

5. สายไฟที่ต่อเสร็จแล้ว

6. ลำดับขั้นการต่อสายไฟแบบ
หางเปีย
2. การต่อสายไฟแบบมัดข้าวต้ม ใช้ในการต่อสายไฟที่มีการเคลื่อนย้าย

1. ปอกสายไฟยาวประมาณ
1 นิ้ว ทั้งสองเส้น

2. ทำความสะอาดสายไฟ
โดยใช้มีดขูด

3. จากโคนของสายไฟที่ปอกแล้ว
ขึ้นมา 1 ซ.ม. หักงอ 900
ทั้ง 2 เส้น

4. นำสายไฟทั้ง 2 เส้นมาไขว้กัน

5. ใช้คีมจับให้แน่นตรงรอยไขว้

6. ใช้มือบิดสายไฟทีละเส้นเป็น
รอบให้เล็กที่สุดและชิดกัน

7.ใช้คีมจับอีกด้านหนึ่งแล้วบิด
สายไฟให้เป็นรอบเล็กและ
ชิดที่สุด

8. สายไฟที่ต่อเสร็จแล้ว

9. ลำดับขั้นการต่อสายไฟ
แบบต่อตรง

โรงเรียนศึกษานารี 176 ถนนประชาธิปก เขตธนบุรี กรุงเทพฯ 10600 โทร. 0-2465-0070
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)